การปฏิบัติงานที่ทีมมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์และบริการสามารถเข้าสู่ตลาดและเข้าถึงลูกค้าได้เร็วขึ้น รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสำหรับเศรษฐกิจโลก วิธีที่เรียกว่า Agile practices มีที่มาจากสหรัฐอเมริกา และมีการนำไปใช้ทั่วโลก นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการต่อสู้กับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
อย่างไรก็ตาม แนวคิดการใช้เป็นหลักปฏิบัติที่เรียกว่า Agile practices อาจเป็นปัญหาเมื่อทีมงานต้องไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ เช่น การแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสำเร็จหรือความล้มเหลว ต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ต่อหน้าผู้อื่นหรือสาธารณชน และการให้เกียรติหรือตำหนิวิธีปฏิบัติต่างๆ ของทีมงาน เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ในแต่ละประเทศก็แตกต่างกันออกไป
การยอมรับคุณลักษณะทางวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนใครของลูกจ้างซึ่งเกิดขึ้นในโครงการที่ใช้ Agile practices ในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของโครงการ เมื่อใช้วิธีปฏิบัติดังกล่าวเป็นหลัก มาผนวกกับวัฒนธรรมท้องถิ่น องค์กรจึงต้องให้ความสำคัญและยอมรับความขัดแย้งและพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีผลต่อบรรทัดฐานทางสังคม
จากการสัมภาษณ์ลูกจ้างของบริษัทซอฟต์แวร์ 8 บริษัทในประเทศจีน อินเดีย และเกาหลีใต้ที่รับเอาแนวทางปฏิบัติ Agile software development (แนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งข้อกำหนดและแนวทางแก้ไขปัญหา มีความเกี่ยวข้องกับทั้งการจัดระเบียบด้วยตัวเอง และทีมข้ามสายงานรวมถึงผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานขั้นสุดท้าย) ไปใช้เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ว่า “บทวัฒนธรรม” (cultural script) มีบางสิ่งบางอย่างที่เหมือนหรือแตกต่างจากหลักความเชื่อในเรื่องความรวดเร็ว
โดยทั่วไป คนเราอาจจะมีคำพูดที่ไม่เหมือนใครที่สามารถอธิบายได้ถึงพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งเรียกว่าบทวัฒนธรรม ผู้เขียนบทความเรื่องนี้ คือ ศาสตราจารย์ราเมศ ได้ระบุถึงบทวัฒนธรรมใน 3 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ ประเทศแรก คือ จีน คำว่า “กวนซี” 關係 หมายถึง ความสัมพันธ์ และคำว่า “เมี่ยนจื่อ” 面子หมายถึง การรักษาหน้าตาหรือการให้เกียรติซึ่งกันและกัน กับทางสายกลาง ประเทศที่สอง คือ เกาหลีใต้ คำว่า “ปัลลี” 빨리 หมายถึง เร็ว และคำว่า “ชอง” 정 หมายถึง จิตใจ ความรู้สึก และประเทศที่สาม คือ อินเดีย คำว่า “จูกาด” जुगाड़ หมายถึง จังหวะและเหตุผล
ลูกจ้างที่ศาสตราจารย์ราเมศได้พูดคุยด้วย ชี้ให้เห็นเหตุการณ์ที่อธิบายถึงความซับซ้อนที่เกิดขึ้นเพราะ Agile practices แตกต่างจากพฤติกรรมที่มีการพิจารณาแล้วว่ายอมรับได้ตามบทวัฒนธรรม เมื่อบริษัทมีการเผชิญหน้ากับเรื่องเหล่านี้ ก็จะพัฒนาวิธีการที่อ่อนไหวในความรู้สึกด้านวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นให้ลูกจ้างรับเอาวิธีปฏิบัติ Agile practices ไปใช้ มีหลายตัวอย่างที่องค์กรสามารถสร้างการผสมผสานระหว่าง Agile practices กับบรรทัดฐานด้านพฤติกรรมที่ยอมรับได้ในวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งศาสตราจารย์ราเมศได้นำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังและแนะนำให้องค์กรนำไปใช้งานได้จริง
Top of Form
บทเรียนจากการนำ Agile practices ไปใช้ในระดับสากล
ศาสตราจารย์ราเมศได้สัมภาษณ์สมาชิกในทีมที่มีบทบาทเป็นผู้จัดการอาวุโส ผู้นำโครงการ นักพัฒนา ผู้ที่ทำให้การทำงานมีความลื่นไหล (scrum master) โค้ชที่ใช้แนวคิด agile และตัวแทนลูกค้า พวกเขาต่างทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป นับตั้งแต่ระบบการบริหารจัดการความสัมพันธ์ เครื่องมือด้านซัพพลายเชน และระบบการบริหารจัดการคงคลัง ไปจนถึงแพลตฟอร์มของเกมและแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์มือถือ ในขณะที่มีการเรียนรู้เกี่ยวกับความท้าทายด้านวัฒนธรรมที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ในโครงการและวิธีการที่จะจัดการให้ได้ ก็มีการเรียนรู้เกี่ยวกับความท้าทายด้านวัฒนธรรมไปด้วย เขาก็พบว่ามี 3 เรื่องที่น่าสนใจ คือ ประการแรก Agile practices ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับบทวัฒนธรรมในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ สามารถสร้างความท้าทายในการรักษาความยืดหยุ่นและความรวดเร็วไว้ได้ ประการที่สอง สามารถสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ และประการที่สาม สามารถสร้างช่องทางการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้ด้วย ในหลายกรณี ทีมสามารถแก้ไขปัญหาความท้าทายในรูปแบบต่างๆ เหล่านั้นได้ด้วยแนวทางที่ยืดหยุ่นที่ยังคงอนุรักษ์วิธีปฏิบัติ Agile practices แต่ก็ยังคงใช้บรรทัดฐานที่แตกต่างของวัฒนธรรมได้เช่นกัน
การรักษาไว้ซึ่งความยืดหยุ่นและความรวดเร็ว
Agile practices มีการเน้นไปที่ความยืดหยุ่นของกระบวนการและการส่งมอบที่รวดเร็วในเรื่องคุณค่า ในขณะเดียวกันบทวัฒนธรรมบางอย่าง เช่น จูกาด ซึ่งเป็นแนวคิดของอินเดียที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างชาญฉลาดและทันควัน และปัลลี ปัลลีของเกาหลีใต้ ได้ตอบโจทย์ในเรื่องนี้โดยเน้นความสำคัญของการทำงานให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหา 2 ด้านที่ไม่สามารถจัดการได้ในทีมนั้น สมาชิกอาจต้องมีทั้งจูกาด (improvisation/ lifehacks) หรือจังหวะและเหตุผลในการจัดการ และปัลลี ปัลลี หรือความรวดเร็วในการปรับแก้ความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งต้องผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน
สำหรับรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามได้ในบทความครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอบจบค่ะ
ที่มา: 1. https://sloanreview.mit.edu/article/consider-culture-when-implementing-agile-practices/?use_credit=c493debc37f8b56ac5b83532d59d1efe
2. https://brandinside.asia/agile-and-scrum-for-new-business/
ความเห็นล่าสุด