น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของมนุษย์ ทำอย่างไร โลกของเราจึงจะใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า ข้อมูลทางสถิติที่น่าแปลกใจ คือ มีน้ำบนโลกนี้เพียง 1% ที่คนสามารถเข้าถึงได้ จากข้อมูลด้านน้ำและการสุขาภิบาลขององค์การสหประชาชาติ พบว่าประชากรประมาณ 1.2 พันล้านคนหรือเกือบหนึ่งในห้าของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลน และประชากรอีกประมาณ 1.6 พันล้านคนหรือเกือบหนึ่งในสี่ของประชากรโลกต้องเผชิญหน้ากับการขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นประชากรของประเทศที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นที่จะได้มาซึ่งน้ำจากแม่น้ำและน้ำใต้ดิน
นอกจากนี้ หน่วยงานยูเนสโกขององค์การสหประชาชาติ รายงานว่า ภายในปี 2568 (ค.ศ.2025) คาดว่าจะมีประชากร 1.8 พันล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศหรือภูมิภาคที่มีการขาดแคลนน้ำอย่างสิ้นเชิงและสองในสามของประชากรโลกจะตกอยู่ภายในสภาพของการมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ
น้ำจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในข้อที่ 6 คือ การเข้าถึงน้ำที่ปลอดภัยและการสุขาภิบาลที่ดี รวมทั้งการจัดการระบบนิเวศของน้ำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพของมนุษย์และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
การมีน้ำที่สมดุลอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่ท้าทายโลกของเราเป็นอย่างมาก แล้วมาตรฐานไอเอสโอจะช่วยได้หรือไม่ ดร.การ์ลอส การีออง เกรสโป ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กล่าวถึงความท้าทายครั้งใหญ่ คือการควบคุมการใช้น้ำซึ่งสะท้อนอยู่ในเป้าหมายของที่ 6.5 ในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งประเทศต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องน้ำในหลายๆ ด้าน และอาจเป็นชนวนของสงครามในอนาคตได้ โดยกลไกต่างๆ ที่องค์การสหประชาชาติสร้างขึ้นมาจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นในการจัดลำดับความสำคัญของการเข้าถึงน้ำร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดร่วมกับผู้ปฏิบัติงานและลูกจ้างเมื่อมีการออกแบบนโยบาย ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในประเด็นนี้ ดร.ดันแคน เอลลิสัน อดีตผู้อำนวยการการจัดการและการวางแผนน้ำของหน่วยงานสิ่งแวดล้อมแคนาดาและองค์กรน้ำเสียและน้ำของแคนาดาซึ่งเป็นผู้ประสานงานกลุ่มงานไอเอสโอที่เกี่ยวข้องกับน้ำได้กล่าวไว้ เขาได้ทำการวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาไว้ดังนี้ การใช้น้ำมักมีอุปสรรคจากกระบวนการตัดสินใจของรัฐบาลในเรื่องกฎระเบียบ เขาเชื่อว่าถ้าประเทศต่างๆ มีกรอบของกฎระเบียบที่เปิดกว้างสำหรับบริการน้ำซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในเรื่องน้ำมีการจัดหาบริการของเมือง ก็จะเป็นการเปิดให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ และมีแนวโน้มที่จะมีการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์เรื่องน้ำอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีขึ้น
งานของ ดร.แชปแมนในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 6 โดยเฉพาะข้อที่ 6.3 เรื่องความปลอดภัยของน้ำ จำเป็นต้องมีความสามารถและการปฏิบัติการเฉพาะด้าน
สิ่งนี้ขัดแย้งกับตัวชี้วัดตัวอื่นๆ อีกหลายตัว ซึ่งต้องการเพียงข้อมูลจากแบบสอบถามเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โครงการฝึกอบรมที่เน้นว่าการแบ่งปันข้อมูลจำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบได้
แนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นใจและกระตุ้นให้วิธีการได้รับการยอมรับในระดับสากลได้ คือการใช้มาตรฐานไอเอสโอเพื่อสนับสนุนในเรื่องนี้ บ่อยครั้งที่มีหลายวิธีการแต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ตราบใดที่วิธีการที่ระบุยังไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ง่ายโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น กรอบการทำงานเพื่อความสำเร็จจึงต้องมีวิธีการของมาตรฐานเข้ามาใช้ในการจัดการกับข้อมูล รวมทั้งมาตรฐานสำหรับสมรรถนะของห้องปฏิบัติการ ซึ่งห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองระบบงานตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จะระบุกฎเกณฑ์ความสามารถพื้นฐานสำหรับการทดสอบและการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการทดสอบ ซึ่งมีความสำคัญสำหรับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น ในทวีปอัฟริกาซึ่งการรับรองห้องปฏิบัตการหมายถึงการมีผลงานที่ดีที่สุด และยังช่วยส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 6 ด้วย เขาชี้ให้เห็นว่าการมีกรอบการทำงานสำหรับผู้จัดการจะเป็นการอำนวยความสะดวกในเรื่องน้ำและกระบวนการได้ดี หรือตัวอย่างของการนำมาตรฐาน ISO 24511 (Activities relating to drinking water and wastewater services – Guidelines for the management of wastewater utilities and for the assessment of wastewater services) และ ISO 24512 (Activities relating to drinking water and wastewater services – Guidelines for the management of basic on-site domestic wastewater services) ไปใช้ก็มีความครอบคลุมเรื่องของน้ำเสียและน้ำดื่มรวมทั้งช่วยในการประเมินสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของการกำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น
มาตรฐานทั้งสองมาตรฐานนี้สามารถช่วยลดการชำระล้างได้ และมาตรฐานด้านการสุขาภิบาลยังมีส่วนทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ 2 คือการยุติความหิวโหยได้ด้วย ถ้ามีการนำนำไปใช้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยลดปัญหาน้ำเสียที่ส่งผลต่อสัตว์น้ำด้วย
แล้วโลกของเราบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้วหรือยัง ความก้าวหน้าในเรื่องนี้เป็นอย่างไร โปรดติดตามในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ความเห็นล่าสุด