ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการจัดการที่มีประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติเหล่านั้น จะไม่รบกวนมนุษย์จนกระทั่งเราและไม่สามารถควบคุมได้
เราได้รับรู้เรื่องราวของหุ่นยนต์ต่างๆ ที่เข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ฟลิปปี้ ที่ทำหน้าที่พลิกแฮมเบอร์เกอร์ในภัตตาคารที่แคลิฟอร์เนีย หุ่นยนต์เปปเปอร์ ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ซึ่งช่วยงานบริการที่ซอฟต์แบงค์ มันสามารถจดจำอารมณ์ของมนุษย์และทำหน้าที่ในสาขาทั่วโลก เป็นต้น ทั้งนี้ การผลิตแบบอัจฉริยะที่แท้จริงแล้วได้คืบคลานเข้ามามากกว่าเดิมและทำให้ชีวิตเราแตกต่างไปจากเดิมเป็นอย่างมาก
ยิ่งคนเป็นจำนวนมากสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น การผลิตแบบอัจฉริยะก็ยิ่งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน จากการสำรวจของพิวรีเสิร์ชเซนเตอร์ ระบุว่าเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกและคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศกำลังพัฒนามีเปอร์เซนต์เพิ่มมากขึ้น อาจกล่าวได้ว่าในขณะที่คนจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นและเป็นเจ้าของอุปกรณ์ไฮเทคมากขึ้น คนอีกจำนวนมากก็กำลังพยายามก้าวให้ทันเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ในประเทศสหราชอาณาจักร บริษัท ชไนเดอร์อิเล็กทริค ทำงานกับสนามบินซึ่งแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ทันสมัยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว แต่เบื้องหลังบริการยังมีการนำเอามาตรวัดด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ทันสมัยไปใช้โดยมีเทคโนโลยีที่ช่วยดูแลให้ระบบการจัดการสัมภาระทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แพทริค แลมโบลีย์ เป็นประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 184 Automation systems and integration และผู้อำนวยการอาวุโสด้านการมาตรฐานที่ชไนเดอร์อิเล็กทริค ซึ่งเป็นความร่วมมือข้ามชาติของบริษัทจากยุโรปที่เชี่ยวชาญในการจัดการพลังงาน และการแก้ปัญหาระบบอัตโนมัติ ให้บริการฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่เกี่ยวข้อง
แลมโบลีย์อธิบายว่ามาตรฐานจะช่วยให้แก้ไขประเด็นปัญหาหลักๆ ในการผลิตแบบอัจฉริยะได้อย่างไร และทำไมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรจึงมีความสำคัญมาก ดังต่อไปนี้
สำหรับสิ่งที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับการผลิตแบบอัจฉริยะ คือ การบริหารจัดการระบบดิจิตอล ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก เมื่อเศรษฐกิจระดับประเทศและองค์กรของเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลง เราได้รมีการเปลี่ยนแปลงซ้ำๆ หรือการปฏิวัติซ้ำ
อย่างไรก็ตาม การปฏิวัตินี้ไม่ได้เป็นวิสัยทัศน์ในระยะยาว แต่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทุกวันนี้ บริษัทที่ได้ผลกำไรมากที่สุดและใหญ่ที่สุดไม่ได้โฟกัสแค่การผลิตเท่านั้น แต่ยังโฟกัสไปที่การเปลี่ยนแปลงไปเป็นบริษัทซอฟต์แวร์หรือผู้ที่มีบทบาทในงานไอทีซึ่งมีการจัดการกับข้อมูลด้วย ข้อมูลนี้มีความสำคัญมากและต้องใส่ใจในการผลิตแบบอิจฉริยะ ประเด็นสำคัญคือ วิธีการทำให้มั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งานโดยคำนึงถึงข้อมูลและองค์ความรู้ของลูกค้า
ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือ ความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีใหม่ เช่น เอไอ (ผ่านคอมพิวเตอร์ แอพพ์ การวิเคราะห์ เป็นต้น) และสถานที่ที่มนุษย์ทำการผลิตแบบอัจฉริยะ ทั้งนี้ เพื่อที่จะบรรลุผลลัพธ์จากความร่วมมือระหว่างกันและระบุบทบาทของมนุษย์ในโลกไฮเทคยุคใหม่
แล้วมาตรฐานไอเอสโอสสามารถช่วยให้ก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร มาพบกับคำตอบได้ในบทความครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2337.html
Related posts
Tags: IT, Standardization, Technology
Recent Comments