บทความ เรื่อง มาตรฐานสากลเพื่อระบบการผลิตแบบอัจฉริยะ ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความสำคัญของระบบการผลิตแบบอัจฉริยะ ซึ่งแพทริค แลมโบลีย์ เป็นประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 184 Automation systems and integration และผู้อำนวยการอาวุโสด้านการมาตรฐานที่ชไนเดอร์อิเล็กทริค ได้กล่าวถึงการที่มาตรฐานสามารถช่วยแก้ไขประเด็นปัญหาหลักๆ ในการผลิตแบบอัจฉริยะ และความสำคัญของความร่วมมือระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ส่วนมาตรฐานไอเอสโอสสามารถจะช่วยให้ก้าวข้ามความท้าทายของการผลิตแบบอัจฉริยะได้อย่างไร จะได้กล่าวถึงต่อไปดังนี้
คณะกรรมการวิชาการดังกล่าวได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติและการผลิตมาเป็นเวลายาวนาน องค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานไอเอสโอคือ พวกเขาไม่ได้ใส่ใจกับเทคโนโลยีใหม่หรือในแง่มุมพิเศษเท่านั้น แต่ยังสนใจระบบที่สมบูรณ์ทั้งหมดโดยรวมเอาสิ่งที่อยู่ภายใต้ระบบหรือองค์ประกอบอื่นเข้ามาด้วย และด้วยเหตุนี้ ความรู้นั้นจึงเกี่ยวข้องกับการเน้นในเรื่องการมาตรฐานของการผลิตแบบอัจฉริยะ
ตัวอย่างหนึ่งของความต้องการนี้คือ การเน้นระบบที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นการสร้างคณะกรรมการความร่วมมือการผลิตแบบอัจฉริยะ (Smart Manufacturing Coordinating Committee: SMCC) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากคณะกรรมการวิชาการที่เกี่ยวข้อง
SMCC ให้ความใส่ใจในงานทุกด้านของไอเอสโอที่อยู่ในขอบข่ายการผลิตแบบอัจฉริยะ และสร้างหรือเน้นย้ำความสัมพันธ์และความร่วมมืออันแข็งแกร่งระหว่างกัน และภายใต้ความร่วมมือของคณะกรรมการวิชาการ ISO/IEC JTC 1มีสภาพแวดล้อมในการพัฒนามาตรฐานซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากไอเอสโอและไออีซีทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาข้อมูลทั่วโลกและมาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อธุรกิจและการนำไปใช้งานของผู้บริโภค และSMCC นี่เองที่สามารถร่วมมือกับโลกของไอทีและหัวข้อที่เกี่ยวข้องได้
เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้ว SMCC มีการสร้างการแข่งขันที่ดีระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและแนวคิดใหม่และคุณค่าในคณะกรรมการตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น การผลิตแบบอัจฉริยะเป็นหัวข้อหลักในการประชุมประจำปีของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 184 ซึ่งเรียกว่า Super Meeting ในปักกิ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561
มีการใช้เวลาหนึ่งวันเต็มๆ เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตแบบอัจฉริยะ ซึ่งนับเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่จะได้รับมุมมองใหม่ๆ และสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกัน งานนี้ดึงดูดผู้ร่วมงานจากภาคอุตสาหกรรมและสถาบันวิจัยและพัฒนาอย่าง AVIC, SAC, WIZ, JLS Innovations, Beihang University, Siemens, Boeing และอื่นๆ
มีการตั้งชื่อวันดังกล่าวว่าเป็นวัน cavalcade (ขบวนม้าสวนสนาม) ซึ่งประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรกเป็นวันที่อุทิศให้กับการนำเสนอมุมมองในระดับท้องถิ่นและการนำการผลิตแบบอัจฉริยะไปใช้ พร้อมกับกิจกรรมของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 184 และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการวิชาการดังกล่าว ส่วนที่สอง เป็นส่วนของ “เวิร์ลด์ คาเฟ่” เป็นการอภิปรายแบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีการที่คณะกรรมการวิชาการและคณะอนุกรรมการวิชาการตอบสนองต่อการผลิตแบบอัจฉริยะและวิธีการที่เราสามารถสร้างความก้าวหน้าในสิ่งที่ปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ร้อนแรงที่สุดของโลก
สำหรับการนำเสนอทั้งสองวันเชื่อมโยงกับการนำมาตรฐานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 184 ไปใช้สำหรับการผลิตแบบอัจฉริยะและทำให้มีการทบทวนถึงข้อมูลป้อนกลับ แนวคิดและวิธีการปรับปรุงกิจกรรมในกลุ่มการทำงานที่แตกต่าง
สำหรับมาตรฐานที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อการผลิตแบบอัจฉริยะ แลมโบลีย์ให้ความเห็นว่ามีมาตรฐานหลายฉบับที่ช่วยได้เช่นในเรื่องของนิยามศัพท์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น วงจรชีวิตของการติดตั้งทางเทคนิค รูปแบบที่ใช้อ้างอิง ดิจิตอลทวิน และคุณภาพของข้อมูล เป็นต้น
คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับ ISO/TC 184 กำลังเป็นผู้นำและมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างเข้มแข็ง โดยกลุ่มงามร่วมที่ 21ระหว่าง ISO/IEC ได้รับการแต่งตั้งด้วยวัตถุประสงค์ในการผสมผสานโมเดลที่ใช้อ้างอิงที่มีอยู่เดิมและมองถึงอนาคตของโครงสร้างที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับโมเดลการผลิตแบบอัจฉริยะ โดยเน้นไปที่มุมมองด้านวงจรชีวิต ลำดับชั้นขององค์กรหรือลำดับชั้นทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน เป็นต้น
เป้าหมายคือการระบุกฎร่วมที่จำเป็นในการสร้างโมเดลที่ใช้อ้างอิงเพื่อระบบการผลิตแบบอัจฉริยะซึ่งเริ่มต้นด้วยการรวม การเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์โมเดลเดิมที่มีอยู่ และด้วยการมีส่วนร่วมเชิงรุกของประเทศที่ได้ระบุโมเดลที่ใช้อ้างอิงด้วยตัวเอง (เช่น จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น สวีเดน สหราชอาณาจัก สหรัฐอเมริกา เป็นต้น) เพื่อส่งมอบโมเดลขนาดใหญ่ที่มีการทำไว้เป็นมาตรฐานที่รวมถึงมาตรฐานเดิมและ/หรือข้อกำหนดที่มาจากประเทศที่เกี่ยวข้อง
หัวข้อหลักอย่างที่สองก็คือ ดิจิตอลทวิน ซึ่งเริ่มจากคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 184 ของคณะอนุกรรมการวิชาการ SC 4 (ข้อมูลอุตสาหกรรม) ในมาตรฐาน ISO 15926 วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้คือการจัดเตรียมภาษาที่ใช้ร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมเอาข้อมูลที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ไว้ด้วย
แรกเริ่มเดิมที มีการออกแบบเพื่อกระบวนการในอุตสาหกรรมที่ทำงานในโครงการใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก และการปฏิบัติงานในโรงงานและการบำรุงรักษาที่มีมานานจนถึงทศวรรษที่ผ่านมา ทุกคนสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้และทุกคนต้องกำหนดคำศัพท์ที่เหมาะสมของข้อมูลที่ใช้อ้างอิงเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในบริบทเฉพาะ และด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่จะสามารถรวมเอาที่สิ่งที่เกิดขึ้นและนำมาซึ่งคุณค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมโดยมีการขยายขอบข่ายที่กว้างขวางและอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่แท้จริง
https://www.iso.org/news/ref2337.html
Related posts
Tags: IT, Standardization, Technology
Recent Comments