บทความ เรื่อง “ฮุนไดก้าวสู่ระบบการผลิตอัจฉริยะ ตอนที่ 1” ได้กล่าวถึงแนวคิดการผลิตแบบอัจฉริยะในอุตสาหกรรมอัตโนมัติซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างกันในแต่ละขั้นตอนการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิผลทั้งระบบซึ่งการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์แบบดั้งเดิมมาเป็นระบบการผลิตแบบอัจฉริยะด้วยระบบดิจิตอลและระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่บริษัทรถยนต์จะต้องทำเพื่อให้สามารถแข่งขันให้ได้ในอนาคต สำหรับบทความในตอนนี้จะกล่าวถึงการใช้สมาร์ทแท็กในกระบวนการผลิตดังต่อไปนี้
ฮุนไดมอเตอร์ระบุว่าโรงงานอัจฉริยะเป็นสภาพแวดล้อมที่ระบบอัตโนมัติกลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสนใจเป็นศูนย์กลาง และการมีปริมาณข้อมูลจำนวนมากซึ่งได้มีการรวบรวมไว้เป็นชั้นข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ และท้ายที่สุดจะถูกป้อนกลับไปสู่ระดับชั้นข้อมูลของระบบอัตโนมัติ
ในการรวบรวมเอาองค์ประกอบของระบบอัตโนมัติ การทำเป็นระบบดิจิตอล การเชื่อมโยงและข้อมูลสารสนเทศเข้าไปในโรงงานอัจฉริยะ ทำให้ฮุนไดมีระบบสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีการผลิตที่ดีที่สุด เช่น เซ็นเซอร์อัจฉริยะ IoT, Big Data, AI, และอื่นๆ
เมื่อปีที่ผ่านมา ฮุนได ได้แนะนำเทคโนโลยีสมาร์ทแท็ก ซึ่งเป็นระบบการควบคุมการผลิตไร้สายที่มีการนำมาใช้ในโรงงานทั้งหมด ได้รับการพัฒนาโดยศูนย์การผลิตเทคโนโลยีของฮุนได
สมาร์ทแท็กเป็นประโยชน์สำหรับระบบการวางตำแหน่งแบบเรียลไทม์ ทำให้รู้ข้อมูลตำแหน่งเพื่อที่จะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลมีความปลอดภัย การรวบรวมข้อมูลเรียลไทม์นี้เป็นที่คาดว่าจะทำให้สามารถตอบสนองสิ่งต่างๆ ได้ทันทีแม้กระทั่งข้อผิดพลาดเล็กน้อย สมาร์ทแท็กเป็นเทคโนโลยีหลักของการเชื่อมโยงซึ่งเป็นพื้นฐานของแนวคิดโรงงานอัจฉริยะ
หากกล่าวถึงมาตรฐาน ฮุนไดจำเป็นต้องมีเพื่อให้เป้าหมายการเชื่อมโยงของระบบนิเวศการผลิตอัจฉริยะเป็นไปได้ดี ซึ่งหัวใจหลักของการผลิตอัจฉริยะประกอบด้วยการเชื่อมโยงและการนำข้อมูลเข้ามาประสานกัน มาตรฐานจึงจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถบรรลุถึงการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพและข้อมูลที่มีประสิทธิผลโดยทำให้ง่ายขึ้นในการเชื่อมโยงอุปกรณ์และบริการจากซัพพลายเออร์ต่างๆ ในราคาที่ไม่สูงนัก ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาและมาตรฐานจะต้องมีการนำมาพิจารณาร่วมกันอย่างยืดหยุ่นด้วย ทางบริษัทหวังว่ามาตรฐานไอเอสโอจะสามารถตอบสนองโดยการเป็นแพล็ตฟอร์มสำหรับสร้างระบบนิเวศการผลิตอัจฉริยะได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่าจะรับเอามาตรฐานอะไรไปใช้และปรับให้สอดคล้องกับตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
ผู้สื่อข่าววารสารไอเอสโอโฟกัสสอบถามว่าแล้วทำอย่างไร มาตรฐานไอเอสโอจะช่วยให้ระบบการผลิตอัจฉริยะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นในภาวะที่มีความซับซ้อนทั้งกิจกรรมและการสื่อสารของโรงงาน เขาตอบว่าความผิดพลาดของมนุษย์เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน และในยุคที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ ประเภทของข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลจึงต้องมีการทำเป็นมาตรฐานเพื่อที่ว่าในสถานการณ์ที่ซับซ้อนเช่นนี้จะได้มีการตัดสินใจและนำไปใช้งานได้อย่างอัตโนมัติโดยมีการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีการเชื่อมโยงกันให้เป็นประโยชน์
ในความเห็นส่วนตัวของเขา ความซับซ้อนเป็นสิ่งที่สามารถจัดการได้ด้วยวิธีที่ชาญฉลาดที่สุดเมื่อมีการรวบรวมอย่างอัตโนมัติและข้อมูลที่มีการทำเป็นมาตรฐานมีกาเรชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
ดังนั้น เขาจึงเชื่อว่ามาตรฐานไอเอสโอมีความจำเป็นในการสร้างระบบนิเวศการผลิตอัจฉริยะ เพราะมาตรฐานมีการพัฒนาไปในแนวที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหลายๆ บริษัทและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการผลิตอัจฉริยะ
สำหรับบริษัทอื่นๆ ที่สนใจจะใช้แนวทางการผลิตอัจฉริยะและมาตรฐาน เขาแนะนำว่า ควรใช้แนวทางการผลิตอัจฉริยะจากมุมมองของลูกค้าและการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรมากกว่ามุ่งไปที่เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะเพียงอย่างเดียว มิฉะนั้น จะเป็นเพียงแค่ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น เขาเชื่อว่าแต่ละบริษัทควรพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นของตนเองซึ่งสามารถซื้อหามาได้ในราคาที่เหมาะสมกับบริษัทของตนเองตามความจำเป็น
มาตรฐานเป็นตัวที่ทำให้ตลาดสามารถแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อโอกาสที่เข้ามา สามารถลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดระหว่างแนวทางการพัฒนาองค์กร กับคนที่นำมาตรฐานไปใช้ ซึ่งเป็นการเร่งให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นมาใหม่และวิธีการผลิตไปใช้งาน สิ่งเหล่านี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทมีแนวทางการแก้ไขปัญหาและยังทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีระบบการผลิตอัจฉริยะที่สามารถแข่งขันได้ในระยะยาวในอุตสาหกรรมยานยต์ระดับโลกด้วย
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2344.html
Recent Comments