การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้ทำให้เกิดแรงกดดันเป็นอย่างมาก อะไรคือแรงกดดัน แล้วสิ่งนี้มีผลกระทบต่อเราหรือไม่ อย่างไร
จากข้อมูลสมุดปกขาวของแม็คคินซีย์และ WEF 2018 ได้มีการคาดการณ์ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะทำให้มีการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 3.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 (ค.ศ.2025) และปัจจุบันบางประเทศและบางบริษัทมีโอกาสที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาและพลิกมาเป็นโอกาสในการเพิ่มผลผลิตด้วยการกระจายเทคโนโลยีและการรับเอาเทคโนโลยีมาใช้ในวงกว้าง
วารสารไอเอสโอโฟกัสในเดือนนี้จึงให้ความสำคัญในประเด็นเกี่ยวกับการชี้ทางของรัฐบาล ธุรกิจ และสังคมในการรวมเอาเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจและกระบวนการผลิต
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการสัมภาษณ์ในวารสารในเดือนนี้ คือ บริษัท ผู้นำธุรกิจขนาดเล็กและมืออาชีพด้านมาตรฐานจากทั่วโลก ในสาขาต่างๆ นับตั้งแต่หุ่นยนต์ไปจนถึงข้อมูลอุตสาหกรรมและเอไอ
ขณะที่เข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เมื่อเศรษฐกิจระดับประเทศและองค์กรเศรษฐกิจโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง มันเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งใหม่ ปัจจุบัน เราอยู่ภายใต้รูปแบบการปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งใหม่ในรูปแบบเช่นเดียวกันนั้น แพทริค แลมโบลีย์ ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 184, Automation systems and integration และผู้อำนวยการด้านการมาตรฐานของชไนเดอร์อิเล็กทริค กล่าวถึงเรื่องนี้โดยอ้างถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 และการปฏิวัตินี้ไม่ใช่วิสัยทัศน์ระยะยาวแต่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
มาตรฐานไอเอสโอนับเป็นโอกาสใหม่ที่ทุกภาคส่วนอุตสาหกรรมจะได้รับประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้ตลาดมีการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีความได้เปรียบในระบบดิจิตอล การสื่อสารเป็นเครือข่าย และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ นอกจากนี้ โอกาสที่เกิดขึ้นจากการมีมาตรฐานนั้น ไม่เพียงแต่จะช่วยให้มีแพล็ตฟอร์มที่มีสมรรถนะเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการที่จะทำให้ระบบที่แตกต่างกันมีการสื่อสารถึงกันได้อย่างมีประสิทธิผลในการขับเคลื่อนความมีประสิทธิภาพ
แล้วเราจะเตรียมตัวอย่างไร องค์กรควรมองหามาตรฐานไอเอสโอตั้งแต่บัดนี้ เพื่อที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ของการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจมาถึงเร็วกว่าที่เราคิดไว้ คริสทอฟ วินเทอร์ฮอลเทอร์ ซีอีโอของ DIN สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของเยอรมัน ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การรวบรวมเอาแนวคิดใหม่ด้วยวิธีการของมาตรฐานในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นถ้าต้องการนำมาตรฐานไปใช้ปฏิบัติในอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ถูกจำกัดให้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมาสู่วิถีชีวิตของเรา ทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์และสามารถทำธุรกิจได้ดีขึ้น ซึ่งหากว่าเรายังไม่ได้ทำอะไรในลักษณะนี้ ก็ควรจะเริ่มต้นเสียตั้งแต่บัดนี้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและมีประสิทธิผลมากขึ้น
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2345.html
Related posts
Tags: ISO, Quality, Standardization
Recent Comments