ข้อมูลจากการผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนชั้นนำของโลกในการประชุมไอเอสโอในงาน COP24 ที่เมืองคาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์ ระบุว่ามาตรฐานสากลมีส่วนช่วยให้เกิดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในการปรับเปลี่ยนเพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่มีความยืดหยุ่นของสภาพภูมิอากาศซึ่งจะก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
เมื่อวันที่ 2 – 14 ธันวาคม 2562 ไอเอสโอได้จัดงานเพื่อเป็นเวทีอภิปรายเกี่ยวกับการใช้มาตรฐานสากลเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 ซึ่งผู้จัดงานคือคณะทำงานเฉพาะกิจความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไอเอสโอ (ISO Climate Change Coordination Task Force: TF7) ด้วยความร่วมมือของสถาบันการประเมินและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management and Assessment: IEMA) และองค์กรภูมิภาคแปซิฟิคว่าด้วยการรับรองระบบงาน (International Accreditation Forum: IAF)
คณะทำงานเฉพาะกิจทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการไอเอสโอซึ่งทำให้มีการพิจารณาประเด็นปัญหาวิกฤติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานไอเอสโอ
จึงเป็นโอกาสที่มาตรฐานสากลจะได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางและนำมาซึ่งความท้าทายระดับโลกด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นการสนับสนุนมาตรการและการติดตามเทคนิค การอำนวยความสะดวกทางเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ไม่ใช้เทคโนโลยี และการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
มาตรฐานไอเอสโอสามารถมีส่วนร่วมในความก้าวหน้าของกรอบเซนไดซึ่งเป็นกรอบการทำงานเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ (Sendai Framework for Disaster Risk Reduction) ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องการลดภัยพิบัติลงภายในปี 2573 (ค.ศ.2030)
นิค บลิธ รองประธานคณะกรรมการไอเอสโอ TF7 กล่าวว่ามาตรฐานสากลเป็นพื้นฐานในการช่วยให้องค์กรมีปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ก้าวหน้าขึ้น ไมว่าจะเป็นด้านมาตรฐานระบบการจัดการที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรและกระบวนการหรือมาตรฐานทางเทคนิควิชาการของไอเอสโอใหม่ๆ
มาตรฐานไอเอสโอได้รับการพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระดับระหว่างประเทศและความเห็นพ้องต้องกันจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลก ซึ่งมาตรฐานถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและมีความเกี่ยวข้องในการช่วยให้องค์กรไม่เพียงแต่สามารถวัดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังจัดเตรียมความท้าทายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
มาตรฐานไอเอสโอล่าสุดและแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รับการนำเสนอและมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางรวมทั้ง ISO 14064-1 เกี่ยวกับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ ISO 14067 เกี่ยวกับปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีการแนะนำมาตรฐานใหม่เพื่อการพัฒนาสำหรับการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ISO 14090) ผลกระทบ ความเปราะบาง และการประเมินความเสี่ยง (ISO14091) และพันธบัตรสีเขียวเพื่อสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการและสินทรัพย์ (ISO 14030)
นอกจากนี้ การทบทวนประเด็นที่เกี่ยวข้องในปี 2561 (2018) ซึ่งเชื่อมโยงมาตรฐานสากลเข้ากับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติก็ได้รับการพิจารณาและนำเสนอด้วย
ผู้สนใจสามารถเข้าไปติดตามการประชุมของไอเอสโอและการประชุมอื่นๆ ผ่านการกระจายเสียงของ UNFCCC ได้ที่นี่ side events webcast page
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2354.html
Related posts
Tags: Climate Change, ISO, Standardization
ความเห็นล่าสุด