• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — มกราคม 23, 2019 8:00 am
มาตรฐานไอเอสโอช่วยปกป้องความเสี่ยงภัยจากไซเบอร์ ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 2498 reads
0
  

HOW WE CAN  PROTECT OURSELVES FROM  CYBER-RISKS2บทความเรื่อง “มาตรฐานไอเอสโอช่วยปกป้องความเสี่ยงภัยจากไซเบอร์ ตอนที่ 1” กล่าวถึงความสำคัญของการปกป้องไม่ให้องค์กรเป็นอันตรายจากการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบที่รวดเร็วและเข้มแข็งเพียงพอ ซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้น คณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอที่รับผิดชอบด้านการจัดการความเสี่ยงได้ชี้ให้เห็นว่าองค์กรจำเป็นต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือธุรกิจว่าอะไรคือสิ่งที่องค์กรให้คุณค่าอย่างแท้จริงแล้วทำการประเมินระบบขององค์กรในเชิงกลยุทธ์โดยรวม ไม่ใช่การประเมินเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น  องค์กรที่เป็นผู้ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้านวิชาการในระดับสูงในรูปแบบของข้อมูล หากมีการรั่วไหลของข้อมูล จะเกิดผลเสียอย่างมากมายตามมา

แนวทางของการประเมินระบบขององค์กรในเชิงกลยุทธ์โดยรวมเพื่อจัดการความเสี่ยงดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแนวทางของดร.โดนัลด์ ดอยช์ รองประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่มาตรฐานของออราเคิลซึ่งอยู่ที่แคลิฟอร์เนียและประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/IEC JTC 1, Information technology, คณะอนุกรรมการที่ 38, Cloud computing and distributed platforms ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานภายใต้การดูแลร่วมของไอเอสโอและไออีซี

คลาวด์และการวางตำแหน่งของคลาวด์ตามการจัดลำดับความสำคัญของตามความเสี่ยงบางครั้งก็มีนัยสำคัญต่อผู้บริโภคในปัจจุบัน ถ้าเราใช้คอมพิวเตอร์อยู่ทุกวันนี้ ก็มีแนวโน้มสูงว่าเราจะใช้คลาวด์ แต่ว่าคลาวด์คอมพิวติ้งมีการกระจายออกไปใช้งานมากกว่าและใช้ในกลยุทธ์ทางธุรกิจมากกว่าในเชิงกลยุทธ์ทางเทคโนโลยี

มีการสนับสนุนทางเทคโลยีเมื่อเร็วๆ นี้ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเสี่ยง เช่น การจัดเตรียมทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติที่มีการแบ่งปันการใช้งานกับผู้ใช้หลายคน ความเสี่ยงนั้นมีมากพอๆ กับที่เราใช้คอมพิวเตอร์แล้วอาจเสียหายมากขึ้นตามขนาดของการใช้งานที่มากขึ้น

มาตรฐานสากลเน้นแนวทางเชิงกลยุทธ์ต่อความเสี่ยงภัยทางไซเบอร์ อย่างที่เจสัน บราวน์ชี้ให้เห็น เมื่อมีการเน้นเรื่องความเสี่ยงทางไซเบอร์ ชุดมาตรฐาน ISO 31000 จะได้รับการประเมินร่วมกับชุดมาตรฐาน ISO/IEC 27000 ด้านมาตรฐานระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management Systems: ISMS)

แนวทางเช่นนี้  ISO/IEC 27000 จะช่วยให้องค์กรประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง ในขณะที่ ISO 31000 จะช่วยให้เข้าใจถึงคุณค่าของข้อมูลหรือผลิตภัณฑ์ที่องค์กรดูแลอยู่ในระบบ ดังนั้น ระดับของการปกป้องเทคโนโลยีก็จะมีความจำเป็นที่จะป้องกันการจู่โจมทุกชนิด หรือในอีกทางหนึ่ง การประเมินความเสี่ยงอย่างรอบคอบด้วยการใช้ ISO 31000 จะช่วยให้องค์กรมีค่าใช้จ่ายทางการเงินอย่างมีสาระสำคัญเมื่อมีการซื้อเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล    การเมินเฉยต่อความเสี่ยงอาจมีแนวโน้มนำไปสู่การเสียค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปสำหรับระบบป้องกันเพราะอันที่จริงแล้วมันสามารถป้องกันได้ด้วยการลงทุนไปกับเทคโนโลยีที่ไม่มากนักตั้งแต่เริ่มต้น

แต่ชุดมาตรฐานทั้งสองชุดนั้นไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้ลดความเสี่ยงด้านไซเบอร์ลงเท่านั้น ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องมองไปในแง่ของความต่อเนื่องทางธุรกิจด้วยซึ่ง ISO 22301, Business Continuity Managementสามารถช่วยได้จริงๆ

มาตรฐานชุดนี้ทำให้มีระบบการจัดการที่จัดทำเป็นเอกสารไว้เพื่อปกป้องเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเช่นนั้น และทำให้องค์กรมีการประเมินวิธีของระบบโทรคมนาคมและข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์กรและผลที่ตามมาหากเกิดการล่มของระบบ

งานของ ISO/IEC JTC 1/SC 38 เป็นการช่วยให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถพูดภาษาเดียวกันสำหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง  ความต้องการของชุดมาตรฐานนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากผู้ผลิตหรือผู้ขายเองเช่นที่เคยเป็นมา แต่ขับเคลื่อนด้วยลูกค้าและผู้ซื้อ รัฐบาลและองค์กรได้ชี้ว่าผู้ผลิตแต่ละรายได้ใช้คำศัพท์ของตัวเอง ทำให้ยากต่อการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์และการสร้างทางเลือกที่มีการประกาศไว้ซึ่งทำให้คนมีทางเลือก และนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่มาตรฐาน ISO/IEC 17789, Information technology – Cloud computing – Reference architecture ซึ่งกำหนดโครงสร้างการอ้างอิงและกรอบการทำงานของคำศัพท์ร่วม

คณะอนุกรรมการ SC 38 ยังได้มองเห็นความสำคัญของการสร้างมาตรฐาน ISO/IEC 19086 ซึ่งมีสี่ส่วนสำหรับข้อตกลงระดับบริการระหว่างผู้ให้บริการคลาวด์และลูกค้า โดยสองส่วนยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา มาตรฐานเหล่านั้นเป็นผลดีสำหรับองค์กรที่นำไปใช้งานในเรื่องของความเสี่ยงด้านไซเบอร์ โดยเฉพาะ

มาตรฐาน ISO 31000 ได้รับการนำไปใช้เป็นระบบการจัดการความเสี่ยง ของประเทศแล้วประมาณ 40 ประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่ามีคนค้นหาคำว่า ISO 31000 ผ่านกูเกิ้ลกว่า 6.5 ล้านครั้งภายใน 0.54 วินาที แต่เนื่องจากเทคโนโลยีพัฒนาในอัตราที่เร็วกว่าที่เคยเป็นมา มาตรฐานสากลจึงต้องก้าวตามให้ทัน และเครื่องมือที่ใช้งานได้ในทุกวันนี้อาจจะไม่สามารถใช้ได้ในอนาคตอีกต่อไป

เมื่อกล่าวถึงเรื่องของการเรียนรู้ของเครื่องจักรที่ก้าวไปสู่เอไอ พบว่าความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังพัฒนาไปสู่ขอบข่ายที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมากมายขึ้นซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อชี้ประเด็นที่กำลังเกิดขึ้นและสามารถติดตามได้ ซึ่งคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 262, Risk Management พบว่าปัจจุบันมีการสำรวจในเรื่องของ “การบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นมา” โดยเน้นไปที่ความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเป็นการดิสรัพท์สูงมากที่สุด

แม้ว่าผู้บริโภคและผู้ผลิตต่างมีแนวทางสำหรับอนาคตที่แตกต่างกันออกไป แต่เราทุกคนจำเป็นต้องเปิดกว้างต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดเดาได้ยากเช่นนี้ และมาตรฐานไอเอสโอก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่เราควรเปิดใจรับมาใช้เพื่อจัดการกับปัญหาของภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ได้ในที่สุด

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2359.html



Related posts

  • การจัดลำดับการบริหารความเสี่ยงด้านไอทีในปี 2013 ตอนที่ 2การจัดลำดับการบริหารความเสี่ยงด้านไอทีในปี 2013 ตอนที่ 2
  • นโยบายกฎระเบียบข้อบังคับทางการค้า EU 2015นโยบายกฎระเบียบข้อบังคับทางการค้า EU 2015
  • ท่องไปในโลกกว้างอย่างยั่งยืน  ตอนที่ 1ท่องไปในโลกกว้างอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1
  • เทคโนโลยีที่พลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่อนาคต ตอนที่ 1เทคโนโลยีที่พลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่อนาคต ตอนที่ 1
  • ส่องเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต “โตเกียวและกรุงเทพฯ”ส่องเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต “โตเกียวและกรุงเทพฯ”

Tags: IT, Standardization, Strategic Management

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑