จากการประชุมดาวอส 2019 ในงาน World Economic Forum (WEF) เกี่ยวกับโลกอนาคตด้านการศึกษา เพศ และการทำงาน เมื่อเดือนมกราคม 2562 พบว่ามีเรื่องหลักๆ 5 เรื่องดังต่อไปนี้
1. ปัจจุบัน เราอยู่ในช่วงระหว่างการผันเปลี่ยนไปสู่อีกยุคหนึ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่จำเป็นต้องเพิ่มพูนทักษะตนเองและทบทวนทักษะที่ตนเองมีอยู่
มีการสำรวจในเอเชีย พบว่า 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสนใจในผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่องานของตนเอง ผู้คนพูดถึงความต้องการในการหาทางลัดไปสู่การมีทักษะใหม่และการเป็นผู้นำเพื่อสร้างคนสำหรับอนาคต แต่ขณะเดียวกันยังมีความรู้สึกลึกๆ ว่า นี่คือความกลัวที่มากเกินไปและยากที่จะคิดว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
2. เป็นเรื่องจำเป็นมากที่เราจะต้องสร้างทักษะให้เพิ่มขึ้นและทบทวนทักษะที่มีอยู่เดิมเสียใหม่ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทักษะเป็นกระแสสำคัญสำหรับตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน นักเศรษฐศาสตร์แรงงานชี้ว่าสัญญาณบางอย่างได้เกิดขึ้นแล้ว เช่น จากผลสำรวจของซีอีโอเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ซีอีโอจำนวนมากไม่ได้ตระหนักถึงความขาดแคลนของทักษะที่มีอยู่ ส่วนในด้านการศึกษา ยังขาดความเชื่อมต่อระหว่างความต้องการของธุรกิจและสิ่งที่การศึกษากำลังสร้างขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความเข้าใจและการพูดคุยระหว่างสองส่วนนี้
อันที่จริง โลกของเราต้องการการผลักดันเป็นอย่างมากในการเตรียมให้ผู้คนพร้อมสำหรับงานและทักษะใหม่ แต่ปัจจุบัน ไม่มีใครที่เตรียมการคนที่มีทักษะสำหรับอนาคตไว้อย่างเพียงพอ เช่นที่นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ปัจจุบัน การมีโรงเรียนไม่ได้หมายความว่าเราจะเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีทักษะให้กับตลาดแรงงาน และการมีทักษะไม่ได้หมายความว่าเราจะมีงานทำ เส้นทางที่แท้จริง ซับซ้อนกว่านี้ยิ่งนัก
3. เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเน้นเรื่องช่องว่างด้านเพศในงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ปัจจุบัน ช่องว่างด้านเพศยังคงมีอยู่ในทุกงาน (ตัวอย่างเช่น มีผู้หญิงเพียง 23% ของผู้เข้าร่วมประชุมดาวอสในปีนี้) บทสนทนาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเพศเน้นไปที่เรื่องเทคโนโลยี มีงานใหม่ๆ เป็นจำนวนมากอยู่ในงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งผู้หญิงไม่ค่อยได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มนี้ ผู้นำเทคโนโลยีคนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่าอาจจะแย่ลงไปอีก ปัจจุบัน ผู้หญิง 20% ในอาชีพด้านเทคโนโลยีกำลังพิจารณาว่าจะไม่อยู่ในอาชีพนี้
สำหรับผู้หญิงแล้วมีความสำคัญในเรื่องความก้าวหน้า และยังคงเป็นตัวแทนในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science, technology, engineering, and math: STEM) เช่นที่ผู้เข้าร่วมอบรมกล่าวว่า ผู้หญิงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพแต่ถูกประเมินและใช้งานอันเป็นประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องเลือกคนที่มีคุณสมบัติพร้อมกว่าก็จริง แต่ผู้หญิงก็ต้องเชื่อว่าตัวเองมีศักยภาพและความพร้อมที่จะเตรียมตัวสำหรับเรื่องนี้เช่นกัน
4. การทำงานที่ยืดหยุ่นกำลังกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นิยมกัน มีความหลากหลายของคนทำงานมากกว่าเดิมในแรงงาน และคนจำนวนมากที่อายุเกินกว่า 60 ปี มีความต้องการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากขึ้นและพวกเขาล้วนแต่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน
สำหรับสภาพการทำงาน มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อย่างประเทศออสเตรเลีย มีการทำงานที่ยืดหยุ่นในหลายพื้นที่ ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างญี่ปุ่น มีวัฒนธรรมองค์กรด้านการลงโทษที่ยืดหยุ่น เช่นเดียวกับที่ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีรายหนึ่งกล่าวว่า เขาต้องการควบคุมปฏิทินของเขา และมันจึงกลายเป็นธรรมเนียมว่าเทคโนโลยีเน้นเรื่องความเคลื่อนไหวและความร่วมมือ ข้อสังเกตอื่นที่ครั้งหนึ่งเราเคยมีความยืดหยุ่น ปัจจุบัน มันยากที่จะผลักดันให้เปลี่ยนแปลงไป
5. ความคาดหวังที่ยิ่งใหญ่คือความคาดหวังด้านการศึกษา ในคณะทำงานและกลุ่มต่างๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่หนึ่งในมักมีคำถามหนึ่งที่มีผู้ถามเหมือนๆ กัน คือ อะไรคือสิ่งที่คุณมองในแง่ดีมากที่สุด คนหลายคนตอบว่า “การศึกษา” แต่สังเกตได้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้วย โครงการต่างๆ ในอินเดียและอัฟริกาคือการนำการเรียนรู้ไปสู่ผู้คนทั้งหมด แต่ก็มีความท้าทายคือ ส่วนใหญ่ของอัฟริกาที่อยู่ใต้ทะเลทรายซาฮาร่า พวกเขามีบ้านหลายหลังที่เป็นของคนยากจนที่สุดในโลกและขาดการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต คุณสมบัติด้านการศึกษาจึงยังคงเป็นเรื่องท้าทายในแถบนี้ ในขณะที่การศึกษาที่อิงอยู่กับเทคโนโลยีอาจจะเพิ่มเครือข่ายและหนทางแห่งการเรียนรู้ แต่ก็ยังไม่ค่อยมีความคืบหน้ามากนัก
การศึกษาเป็นตัวบังคับหลักที่มีศักยภาพสำหรับความก้าวหน้าแต่ก็มีความเคลื่อนไหวทางสังคมค่อนข้างน้อย เราอาจได้ยินว่ามันลดลงด้วยซ้ำในขณะที่ชนชั้นสูงมีการสะสม และเป็นโอกาสในอนาคตที่มีการสะสมสำหรับเด็กๆ ของตนเอง นักการศึกษารายหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษากำลังสร้างอาณาจักรบนฐานของคุณลักษณะและเราจำเป็นต้องปฏิเสธมัน เราจำเป็นต้องมีวิธีที่ส่งมอบทักษะไม่ใช่คุณลักษณะ แต่เราจำเป็นต้องหาทางส่งมอบทักษะที่ควรมีเพื่อการทำงาน ไม่ใช่แค่คุณลักษณะเท่านั้น
โดยรวมแล้ว การสนทนาในงานดังกล่าวได้ก้าวไปไกลเกินกว่าคำถามง่ายๆ เช่น หุ่นยนต์จะมาแทนที่เราได้ไหม ซึ่งเป็นสิ่งที่ถามกันมากเมื่อสองสามปีก่อน แต่ปัจจุบัน มีความตระหนักว่าเราต้องทำอะไรบ้างตั้งแต่ตอนนี้ และทำในระดับกว้าง
แล้วเราคือใคร เราก็หมายรวมถึงคนอื่นๆ ที่อยู่ที่ดาวอส เช่น รัฐมนตรีของรัฐบาลประเทศต่างๆ คนที่ต่องมีการเตรียมตัวสำหรับเตรียมการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจให้กับคนที่อยู่ในช่วงรอยต่อ เช่น นักการศึกษาซึ่งต้องลดความสนใจในเรื่องคุณสมบัติลงแต่ช่วยให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั่นเอง
อนาคตของการทำงานเป็นหนึ่งในแพล็ตฟอร์มที่ร้อนแรงมากที่สุดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่เวลาเท่านั้นที่จะบอกเราได้ว่าความท้าทายต่างๆ เหล่านี้จะแปรเปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติได้หรือไม่
ส่วนในภาพรวมของการประชุมดาวอส 2019 เคลาส์ ชวาบ ผู้ก่อตั้งและประธาน WEF กล่าวว่าในการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน เพราะสร้างทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงด้านศีลธรรมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย
ที่มา: 1. https://sloanreview.mit.edu/article/five-insights-from-davos-on-the-future-of-work/
2. https://www.voathai.com/a/globalization-climate-change-top-agenda-of-world-economic-forum/4744884.html
ความเห็นล่าสุด