• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — มีนาคม 25, 2019 8:00 am
ไอเอสโอก้าวทันการดูแลสุขภาพยุค 4.0 ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 2358 reads
0
  

ISO AND NEW CHALLENGES  OF HEALTHCAREในโลกที่มีการติดต่อเชื่อมโยงกัน นับวันจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ระบบสาธารณสุขเต็มไปด้วยความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดของประชากรโลก หรือการบริหารจัดการในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ดังนั้น มาตรฐานไอเอสโอจึงมีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและบริการที่ดี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การดูแลสุขภาพในยุคใหม่ซึ่งส่วนหนึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพด้วย

อย่างไรก็ตาม เพียงแค่การจัดการความเสี่ยงในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพเท่านั้นยังไม่เพียงพอ การป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในลำดับแรก และมีคนเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ยังคงดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและอยู่ในภาวะปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่อายุมากขึ้น ร่างกายก็เริ่มอ่อนแอลงและประสบกับความเจ็บป่วยมากน้อยต่างกันไป บางรายต้องเข้ารับการผ่าตัดข้อต่อ บางรายก็ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือศูนย์ดูแลสุขภาพ เป็นต้น

ประชากรโลกต่างมีความคาดหวังว่าอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพจะทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เรามีความไว้วางใจในมืออาชีพด้านสุขภาพเมื่อเราอยู่ในภาวะที่ต้องให้สถานพยาบาลคอยดูแลเรา และอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพจึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดของโลก

อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพประกอบไปด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องมือแพทย์ บริการและเภสัชกรรม

การวิจัยโดยหน่วยงานศูนย์ข้อมูลนักเศรษฐศาสตร์ของดีลอยท์ระบุว่าในขณะที่ค่าใช้จ่ายประจำปีด้านสุขภาพมีสูงถึง 7.077 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 และจะสูงขึ้นไปถึง 8.734 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020

ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดขึ้นควบคู่ไปกับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่สูงขึ้นสำหรับการดูแลสุขภาพในแต่ละประเทศ

ข้อมูลจากนิตยสารฟอร์บส์ ระหว่างปี 2015 และ 2030 ระบุว่ามีการคาดการณ์ว่าจำนวนคนบนโลกนี้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะสูงขึ้นถึง 56% โดยจะเพิ่มจากจำนวนกว่า 900 ล้านคนไปเป็น 1.5 พันล้านคน และคาดว่าภายในปี 2050 ประชากรโลกที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีสูงถึง 2 พันล้านคน ลำพังในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว ภายในปี 2060 จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีก็มีเกือบ 100 ล้านคนแล้ว

จำนวนผู้สูงวัยจากข้อมูลดังกล่าวนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพจะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต เนื่องจากประชากรทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะสูงวัยแต่จะไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ

อาหารที่ผ่านกระบวนการต่างๆ ได้นำไปสู่การเกิดโรค เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ดังนั้น อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพจะต้องมีแนวทางในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ด้วย

ดังนั้น เมื่อระบบการดูแลสุขภาพตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน จึงจำเป็นต้องมั่นใจว่าความปลอดภัยของผู้ป่วยจะยังคงมีมาตรฐานในระดับเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดและเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้ในกระบวนการทางการแพทย์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกมีข้อมูลสถิติของสหภาพยุโรปว่าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นราว 8 – 12% ในการรักษาพยาบาล โดยมีค่าเฉลี่ยราว 1 ในผู้ป่วย 20 คนในโรงพยาบาลเกิดการติดเชื้อทุกๆ ปีหรือราว 4.1 ล้านคนในแต่ละปี  ซึ่งสำนักงานตรวจสอบแห่งชาติของประเทศสหราชอาณาจักรประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการติดเชื้ออยู่ที่ราว 1 พันล้านปอนด์ต่อปี

จากการตีพิมพ์ผลการสำรวจระดับโลกในหัวข้อ The Implant Files ของ International Consortium of Investigative Journalists (ICIJ) พบว่าเกิดข้อผิดพลาดจากการใช้อวัยวะเทียมในผู้ป่วยโดยมีการกล่าวอ้างว่าเนื่องจากไม่ได้มีการทดสอบก่อนนำเข้าสู่ตลาด

ซึ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์นับวันจะทวีความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงวัยในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ เทคโนโลยีใหม่จะไม่เพียงแต่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลด้วย ทำให้การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการดูแลสุขภาพมีความซับซ้อนขึ้นไปอีก

ระบบการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้ง ความเสี่ยงที่เกิดจากการความผิดพลาดของมนุษย์ มีมาตรฐานไอเอสโอหลายมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ เช่น  ISO 14971 – Medical devices – Application of risk management to medical devices, ISO 22367 – Medical laboratories –Reduction of error through risk management and continual improvement และ ISO 35001 – Biorisk management for laboratories and other relate organizations

มาตรฐานดังกล่าวจะช่วยจัดการความเสี่ยงในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างไร โปรดติดตามในตอนต่อไปค่ะ

ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2370.html
2. http://tmi.or.th/jtmi/wp-content/uploads/2017/07/2017-1-5-Thailand-Health-4.0.pdf



Related posts

  • ความคืบหน้ามาตรฐานความปลอดภัย ISO 45001ความคืบหน้ามาตรฐานความปลอดภัย ISO 45001
  • มาตรฐาน ISMS เพื่อ SMEs ตอนที่ 1มาตรฐาน ISMS เพื่อ SMEs ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วยไอเอสโอส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วย
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ตอนที่ 2ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ตอนที่ 2
  • จัดการความเสี่ยงสำหรับเครื่องมือแพทย์ด้วย  ISO 14971จัดการความเสี่ยงสำหรับเครื่องมือแพทย์ด้วย ISO 14971

Tags: Health, Healthcare Equipment & Services, Standardization

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑