• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,209 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — April 1, 2019 8:00 am
สารสนเทศสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 2455 reads
0
  

HEALTH INFORMATICS AND  THE RECORD2

สารสนเทศสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความสำคัญของสารสนเทศด้านสุขภาพและบันทึกเอกสารด้านสุขภาพซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปสู่เอกสารระบบดิจิตอลมากขึ้น แต่ยังคงต้องพึ่งพิงเอกสารตัวจริงอยู่บ้าง เกี่ยวกับเรื่องนี้ วารสารไอเอสโอโฟกัสจะนำทุกท่านไปรับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศสุขภาพจำนวน 3 ท่านซึ่งอยู่ในคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอด้านสารสนเทศสุขภาพ ISO/TC 215  ดังต่อไปนี้

บุคคลแรกคือ คริสเตียน เฮย์ ซึ่งได้บันทึกติดตามการทำงานในเรื่องของการมาตรฐานสารสนเทศสุขภาพมาเป็นเวลา 20 ปีโดยในระยะแรกได้ใช้ระบบบาร์โค้ดสำหรับยาและต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ GS1 นั่นเอง มีคำถามสำหรับคริสเตียนคือ ความหมายที่ง่ายที่สุดของคำว่า สารสนเทศสุขภาพหมายถึงอะไร  และสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  คำตอบของเขาคือ ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศหรือไอทีในเรื่องสุขภาพ ซึ่งระบบทางการแพทย์และทางวิชาการพื้นฐานจะต้องตอบสนองต่อการใช้สารสนเทศในเรื่องสุขภาพให้ได้

คริสเตียนกล่าวในมุมมองที่กว้างขึ้นด้วยการมองไปที่ภาพอนาคตในสาขาเฉพาะด้านของเขาเอง  คือด้านธุรกิจร้านขายยาและเภสัชกรรม ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างด้านสารสนเทศสุขภาพและข้อมูลมาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์ยา สามารถประยุกต์ใช้ได้กับส่วนอื่นทุกส่วนของกระบวนการนับตั้งแต่การติดตามหลังการทำการตลาด การสนับสนุนการตัดสินใจทางคลีนิก การบ่งชี้และการมีปฏิสัมพันธ์ การแจ้งเตือนทางการแพทย์ การเบิกจ่ายเพื่อชำระเงินคืนของคนไข้ ไปจนถึงยาที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับบุคคลบางบุคคลโดยเฉพาะ และอื่นๆ อีกมากมาย

ในการเปลี่ยนแปลงจากกระดาษแบบเดิมๆ ไปสู่สิ่งใหม่ที่เป็นระบบดิจิตอล ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเรื่องของความสะดวกรวดเร็ว แต่การทำเช่นนี้จะมีผลดีมากที่สุดก็ต่อเมื่อโครงสร้างข้อมูลด้านสุขภาพต้องไม่เพียงแต่อยู่ในรูปของระบบดิจิตอลเท่านั้น แต่จะต้องสามารถปฏิบัติการจากระบบที่แตกต่างกันได้ด้วย สิ่งนี้เป็นหัวใจหลักของการเปิดรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ระหว่างภูมิภาค และระหว่างภาษาต่างๆ  นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงความต้องการในเชิงความหมายด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งได้มีการกล่าวถึงในคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 215 และในองค์กรอื่นๆ

บุคคลที่สองคือ นิโคลัส ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านมาตรฐานสุขภาพและเป็นนักมังสวิรัติ  ได้ทำงานด้านการเชื่อมโยงด้านภาษาร่วมกับสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอังกฤษ (BSI) และระบบดูแลสุขภาพแห่งชาติของประเทศอังกฤษ (UK NHS) ในฐานะที่เป็นหัวหน้าผู้ทำการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิตอลในด้านโครงสร้างข้อมูลทางคลีนิก

สำหรับคำถามที่ว่าความท้าทายของบริการทางสาธารณสุขที่มีการให้ทุนในการพัฒนาบริการคืออะไร เขากล่าวว่าน่าจะเป็นการนำเอาผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่แตกต่างกันมาร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์และจัดการในเรื่องความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละธุรกิจ  ซึ่งผู้ผลิตและมืออาชีพด้านสุขภาพกำลังให้ความสนใจอยู่

นิโคลัสกล่าวว่าแพทย์เกือบร้อยทั้งร้อยได้เข้าไปสู่ระบบดิจิตอลแล้ว แต่มีโรงพยาบาลจำนวนมากที่ยังคงใช้กระดาษอย่างมีนัยสำคัญ   อย่างไรก็ตาม  ถ้าหน่วยงานของแพทย์สามารถนำเอาระบบของตนเองไปใช้ได้อย่างมีเหตุมีผล  ส่วนหนึ่งของความท้าทายของบริการทางสาธารณสุขในระดับชาติก็จะสามารถนำมารวมเป็นระบบเดียวกันได้

ผู้เชี่ยวชาญคนที่สามคือ ไมเคิล กลิคแมน ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 215 และประธานของบริษัท คอมพิวเตอร์เน็ทเวิร์คอาคิเท็คท์ กล่าวว่าในการขยายความคิดพื้นฐานด้านสารสนเทศสุขภาพ อาจมีการมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์แห่งความสามารถในการคำนวณ เขาอธิบายว่าสารสนเทศยอมรับให้มีความสามารถในการเชื่อมต่อในการปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่มีการรวบรวมมาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งสามารถหมายถึงการนำไปใช้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิผล และมีความหมายในการกำหนดที่แตกต่างกันโดยคอมพิวเตอร์และโดยตัวบุคคล

ตลอด 40 ปี ไมเคิลได้รวมมือกับองค์กรดูแลสุขภาพมากกว่า 600 แห่ง และหน่วยงานแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพ 29 แห่ง และได้ทำงานเป็นอาสาสมัครในองค์กรพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและองค์กรการค้าต่างๆ   จากประสบการณ์อันเข้มข้นของเขาได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เขาตั้งคำถามว่าเรากำลังก้าวไปสู่การวินิจฉัยและการตัดสินใจรักษาที่ขึ้นอยู่กับข้อสังเกตที่มีการบันทึกไว้ได้อย่างมั่นใจได้หรือไม่ สิ่งนี้ทำให้คิดได้ว่ามาตรฐานสากลที่มีการทำให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการบันทึกข้อมูลทางการแพทย์จะช่วยสร้างศักยภาพในเรื่องการใช้ข้อมูลคนไข้เพื่อการวิจัยแบบไม่ระบุตัวตนได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยให้เรื่องของการยินยอมและการรักษาความลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะเมื่อพูดถึงมุมมองด้านมาตรฐานแล้ว ความมั่นคงปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยถือเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับการทำงานในเรื่องสารสนเทศสุขภาพ

เขาอยู่ในกลุ่มงาน ISO/TC 215/WG 4 ที่ทุ่มเทให้กับเรื่องเหล่านี้และร่วมมือกับกลุ่มงานอื่นๆ ทั้งภายในองค์กรของไอเอโอเองและกับหน่วยงานภายนอกอย่างองค์กรพันธมิตรต่างๆ  ซึ่งเป็นการยืนยันว่าความอ่อนไหวของข้อมูลทางการแพทย์ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี

ความใส่ใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลทั่วไปทำให้มีการยกระดับในเรื่องของกฎหมายอย่าง GDPR ในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกฎหมายที่ปกป้องข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภค โดยประเด็นหลักคือเป็นกฎหมายที่ทำให้คนไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม  หนึ่งในเหตุผลที่มีกฎหมายนี้คือปัจจุจบัน เราต้องจัดการกับปริมาณข้อมูลส่วนบุคคลที่มีอยู่มากมายอย่างที่เราไม่เคยทำมาก่อนเลย

นิโลลัสยังกล่าวต่อไปว่า ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกันของระบบข้อมูลยังคงเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งการถ่ายโอนเอาความหมายจากคอมพิวเตอร์หรือระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งยังคงเป็นความท้าทายเป็นอย่างมาก

การที่ไอเอสโอสนับสนุนให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานทำให้มาตรฐานไอเอสโอสามารถเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศซึ่งประสบกับสถานการณ์ด้านการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน และผู้ที่นำมาตรฐานไปใช้สามารถมั่นใจได้ว่างานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 215 ได้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน และเมื่อถึงวันหนึ่ง บันทึกดิจิตอลก็จะกลายเป็นวิธีปฏิบัติตามปกติและคงจะไม่มีการร้องขอให้ผู้ป่วยกรอกแบบฟอร์มเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2372.html



Related posts

  • แนะนำมาตรฐานใหม่ ISO 19095แนะนำมาตรฐานใหม่ ISO 19095
  • การปรับปรุงน้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนการปรับปรุงน้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ตูนีเซียใช้ “น้ำทะเลบำบัด” ส่งเสริมการท่องเที่ยวตูนีเซียใช้ “น้ำทะเลบำบัด” ส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • แนะนำข้อกำหนดทางวิชาการสำหรับแอปสุขภาพแนะนำข้อกำหนดทางวิชาการสำหรับแอปสุขภาพ
  • เทคโนโลยีที่พลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่อนาคต ตอนที่ 1เทคโนโลยีที่พลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่อนาคต ตอนที่ 1

Tags: Health, Quality, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑