การที่โลกของเราประสบปัญหาอุทกภัย ภัยแล้งสุดขีด และอุณหภูมิที่ขึ้นสูงที่สุดหรือลงต่ำสุด เป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นหนึ่งในประเด็นที่กดดันโลกมาที่สุดในตอนนี้ ดังนั้น ไอเอสโอจึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่มาตรฐานสองฉบับที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ลดความเสียหายจากก๊าซเรือนกระจก
การต่อสู้กับผลกระทบของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อภาวะโลกร้อนและผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในยุคของเราแม้ว่าจะมีความพยายามร่วมกันในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยยังคงสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียสและส่งสัญญาณว่าจะสูงขึ้นไปอีก
สำนักงานเม็ทซึ่งเป็นงานบริการด้านภูมิอากาศระดับชาติของประเทศสหราชอาณาจักร ระบุว่า ในปีนี้ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมีสูงขึ้นเกือบเท่าสถิติที่เคยเป็นมาแล้วซึ่งมีการเพิ่มขึ้นโดยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการทำลายป่าไม้
นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเตือนว่าถ้าเรายังไม่สามารถรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียสแล้ว ภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดภัยธรรมชาติตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่าซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมากมายบนโลกของเรา
นับตั้งแต่มีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCC) เมื่อปี 2535 (ค.ศ.1992) โลกของเราก็มีความก้าวหน้าในการสนับสนุนปฏิบัติการระหว่างประเทศในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความพยายามนี้ได้นำไปสู่ข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งทำให้แต่ละประเทศกำหนดกลยุทธ์ของตนเองในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และไม่เหมือนกับเกียวโตโปรโตคอลที่มีมาก่อนหน้านั้นซึ่งไม่ได้มีข้อผูกพันตามกฎหมาย
เป้าหมายของข้อตกลงปารีสคือการทำให้การเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเหนือกว่าระดับยุคก่อนอุตสาหกรรมและความพยายามในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้อยู่ในระดับไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่ายังคงต้องมีปฏิบัติการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปเพื่อให้โลกของเราบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น
การจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องอาศัยปฏิบัติการร่วมกันไม่เพียงแต่รัฐของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาคเอกชนด้วย ดังนั้น ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐาน ISO 14064-2 และ ISO 14064-3 ขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน
มาตรฐาน ISO 14064-2 มีการนำไปใช้เพื่อวัดปริมาณการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนมาตรฐาน ISO 14064-3 ช่วยตอบสนองการทวนสอบ (Verification) และการตรวจสอบ (validation) รายงานที่พัฒนาการใช้มาตรฐาน 14064-2 และการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในโครงการอื่นๆ สำหรับมาตรฐานใหม่ ISO 14064-3 ได้ขยายการใช้งานไปจนถึงรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในระดับผลิตภัณฑ์ด้วย (ISO 14064-2, Greenhouse gases — Part 2: Specification with guidance at the project level for quantification, monitoring and reporting of greenhouse gas emission reductions or removal enhancements, ISO 14064-3, Greenhouse gases — Part 3: Specification with guidance for the verification and validation of greenhouse gas statements)
ทอม บาวมานน์ ประธานคณะอนุกรรมการที่ดูแลรับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานดังกล่าวและเป็นหัวหน้าผู้บริหารของไคลเมทเช็คกล่าวว่า ISO 14064-2 และ ISO 14064-3 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับโครงการใดก็ได้กับทุกภาคส่วน ทุกภูมิภาค และใช้ได้กับองค์กรทุกประเภทและทุกขนาด
มาตรฐานเหล่านี้เป็นมาตรฐานที่สนับสนุนการผสมผสานกันของการติดตามก๊าซเรือนกระจกและการกำหนดค่าก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดความสามารถในการเปรียบเทียบกันได้และมีความคงเส้นคงวาที่จำเป็นต้องมีสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักลงทุนที่จำเป็นต้องใช้เงินนับพันล้านเหรียญดอลล่าร์ต่อปีไปเพื่อช่วยในเรื่องการเงินที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
มาตรฐาน ISO 14064-2 มีการเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2549 (ค.ศ.2006) ในโครงการคาร์บอนเครดิตต่างๆ รวมทั้งโครงการก๊าซเรือนกระจกของภาคเอกชน และมีการเผยแพร่มาตรฐานฉบับใหม่ของ 14064-1 เมื่อปีที่แล้ว
คริสทีน ชูห์ ประธานของบริษัทที่ปรึกษา le-ef.com กล่าวว่ามาตรฐาน ISO 14064-3 เป็นมาตรฐานใหม่ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มาตรฐานนี้เป็นหลักการใหม่ และมีส่วนที่ใหม่ในเรื่องของการทวนสอบ มีเครื่องมือใหม่เช่นคู่มือขั้นตอนที่มีผู้เห็นพ้องต้องกันและมีส่วนร่วมอย่างมีเหตุมีผลและมีความชัดเจนรวมทั้งความสามารถในการปลดปล่อยทางอ้อมและวงจรงชีวิตผลิตภัณฑ์
ISO 14064 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 207, Environmental management คณะอนุกรรมการ SC 7, Greenhouse gas management and related activities โดยมีเลขานุการคือ SAC ซึ่งเป็ฯสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศแคนาดา
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2384.html
Related posts
Tags: Climate Change, Environment Management, Standardization
Recent Comments