ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ประชากรโลกกว่า 70% จะอาศัยอยู่ในเมืองซึ่งครอบคลุมน้อยกว่า 2% ของพื้นผิวโลก ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนว่าโลกของเราจะมีความท้าทายมากมายขนาดนี้ และแนวโน้มประชากรที่จะอยู่อาศัยในเมืองยังคงเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ ซึ่งในอนาคตจะนำมาซึ่งปัญหาอีกมากมาย เช่น ความไม่เท่าเทียมกัน ปัญหาด้านมลพิษต่างๆ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน การจราจรคับคั่ง ความปลอดภัย และสุขภาพ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะอาศัยอยู่ในเมืองเล็กหรือเมืองใหญ่ การที่ชุมชนของเราจะเป็นชุมชนที่มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม และสิ่งที่จะทำให้เมืองสามารถก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะได้ จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งแนวโน้มขององค์ประกอบเมืองอัจฉริยะในปี 2019 มีดังต่อไปนี้
1.มีความเป็นเมืองที่ไม่ใช่เป็นแค่เมือง แต่เมืองอัจฉริยะจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงจากเมืองใหญ่ไปสู่ชุมชนของเมืองทุกขนาดในปีนี้ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะถูกขับเคลื่อนด้วยการยอมรับ IoT และเทคโนโลยีวายฟาย mแม้แต่ในชนบท และด้วยการยอมรับวิธีการของเมืองอัจฉริยะว่าเป็นส่วนที่ต้องมีการผสมผสานและปฏิบัติได้จากการวางแผนชุมชน ซึ่ง Big Data ก็เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งและยังคงเป็นประเด็นร้อนในปีนี้
2. แนวทางที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ เราจะเห็นถึงความตระหนักที่เพิ่มขึ้นในการเป็นเมืองอัจฉริยะซึ่งไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีทั้งหมดแต่จะเป็นเรื่องของผลลัพธ์ที่ตามมาในระดับมนุษย์ บ่อยครั้งเรามองไปที่เทคโนโลยีมากกว่าจิตวิญญาณ แต่ในปีนี้เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของชุมชนอัจฉริยะที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นศูนย์กลางและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความมั่นคงปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี และมีความหมายมากขึ้น
3. มีกระบวนการที่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้ง่ายขึ้น เมื่อเมืองอัจฉริยเติบโตขึ้น วิสัยทัศน์ เทคโนโลยีและความเป็นจริงจะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญรองลงมาและจัดการได้ยากขึ้น แต่เราสามารถทำให้มันง่ายขึ้นได้ด้วยการมองผ่านกระบวนการที่มีการคิดและการใช้งานที่ง่ายขึ้น รวมทั้งการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งมาช่วยรวบรวมและวิเคราห์ข้อมูลของชุมชนซึ่งเราได้เห็นแล้วจากการมีเครือข่ายแบบเดิมมาเป็นการใช้ซอฟต์แวร์ในรูปแบบเครือข่ายมากขึ้น
4.เปลี่ยนแปลงจากรายจ่ายลงทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เราจะเห็นว่าชุมชนมีโครงการเมืองอัจฉริยะมากขึ้น และในการจัดการกับงบประมาณในโครงการต่างๆ จะไม่ได้มองเฉพาะเรื่องการลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่จะคำนึงถึงประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าของโครงการด้วย ทำซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นลงได้
5.มีความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกัน มีความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการปฏิบัติงานร่วมกันของอุปกรณ์IoT และแพล็ตฟอร์มที่เชื่อมต่อเทคโนโลยีที่หลากหลายของเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ ยกตัวอย่างเช่น แพล็ตฟอร์ม Kinetic for Cities ที่ช่วยถักทอให้เทคโนโลยีและข้อมูลที่ไม่เหมือนกันให้เข้ากันได้และสามารถสร้างคุณค่าให้มากขึ้นได้
6.พลเมืองมีส่วนร่วมมากขึ้น ในบางชุมชน พลเมืองอาจจะมีส่วนร่วมในชุมชนค่อนข้างน้อย แต่แอพพลิเคชั่นสามารถทำให้ชุมชนเติมเต็มความต้องการทั้งในรูปแบบของความต้องการส่วนบุคคลและความต้องการของสาธารณชนให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เอไอและแมชชีนเลิร์นนิ่งจะเป็นส่วนสำคัญของการมีส่วนร่วมเช่นนี้
7.ควบคุมโดยกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง ผู้นำเมืองอัจฉริยะสามารถค้นหาศูนย์ข้อมูลได้ด้วยการกระจายอำนาจออกไปจากศูนย์กลาง รวมทั้งเทคโนโลยีและการตัดสินใจที่จะให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นศูนย์กลางมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของพลเมือง ซึ่งทำให้มีการตอบสนองที่แม่นยำมากขึ้นและยังช่วยให้ฟื้นฟูเมืองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์หรือภัยธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว การตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติทันทีจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในชุมชนให้มีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
8.เพิ่มความโปร่งใสให้กับรัฐบาล เมืองอัจฉริยะจะยังคงต้องสร้างความก้าวหน้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของความโปร่งใส เนื่องจากการใช้โมบายแอพ การปรับปรุงความร่วมมือกันแบบเรียลไทม์ จะทำให้มีการแชร์ข้อมูลและเครื่องมือกันได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จึงเป็นไปอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา และทำให้รัฐบาลและประชาชนมีความร่วมมือกันมากขึ้น
9.ให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้มากขึ้น การเป็นเมืองอัจฉริยะหมายถึงโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น อันเป็นการปูทางไปสู่ความร่วมมือหรือการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ธุรกิจท้องถิ่น ผู้ค้าปลีก และภาคส่วนของการท่องเที่ยว ทำให้มีกิจกรรมทั้งแบบเสมือนจริงและกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน
10. ใช้เทคโนโลยี IoT ที่มีต้นทุนต่ำเพื่อสนับสนุนความปลอดภัยของชุมชน การใช้วายฟายและ IoT ของชุมชนจะกลายเป็นเรื่องปกติและทุกคนสามารถซื้อหามาใช้ได้ เช่น การใช้เครือข่ายเซนเซอร์และกล้องจับภาพความเคลื่อนไหวในชุมชุน เป็นต้น ทำให้ช่วยในเรือ่งของความปลอดภัยและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ในปีนี้ จะมีการประชุม Unlocking Functional & Sustainable Cities ระหว่างวันที่ 23 – 24 กันยายน 2562 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อให้ทั่วโลกได้มีเวทีในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการกับเมืองอัจฉริยะยุคใหม่ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและการมีแพล็ตฟอร์มที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ คอยจับตามองปัจจัยที่จะทำให้เกิดเมืองอัจฉริยะแนวทางตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นได้ในงานนี้
Related posts
Tags: Future Management, Future watch, safety
ความเห็นล่าสุด