ส่วนผสมสำคัญที่สุดของช็อกโกแลตที่คนทั่วโลกชื่นชอบก็คือ โกโก้ แต่เมล็ดโกโก้นั้นกว่าจะได้ผลผลิตขึ้นมาก็ต้องใช้เวลาและความพยายามพอสมควร และข้อเท็จจริงของการปลูกโกโก้คือผู้ที่ปลูกโกโก้เป็นเพียงเจ้าของฟาร์มเล็กๆ ที่อยู่ในบางพื้นที่ของโลกนี้เท่านั้น เขาเหล่านั้นขาดโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในการได้มาซึ่งโกโก้คุณภาพดี ดังนั้น ไอเอสโอจึงได้พัฒนาชุดมาตรฐาน ISO 34101 ขึ้นเพื่อให้มีการผลิตโกโก้อย่างยั่งยืนและสามารถสอบกลับไปยังแหล่งที่มาได้ และส่งเสริมให้ผู้เพาะปลูกโกโก้มีความยั่งยืน
มาตรฐานดังกล่าวพัฒนาโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรมโกโก้รวมทั้งผู้แทนจากประเทศต่างๆ ที่ปลูกโกโก้และมีตลาดผู้บริโภคโกโก้ ซึ่งชุดมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีเป้าหมายในการกระตุ้นให้ผู้เพาะปลูกโกโก้มีความเป็นมืออาชีพและมีส่วนร่วมในความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เพาะปลูกรวมทั้งมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น มาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมทั้งในเรื่องขององค์กร เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของการเพาะปลูกโกโก้รวมทั้งแสดงถึงข้อกำหนดที่เข้มงวดในการสอบกลับซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับความยั่งยืนของโกโก้ที่มีการนำไปใช้
มาตรฐาน ISO 34101-1, Sustainable and traceable cocoa – ส่วนที่ 1 Requirements for cocoa sustainability management systems มีเป้าหมายในการช่วยให้ผู้ใช้งานมีการนำวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิผลไปใช้งานเพื่อช่วยให้เกิดการปรับปรุงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานส่วนที่ 2 มีการจัดการกับข้อกำหนดด้านสมรรถนะ ระบุเกณฑ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มาตรฐานส่วนที่ 3 เป็นข้อกำหนดเพื่อการทวนสอบโกโก้ที่มีการผลิตอย่างยั่งยืน และมาตรฐานส่วนที่ 4 มีเป้าหมายสำหรับเจ้าของที่ต้องการขอรับการรับรอง หน่วยรับรองและผู้ที่ต้องการทำให้องค์กรมีความสอดคล้องกับชุดมาตรฐาน ISO 34101 ซึ่งจัดเตรียมจุดเริ่มต้นให้กับผู้เพาะปลูกที่ยังใหม่ต่อแนวคิดการเพาะปลูกโกโก้อย่างยั่งยืน ซึ่งใช้เวลาที่จะเติมเต็มให้ถูกต้องตามข้อกำหนดในส่วนที่ 1 จากประสบการณ์ที่ได้รับ
ชุดมาตรฐาน ISO 34101 ได้รับการพัฒนาโดยไอเอสโอร่วมกับ CEN (European Committee for Standardization) ภายใต้คณะกรรมการวิชาการ CEN/TC 415, Sustainable and Traceable Cocoa มีเลขานุการคือ DS ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเดนมาร์ก ร่วมกับคณะอนุกรรมการวิชาการ ISO/TC 34, Food products, subcommittee SC 18, Cocoa ซึ่ง GSA กับ NEN ซึ่งมีการบริหารจัดการร่วมกัน
แจ็ค สไตน์ ประธานคณะกรรมการ CEN/TC 415 and ISO/TC 34/SC 18 กล่าวว่ากระบวนการพัฒนาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับชุดมาตรฐาน ISO 34101 มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตโกโก้และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เพาะปลูกโกโก้ซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและสามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าช็อกโกแลตที่บริโภคนั้นมาจากแหล่งที่มีการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ชุดมาตรฐานดังกล่าวยังส่งเสริมให้ผู้เพาะปลูกและองค์กรผู้เพาะปลูกโกโก้ได้รับประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์จากประเด็นที่มีการกล่าวถึงแนวทางความยั่งยืนที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากด้วย
จากแผนการพัฒนาฟาร์มโกโก้ ทำให้สามารถประเมินได้ว่าผู้เพาะปลูกโกโก้จะได้รับประโยชน์จากการหันมาทำการเพาะปลูกอย่างยั่งยืนได้หรือไม่ และเมื่อพวกเขาเลือกที่จะปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานแล้ว ก็จะอยู่ในจุดที่จะพัฒนาไปเป็นผู้ประกอบการที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจได้ต่อไป
แม็คมิลแลน เพรนทิส ผู้จัดการคณะกรรมการร่วมของ ISO/TC 34/SC 18 กล่าวว่าในขณะที่โครงการต่างๆ มุ่งสนับสนุนการปรับปรุงการเพาะปลูกโกโก้อย่างยั่งยืน มาตรฐานดังกล่าวก็มุ่งไปที่การเปรียบเทียบโครงการอื่นที่เชื่อมโยงประโยชน์ให้กับการเพาะปลูกโกโก้ในภาพรวมเช่นกัน เช่นในมาตรฐานในส่วนที่ 4 ช่วยให้การรับรองตามมาตรฐานเพื่อความยั่งยืนมีความชัดเจนในด้านข้อกำหนดของโครงการที่มีการรับรองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
สำหรับมาตรฐานดังกล่าวยังตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 2 (ขจัดความหิวโหย), เป้าหมายที่ 8 (ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่มีคุณค่า), เป้าหมายที่ 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) ), เป้าหมายที่ 12 (การผลิตและการบริโภคที่มีความรับผิดชอบ) อีกด้วย
ผู้สนใจสามารถศึกษามาตรฐานดังกล่าวได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2387.html
Related posts
Tags: Quality, Standardization, Sustainability
Recent Comments