วิกฤตมักเกิดขึ้นพร้อมกับโอกาสเสมอ คอสตาริก้าได้ประสบปัญหาเรื่องน้ำมาเป็นเวลายาวนาน โดยรัฐบาลได้รายงานว่าเมื่อปี 2551 (ค.ศ.2008) คอสตาริกาประสบปัญหาการขาดการควบคุมการใช้น้ำและการทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมจนอาจนำไปสู่การขาดแคลนน้ำได้
ปัจจุบัน คอสตาริกาเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จในการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของน้ำ ซึ่งรัฐบาลได้เร่งดูแลโดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก
ประเทศคอสตาริกามีความมุ่งมั่นและมีพันธสัญญาในการปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยมีเป้าหมายในการบรรลุถึงกิจกรรมชดเชยคาร์บอนซึ่งจะชดเชยกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ
ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายินดีเพราะคอสตาริกาเป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลางที่มีความหลากหลายทางชีวภาพถึง 6% ของพื้นที่บนโลกนี้
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมาริซีโอ เซสเปเดส ผู้อำนวยการบริหารของ INTECO ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศคอสตาริกาได้อธิบายไว้ดังต่อไปนี้
เมื่อปี 2558 (ค.ศ. 2015) คอสตาริกาได้ก้าวมาถึงจุดที่สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ 100 % ในช่วงเวลา 285 วันติดต่อกัน ซึ่งเป็นความสามารถของประเทศอันโดดเด่นที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 1990
ทั้งนี้ สถาบันไฟฟ้าแห่งคอสตาริกาได้เปิดเผยว่าประเทศคอสตาริกามีการใช้พลังงานหมุนเวียนตอบสนองความต้องการของประเทศได้ถึง 300 วันซึ่งทำลายสถิติที่เคยมีมาก่อนหน้านี้
คำถามที่คนทั่วไปสนใจคือ ประเทศเล็กๆ ที่มีพื้นที่เพียง 51,000 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรอาศัยอยู่ 5 ล้านคนสามารถจัดการเรื่องนี้ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ความจริงแล้ว สถานการณ์ทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาทำให้คอสตาริก้าจำเป็นต้องโฟกัสไปที่ทรัพยากรที่มีมากที่สุดซึ่งก็คือ “น้ำ” สำหรับการใช้พลังงานของประเทศมีทั้งพลังน้ำ (75.3 %)พลังงานความร้อน (12.84 %) พลังงานลม (10.08 %) พลังงานชีวภาพ (0.77 %) และพลังงานแสงแดด (0.01 %)
ปัจจุบัน กิจกรรมต่างๆ ได้มีการนำมาจัดรวมกลุ่มเป็นนโยบายเรื่องเดียว และภายใต้กลยุทธ์ของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศคอสตาริกามีพันธสัญญาในการก้าวไปเป็นประเทศแรกที่บรรลุกิจกรรมชดเชยคาร์บอน ซึ่งทำให้ประเทศคอสตาริกามีกลยุทธ์ของประเทศในการที่จะยังคงกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศต่างๆ เดินตาม และในปีที่ประเทศได้ดำเนินการเรื่องนี้เมื่อปี 2491 (ค.ศ.1948) คอสตาริกาได้ยกเลิกกองกำลังทหาร จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 คอสตาริกาได้เป็นประเทศเขตร้อนประเทศแรกที่หันมาให้ความสำคัญกับกระบวนการลดการตัดไม้ทำลายป่า
แล้วกิจกรรมชดเชยคาร์บอนคืออะไร เมื่อมีการทำกิจกรรมชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด เพื่อให้การปล่อยก๊าซจากองค์กรนับได้เท่ากับศูนย์นั่นเอง ในการตระหนักถึงเป้าหมายนี้ ประเทศคอสตาริกามีเป้าหมายในการทดแทนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยปริมาณอ๊อกซิเจนที่เทียบเท่า ดังนั้น เมื่อคอสตาริกามีการทำเพื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว ประเทศจึงสามารถที่จะตอบสนองการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนหรือการทำลายคุณภาพอากาศ การมีพันธสัญญาเช่นนี้จึงทำให้ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจตระหนักถึงความสำคัญ ซึ่งรวมถึงหนึ่งในตัวแทนส่งออกมากที่สุดของประเทศซึ่งก็คือภาคส่วนกาแฟด้วย
นับตั้งแต่ปี 2557 (ค.ศ.2014) เป็นต้นมา “โครงการกาแฟนามา” ได้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกโดยเปลี่ยนแปลงการผลิตกาแฟให้เป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ กาแฟได้รับการคัดเลือกเพราะเป็นหนึ่งในแหล่งที่สำคัญที่สุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร ซึ่งโรงกาแฟบางแห่งได้ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับการดูแลรักษาเมล็ดกาแฟและเปลือกเพื่อควบคุมและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซมีเทน
บางคนในประเทศคอสตาริกา กล่าวว่า แรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อมได้ก้าวไปไกลเกินกว่าดินที่อุดมสมบูรณ์ในประเทศอย่างมากมาย อันที่จริงแล้ว สิทธิที่ทุกคนจะได้รับในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามระบบนิเวศนั้น ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขเมื่อปี 2537 แล้ว (ค.ศ.1994)
ปัจจุบัน เป้าหมายการชดเชยคาร์บอนได้ทำให้เศรษฐกิจทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐภาคเอกชน เอ็นจีโอ หรือภาคการศึกษาก็ตาม
ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้ประเทศคอสตาริกาได้รับการยอมรับว่าสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของน้ำคืออะไร และมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร โปรดติดตามในตอนต่อไปค่ะ
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2391.html
2. https://en.wikipedia.org/wiki/Water_resources_management_in_Costa_Rica
3. https://www.thesolutionsjournal.com/article/governing-costa-ricas-water-resources/
Related posts
Tags: Climate Change, Sustainability Management, water management
Recent Comments