• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,530 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,639 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,856 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,372 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,415 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Occupational health and safety Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — มิถุนายน 7, 2019 8:00 am
อนาคตของยานยนต์พลังงานสะอาด ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 1114 reads
0
  

THE FUTURE  OF CLEAN ENERGY  VEHICLES2อนาคตของยานยนต์พลังงานสะอาด  ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงยานยนต์พลังงานสะอาดที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้  โดยมีตัวอย่างของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้ามอเตอร์ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตเพื่อพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้เช่นเดียวกับรถยนต์แบบดั้งเดิมในราคาที่สมเหตุสมผลและช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้  อย่างไรก็ตาม การที่จะเปลี่ยนแปลงให้คนทั่วไปหันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องง่าย และยังมีเรื่องของมาตรฐานที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยอีกด้วยดังเช่นที่จะกล่าวถึงในบทความตอนที่ 2 ต่อไปนี้

เมื่อพูดถึงคำว่าความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้เราต้องคิดพิจารณาถึงพลังงานที่ “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” หรือสีเขียว กับพลังงาน “สะอาด” ว่ามีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่ ตัวอย่างเช่น พลังงานชีวภาพเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่คงไม่ใช่พลังงานที่สะอาด ยิ่งถ้าเราโฟกัสไปที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว จะพบว่ายังมีมลพิษอื่นๆ ราวสองร้อยชนิดที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
เซลล์พลังงานซึ่งใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง สามารถบรรลุประสิทธิภาพค่าเฉลี่ยของวงจรเชื้อเพลิงโดยรวมได้ดีกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งใช้พลังงานชีวภาพเช่น ไบโอดีเซล อันที่จริงแล้ว ความได้เปรียบที่ดีที่สุดของยานพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจนก็คือจะมีการผลิตแค่น้ำและอากาศออกมาเท่านั้น ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม  แต่ในเมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแต่จะเกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการทางเคมีอย่างอิเล็กโทรลิซิส (กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (D.C.) จากภายนอกเข้าไปในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี) และบ่อยครั้งพลังงานก็ยังคงมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

แล้วมาตรฐานสากลจะช่วยในเรื่องยานยนต์สะอาดได้อย่างไร หากเรามองในภาพรวมแล้ว หากผลิตภัณฑ์ยานยนต์สะอาดที่เหมือนกันสามารถคงระดับสมรรถนะและความเชื่อถือได้เหมือนกันทั่วโลก ก็อาจหมายถึงทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะลดลงด้วยเช่นกัน ในการพัฒนามาตรฐานสากลจึงต้องมีการคำนึงถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วย โดยทั่วไปแล้ว อุปสรรคที่สำคัญของมาตรฐานสากลก็คือเรื่องของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้ผลิต กล่าวคือ เมื่อมียานพาหนะที่ใช้แบตเตอรี่แล้ว ปัจจุบัน บางประเทศก็หันไปใช้รถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจน ตลาดจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมาตรฐานสากลจึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เช่นมาตรฐานสากลที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้

มาตรฐาน ISO 17268, Gaseous hydrogen land vehicle refueling connection devices ครอบคลุมถึงยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนบนบกซึ่งมีการเติมเชื้อเพลิงผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อ  สำหรับตัวเชื่อมที่ใช้เติมพลังงานไฮโดรเจน มีการพัฒนามาตรฐานโดยไอเอสโอสำหรับประเทศที่มีตลาดยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งผู้บริโภคสามารถได้เชื้อเพลิงจากสถานีจ่ายเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในประเทศจีน ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ

ส่วนมาตรฐาน ISO 23828, Fuel cell road vehicles – Energy consumption measurement – Vehicles fuelled with compressed hydrogen เกี่ยวข้องกับยานพาหนะที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงและที่ใช้ในการวัดการใช้พลังงานสำหรับยานพาหนะที่เติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนอัด   การประหยัดเชื้อเพลิงใช้วิธีการวัดแบบนี้ มีการอ้างอิงไปยังกฎระเบียบทางวิชาการสากลที่มีชื่อว่า GTR15 (international Global Technical Regulation) การวัดการประหยัดพลังงานแบบนี้ จะมีการนำไปใช้โดยรัฐบาลในการวัดคุณสมบัติยานพาหนะและผู้ผลิตที่นำวิธีนี้ไปใช้เป็นตัวชี้วัดการปรับปรุงประสิทธิภาพของยานพาหนะ

ISO 20762 Electrically propelled road vehicles — Determination of power for propulsion of hybrid electric vehicle เป็นมาตรฐานที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทดสอบพลังงานสูงสุดของยานพาหนะไฟฟ้าแบบไฮบริด
ส่วน ISO 23274-1 Hybrid-electric road vehicles — Exhaust emissions and fuel consumption measurements — Part 1: Non-externally chargeable vehicles ใช้ในการวัดสารมลพิษในไอเสียและพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งการใช้พลังงานสำหรับยานพาหนะต่างๆ ที่เป็นรถยนต์โดยสารหรือรถบรรทุกเบาตามข้อกำหนด เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว (เช่นแก๊สโซลีนและเชื้อเพลิงดีเซล) เป็นต้น

สำหรับคณะกรรมการวิชาการที่ดูแลมาตรฐานที่ใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจนดังกล่าวคือ คณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 197 โดยมีแอนดรูว์ วี ทูเวอเลฟ ประธานซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในด้านความปลอดภัยของไฮโดรเจน กฎระเบียบ หลักปฏิบัติและมาตรฐาน  มีประสบการณ์ทำงานเป็นเวลา 35 ปีในสาขาไฮโดรเจนและหลังจากย้ายจากบ้านเกิดในประเทศรัสเซียไปยังประเทศแคนาดาแล้ว ก็ได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการความปลอดภัยด้านไฮโดรเจนในประเทศแคนาดาเมื่อปี 2546 (ค.ศ.2003) คณะกรรมการวิชาการไอเอสโอดังกล่าวไม่ได้จัดการในเรื่องรถยนต์โดยตรงแต่ได้พัฒนามาตรฐานในกลุ่มของเชื้อเพลิง ดังนั้น อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสถานีจ่ายเชื้อเพลิงและรถยนต์ที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง จะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการวิชาการนี้

มีหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ European Union’s Alternative Fuels Infrastructure Directive (AFID) และชุดมาตรฐานซึ่งไฮโดรเจนเป็นหนึ่งในทางเลือกโครงสร้างพื้นฐานของเชื้อเพลิงทางเลือก งานจำนวนมากที่ต้องจัดเตรียมภายใต้การดูแลของ AFID มีการปฏิบัติโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 197 คณะกรรมการนี้ยังเข้าร่วมในงานเฟส 2 ด้านกฎระเบียบทางวิชาการ GTR 13 สำหรับไฮโดรเจนและยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิงด้วย ซึ่งทำให้มั่นใจว่ามาตรฐานสากลที่คณะกรรมการวิชาการพัฒนานั้นเป็นไปอย่างสอดคล้องกับข้อกำหนดกฎระเบียบทางวิชาการในระดับสากล  และถึงแม้ว่าจะมีความซับซ้อน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากก็ยังคงทำงานเพื่อพัฒนาข้อกำหนดและนำไปใช้งานร่วมกันต่อไป

ปัจจุบันเทคโลยีก้าวไปข้างหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราจะพัฒนามาตรฐานในช่วงเวลาไหนจึงจะเหมาะสมยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและสมรรถนะของผลิตภัณฑ์  และไม่ใช่แค่มาตรฐานสำหรับรถยนต์พลังงานสะอาดเท่านั้น แต่ยังต้องนึกถึงยานพาหนะสะอาดอื่นๆ ด้วย เช่น รถไฟ รถบัส รถบรรทุกและยานพาหนะบรรทุกสิ่งของอื่นๆ อย่างพาหนะทางน้ำ และเครื่องบิน เป็นต้น

ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนามาตรฐานให้รองรับอย่างครอบคลุมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการทางน้ำและความร้อนหรือสมดุลขนาดที่ต้องเพิ่มขึ้นสำหรับพื้นที่ที่ต้องการความเย็น เป็นต้น และเทคโนโลยีไฮบริดที่ใช้
แบตเตอร์รีและเซลล์เชื้อเพลิงร่วมกันก็ต้องมีสิ่งดึงดูดใจมากพอที่จะทำให้ผู้ใช้หันมาใช้งาน นอกจากนี้ ข้อกำหนดของผู้ผลิตสำหรับมาตรฐานที่จะเน้นในประเด็นปัญหาต่างๆ ก็ต้องมีความทันสมัยอย่างสัมพันธ์กัน และจำเป็นจะต้องมีการพัฒนามาตรฐานสากลเพื่อค้นหาแนวทางของยานยนต์พลังงานสะอาดที่จะก้าวไปสู่ความมั่นคงในอนาคตต่อไป

ที่มา:
1. 
https://www.iso.org/news/ref2392.html
2. http://www.thaiautopress.com/โตโยต้า-มิไร-รถยนต์พลั/



Related posts

  • การสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนการสร้างเศรษฐกิจคาร์บอน
  • “ไต้หวัน” ประเทศเล็กๆ ที่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ในการลดคาร์บอน“ไต้หวัน” ประเทศเล็กๆ ที่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ในการลดคาร์บอน
  • ท่องเที่ยวสุขใจด้วยมาตรฐานสากลท่องเที่ยวสุขใจด้วยมาตรฐานสากล
  • ปรับปรุงใหม่แล้ว ISO/IEC 27000: 2018ปรับปรุงใหม่แล้ว ISO/IEC 27000: 2018
  • ไอเอสโอพัฒนาข้อกำหนดทางวิชาการวิธีวินิจฉัยโคโรนาไวรัสไอเอสโอพัฒนาข้อกำหนดทางวิชาการวิธีวินิจฉัยโคโรนาไวรัส

Tags: Energy, Environment, Environmental Management, Standardization

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑