เมืองในฝันของคนเมืองส่วนใหญ่และนักบริหารเมือง คือเมืองอัจฉริยะที่เรารู้จักกันในชื่อว่า Smart City หรือ Smarter City แล้วทำไมโลกอนาคตจึงเลือกที่จะก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
ปัจจุบัน คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2493 (ค.ศ.1950) จากจำนวนคนทั่วโลก 751 ล้านคน เพิ่มเป็น 4.2 พันล้านคนในปี 2561 (ค.ศ.2018) และข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้ว ยังคาดการณ์ไว้ว่าจะพลเมืองโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 พันล้านคนภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ด้วย
เมื่อประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดก็อาจไม่เพียงพอ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเมืองการที่ยั่งยืน เพื่อให้เมืองสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ไอเอสโอตระหนักดีว่าหากเราจะปรับปรุงสิ่งใด สิ่งนั้นต้องสามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้เอง ไอเอสโอจึงได้พัฒนาชุดมาตรฐานสำหรับเมืองอัจฉริยะขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว
มาตรฐานสากล ISO 37100 เป็นมาตรฐานที่ช่วยให้ชุมชนสามารถนำกลยุทธ์ไปใช้และทำให้มีความยืดหยุ่นและมีความยั่งยืนมากขึ้น
สำหรับชุดมาตรฐานใหม่ล่าสุดคือ ISO 37122: 2019, Sustainable cities and communities – Indicators for smart cities เป็นมาตรฐานที่ทำให้เมืองมีชุดของตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดสมรรถนะในหลายๆ เรื่อง ทำให้เมืองสามารถนำเอาบทเรียนจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมาเปรียบเทียบกันเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่โดยใช้นวัตกรรม
สำหรับมาตรฐาน ISO 37122 เป็นมาตรฐานที่ใช้เสริมกับมาตรฐาน 37120, Sustainable cities and communities – Indicators for city services and quality of life ซึ่งเน้นการวัดหลักๆ สำหรับการประเมินการส่งมอบบริการของเมืองและคุณภาพชีวิต โดยมีการกำหนดชุดตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้แนวทางที่เป็นรูปแบบเดียวกันในที่สิ่งที่จะวัดรวมทั้งวิธีการวัดซึ่งจะทำให้สามารถเปรียบเทียบระหว่างเมืองและประเทศได้ด้วย
นอกจากนี้ มาตรฐานยังให้แนวทางวิธีการประเมินสมรรถนะของเมืองซึ่งมีส่วนร่วมในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นโรดแม็ปสู่ความยั่งยืนของโลก
เบอร์นาร์ด กรินดรอส ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 268, Sustainable cities and communities ซึ่งพัฒนามาตรฐาน ISO 37122 กล่าวว่ามาตรฐานนี้ระบุตัวชี้วัดและวิธีการรวมทั้งการปฏิบัติที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและสร้างความแตกต่างได้อย่างมีนัยสำคัญให้กับเมืองทั้งในแง่สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และเมื่อนำมาตรฐานนี้ไปใช้ร่วมกับมาตรฐาน ISO 37101 จะทำให้สามารถกำหนดระบบการจัดการเพื่อพัฒนาให้เมืองมีความยั่งยืนได้ ส่วนมาตรฐานISO 37120 จะช่วยให้เมืองสามารถนำโครงการเมืองอัจฉริยะและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปใช้ได้เป็นอย่างดี เช่น ในประเด็นที่ตอบสนองต่อความท้าทายของเมืองเช่น การเติบโตของประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคม
มาตรฐานช่วยให้มีวิธีการของผู้นำที่มีประสิทธิผล มีเทคโนโลยีและวิธีปฏิบัติที่ทันสมัยล่าสุดซึ่งช่วยให้เมืองสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพลเมือง สามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมนวัตกรรมและการเติบโตของเมือง
ISO 37122 จะมีการนำไปใช้เสริมกับมาตรฐาน ISO 37123, Sustainable cities and communities – Indicators for resilient cities ซึ่งกำหนดจะตีพิมพ์เผยแพร่ภายในปีนี้ และคณะกรรมการวิชาการที่พัฒนามาตรฐานนี้คือ คณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 268, Sustainable cities and communities โดยมีเลขานุการคือ AFNOR สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
สำหรับผู้สนใจการประชุมเมืองอัจฉริยะ 2019 ติดตามได้ในเว็บไซต์ของงานประชุมเมืองอัจฉริยะระดับโลก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 12 สิงหาคม 2562 ที่เมืองจางเจียเจี้ย ประเทศจีน
ที่มา 1. https://www.iso.org/news/ref2395.html
2. http://csee.hnu.edu.cn/smartcity2019/
Related posts
Tags: Climate Change, Standardization, Sustainability Management
Recent Comments