เมื่อกล่าวถึงการเลือกตั้งทั่วโลก ในปีนี้ มีหลายประเทศที่จัดการเลือกตั้ง เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินเดีย เป็นต้น และเนื่องจากไอเอสโอมีมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่ใช้กับบริษัทหรือองค์กรทั่วไปซึ่งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยให้ระบบการเลือกตั้งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐาน ISO/TS 54001, Quality management systems – Particular requirements for the application of ISO 9001:2015 for electoral organizations ขึ้นซึ่งมีส่วนช่วยในการส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติด้วย
มาตรฐานดังกล่าวเป็นกรอบการทำงานสำหรับระบบการจัดการคุณภาพที่ช่วยให้หน่วยเลือกตั้งมีบริการเลือกตั้งที่โปร่งใสและเชื่อถือได้ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐาน ISO 9001, Quality management systems โดยมีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับการเลือกตั้งด้วย และเพิ่งมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อสะท้อนถึงมาตรฐาน ISO 9001 ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานหรือตลาดได้มากขึ้น
เคที อัลทอฟต์ ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่รับผิดชอบในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าวระบุว่ามาตรฐานนี้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการเลือกตั้งเนื่องจากจะช่วยให้สร้างความมั่นใจในการเลือกตั้งว่ามีความโปร่งใส มีการวางแผนและการจัดการที่มีประสิทธิผล รวมทั้งมีประสิทธิภาพในกระบวนการเลือกตั้ง
หน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยจะมีกรอบการทำงานด้านกฎหมายเป็นของตัวเองซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ดังนั้น มาตรฐานนี้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้ามาใช้แทนที่กฎหมายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ด้วยการเน้นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากลเมื่อพูดถึงเรื่องการจัดการคุณภาพของการเลือกตั้งและองค์กรเลือกตั้ง จึงทำให้มาตรฐานนี้สามารถทำให้องค์กรต่างๆ สามารถปรับปรุงกระบวนการให้พลเมืองมีความมั่นใจ ลดความเสี่ยงและปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในองค์กรหลักเบื้องหลังข้อเสนอสำหรับข้อกำหนดทางวิชาการ TS คือ Organization of American States (OAS) ซึ่งวัตถุประสงค์คือรวมทั้งส่งเสริมความสงบและประชาธิปไตย
มาเรีย เมลเลนแคมป์ ผู้ประสานของกลุ่มงานที่พัฒนาเอกสารและผู้แทนของ OAS ได้กล่าวเสริมว่า ISO/TS 54001 เป็นเครื่องมือที่ดีมากสำหรับช่วยเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่จัดการด้านการเมืองให้วางแผนกระบวนการเลือกตั้งอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้มั่นใจในหลักฐานในผลลัพธ์ซึ่งครอบคลุมทุกแง่มุมของการเลือกตั้ง เช่น การลงทะเบียนผู้สมัคร และผู้ออกเสียง การออกเสียงและการนับคะแนน การประกาศผลและการแก้ไขข้อโต้แย้งการเลือกตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้ หน่วยงานที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งก็มีกฎระเบียบที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีและระบบของแต่ละแห่ง ส่วนกระบวนการที่หน่วยงานดำเนินการนั้นก็มีองค์ประกอบที่จำเป็นในการกำหนดสิทธิ์ของผู้ออกเสียง การลงทะเบียนขององค์กรการเมืองและผู้สมัคร ระบบการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การนับคะแนน บันทึกการลงคะแนนเสียงที่แม่นยำ และการประกาศผล รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ดังนั้น หน่วยงานที่จัดการเลือกตั้งจึงมีความรับผิดชอบในการบริหารกระบวนการเลือกตั้งให้เป็นไปตามขั้นตอนอย่างโปร่งใส ซึ่งสามารถนำมาตรฐานISO/TS 54001:2019 ไปใช้เป็นแนวทางการในการดำเนินการเพื่อความมีประสิทธิผล
มาตรฐานดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC176, Quality management and quality assurance ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2400.html
2. https://www.iso.org/obp/ui/#iso:std:iso:ts:54001:ed-1:v1:en
Recent Comments