เมื่อปี 2553 (ค.ศ.2010) องค์การสหประชาชาติได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าการเข้าถึงน้ำสะอาดและการสุขาภิบาลที่สะอาดเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และเพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องนี้ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในข้อ 6 (Clean water and sanitation) จึงระบุว่าทุกคนควรมีการเข้าถึงการสุขาภิบาลที่ปลอดภัยภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) และจะต้องกำจัดห้องสุขาแบบเปิดโล่งให้หมดไปซึ่งปัจจุบัน มีประชากรบางส่วนของโลกยังต้องทนใช้อยู่
องค์การสหประชาชาติได้จัดทำโครงการเพื่อติดตามเรื่องการใช้น้ำและการสุขาภิบาลเพื่อเป็นกลไกในการทำหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในข้อที่ 6 ซึ่งพบว่าประชากรราว 2.3 พันล้านคนยังไม่มีการสุขาภิบาลที่ดี และมีของเสียมนุษย์มากกว่า 20 ล้านตันถูกปล่อยออกไปโดยไม่มีการบำบัดในแต่ละปี
บางประเทศในโลกนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะสิ้นสุดลงที่ทะเลสาบ แม่น้ำ และมหาสมุทร ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคน สัตว์ และพืช
ซัน คิม เจ้าหน้าที่โครงการของมูลนิธิบิลล์และเมลินดาและประธานโครงการ ISO/PC 318 ซึ่งดูแลรับผิดชอบมาตรฐานระบบการสุขาภิบาลในระดับชุมชน เปิดเผยว่า 60% ของมนุษยชาติยังไม่มีการเข้าถึงการสุขาภิบาลที่มีการจัดการอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ น้ำสะอาดและการสุขาภิบาลยังมีการเชื่อมต่อแบบปิดเนื่องจากน้ำเสียที่ควบคุมไม่ได้ มีการปนเปื้อนไปกับแหล่งน้ำและทำให้เกิดผลเสียตามมา ถ้าเราไม่มีการสุขาภิบาลที่ปลอดภัย น้ำสะอาดก็จะมีการปนเปื้อนไปด้วย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่าน้ำที่ไม่สะอาดและการสุขาภิบาลที่ไม่ดีเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้เด็กทั่วโลกต้องเสียชีวิตลง แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี
คำตอบคือ การสร้างระบบบำบัดของเสียและการสุขาภิบาลแบบแยกส่วนที่สามารถจัดการกับของเสียได้อย่างปลอดภัยเป็นทางออกที่ดี แต่ข้อเสียคือต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากและใช้เวลานานซึ่งไม่ง่ายเลยสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น หากเราสามารถสร้างระบบที่ไม่ต้องเชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้งได้ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ซึ่งเรื่องนี้ ซัน คิม กล่าวว่า ไอเอสโอและมูลนิธิบิลล์และเมลินดาได้ริเริ่มดำเนินงานแล้วและผ่านการดำเนินงานของคณะดำเนินงานโครงการ ISO/PC 318 โดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเซเนกัล
ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิเกตส์และเมลินดา ไอเอสโอจึงได้เริ่มพัฒนาข้อตกลงเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศ หรือ IWAs (International Workshop Agreements) ซึ่งมูลนิธิเกตส์มีการส่งเสริมและให้การสนับสนุนการวิจัยและค่าใช้จ่ายในบางเรื่อง เช่น การศึกษา เกษตรกรรม สุขภาพและการสุขาภิบาลในระดับโลกสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในขณะที่ไอเอสโอสามารถช่วยให้เข้าถึงข้อกำหนดตามเป้าหมายสำหรับตลาดในเวลาน้อยกว่าหนึ่งปีซึ่งใช้กระบวนการแบบเร่งด่วนที่เสนอโดย IWA
แม้ว่า IWA บ่อยครั้ง จะเกี่ยวข้องกับมาตรฐานไอเอสโอที่พร้อมใช้งาน มาตรฐานก็ยังให้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จำเป็นอยู่ สำหรับ IWA 24 ซึ่งระบุข้อกำหนดเชิงสมรรถนะและความปลอดภัยทั่วไปเพื่อการออกแบบและทดสอบระบบการจัดการสุขาภิบาลที่ไม่มีการเชื่อมต่อ ซึ่งรองรับเป็นพื้นฐานสำหรับมาตรฐาน ISO 30500 อันเป็นมาตรฐานสากลสำหรับห้องน้ำขนาดเล็กที่มีความปลอดภัยและดูแลรักษาได้ด้วยตัวเองและมีการบำบัดของเสียครบถ้วน
ISO/PC 318 ได้พัฒนา IWA 28 สำหรับระบบชุมชนขนาดเล็กที่สามารถบำบัดของเสียจากคนนับพันที่ใช้ห้องน้ำแบบสแตนด์อโลนที่มีหน้าที่แยกส่วน ปัจจุบัน ISO/PC 318 อยู่ในกระบวนการที่จะนำไปเป็นมาตรฐานสากลในอนาคต คือ ISO 31800 ส่วน IWA 28 มีการระบุข้อกำหนดสำหรับการออกแบบ สมรรถนะ การทดสอบ การรับรองและปฏิบัติการของหน่วยพลังงานที่เพียงพอด้วยตัวเอง มีอิสระและดูแลรักษาได้ด้วยตัวเองซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของหน่วยบำบัดของเสียมนุษย์ (Faecal Sludge Treatment Units: FSTUs)
มาตรฐาน ISO 31800 เป็นมาตรฐานที่ไม่เหมือนมาตรฐานอื่นในแง่ที่ว่ามีเทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกันและไม่ได้มีเทคโนโลยีเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง จะมีอะไรบ้างนั้น โปรดติดตามได้ในครั้งต่อไปค่ะ
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2389.html
2. https://www.iso.org/sdg06.html
Related posts
Tags: Environment Management, Standardization, Sustainability Management
ความเห็นล่าสุด