• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,417 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,256 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,770 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,200 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,171 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Occupational health and safety Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | Sustainability Management | Environmental Management | — กรกฎาคม 1, 2019 8:00 am
มาตรฐานห้องน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 1108 reads
0
  

ISO 31800 and Modern Toilets 2บทความเรื่อง มาตรฐานห้องน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงมาตรฐาน ISO 31800 ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยคณะกรรมการโครงการ ISO/PC 318 (ดูแลมาตรฐานระบบการสุขาภิบาลในระดับชุมชน) จากข้อตกลงเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศ หรือ IWAs (International Workshop Agreements) ซึ่งมูลนิธิเกตส์และเมลิดาได้ให้การสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำและการสุขาภิบาลอย่างปลอดภัย และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในข้อ 6 (Clean water and sanitation) ขององค์การสหประชาชาติ  สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะได้กล่าวถึงความเป็นมาและสาระสำคัญของมาตรฐาน ISO 31800 ดังต่อไปนี้

ซัน คิม เจ้าหน้าที่โครงการของมูลนิธิบิลล์และเมลินดาและประธานโครงการ ISO/PC 318 ซึ่งดูแลรับผิดชอบมาตรฐานระบบการสุขาภิบาลในระดับชุมชน ได้เล่าถึงความเป็นมาของการพัฒนามาตรฐาน ISO 31800 ว่าหลังจากที่มีการพัฒนาแนวคิด  FSTUs (Faecal Sludge Treatment Units: FSTUs)ไปใช้  มูลนิธิเกตส์ได้เข้าไปหานักวิจัยและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ โดยได้ทำงานกับ TÜV SÜD เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับ FSTUs ซึ่งได้เสนอไปเป็นเอกสารพื้นฐานสำหรับมาตรฐาน ISO 31800, Faecal sludge treatment units – Enerygy independent, prefabricated, community-scale, resource recovery units – Safety and performance requirements

สำหรับ TÜV SÜD เป็นองค์กรเทคโนโลยีและวิศวกรรมของประเทศเยอรมันซึ่งเชี่ยวชาญด้านการทดสอบสมรรถนะเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี การทวนสอบและการรับรอง

ส่วน ISO/PC 318 ทำการพัฒนา IWA 28 ในเรื่องเกี่ยวกับประชากรที่มีขนาดใหญ่ เช่น ในเมืองที่ใหญ่ขึ้น พื้นที่ในเมืองหลายแห่งในประเทศที่กำลังพัฒนามีระบบพื้นฐานในการรวบรวมและการขนส่งวัตถุของเสียมนุษย์แต่ขาดวิธีการบำบัด และนำไปทิ้งลงในแหล่งน้ำหรือดินตามธรรมชาติ   IWA 28 จึงอธิบายกระบวนการ ขั้นตอน ข้อกำหนดและคู่มือขั้นตอนการทดสอบซึ่งเน้นอุปกรณ์ที่สามารถจัดการกับของเสียมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

IWA 28 เป็นกรอบการทำงานที่ใช้ประกอบกับเศรษฐกิจหมุนเวียนและทำให้เกิดความปลอดภัยและความยั่งยืน ดังนั้น IWA 28 จึงระบุข้อกำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าวิธีการที่มีอยู่จะทำให้ให้ผลลัพธ์ที่ดี มีการดูแลรักษาและมีกระบวนการใน FSTU ข้อกำหนดขั้นต่ำรวมถึงความต้องการในการใช้วัตถุของเสียมนุษย์เป็นเชื้อเพลิงและเพื่อการฟื้นฟูพลังงาน พร้อมด้วยการควบคุมและข้อจำกัดในเรื่องการปล่อยกลิ่น เสียง และของเสีย รวมทั้งมีข้อกำหนดสำหรับกระบวนการผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายด้วย เช่น เมื่อของเสียมนุษย์ที่มีการบำบัดแล้วถูกแปลงไปเป็นวัตถุที่ชาวนาใช้คือปุ๋ย

ISO 31800 เป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีใครที่รู้จริงได้ทั้งหมดเพราะไม่ใช่เทคโนโลยีเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง แต่ประกอบด้วยเทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเผาไหม้ของเสีย การย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือในรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นชีวภาพหรือระบบความร้อน เป็นต้น  คิมกล่าวว่ามีหุ้นส่วนนักวิจัยที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ปฏิกิริยา SCWO (Supercritical Water Oxidation) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในน้ำที่อุณหภูมิและความดันเหนือจุดวิกฤต ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมสำหรับการออกแบบ FSTU ที่ใช้ของเสียมนุษย์เป็นเชื้อเพลิงในการฆ่าเชื้อโรคที่ให้คุณค่าในทางพลังงาน

ในคณะทำงาน ISO/PC 318 มีผู้แทนจากบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ชื่อ เซดรอน เป็นคณะทำงานที่เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์และได้พัฒนาต้นแบบแรกของ FSTU ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับ IWA 28 โดยเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นมามีชื่อเรียกว่า  Omni Processor ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กากตะกอนของเสียมาเป็นเชื้อเพลิงโดยทำให้แห้งแล้วผ่านกระบวนการ FSTU  ซึ่งเทคโนโลยีที่ไม่เหมือนใครนี้ทำได้รวดเร็วมากและเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมกระบวนการของเสีย และมีโรงงานนำร่องที่ได้ติดตั้งแล้วในเมืองดักการ์ เซเนกัล เมื่อปี 2558 (ค.ศ.2015)  และประสบความสำเร็จตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

คิมอธิบายว่า IWA 28 ระบุข้อกำหนดที่เข้มงวดมากสำหรับกระบวนการควบคุม ความสามารถในการทำหน้าที่ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการรับรอง แล้วอะไรคือหลักการสำหรับเรื่องนี้  แนวคิดก็คือการทำให้เกิดสมดุลระหว่างข้อกำหนดทางวิชาการเพื่อให้ได้รับการยอมรับในประเทศต่างๆ และสนับสนุนลูกค้าท้องถิ่นด้วย เช่น สาธารณูปโภค รัฐบาล  และธุรกิจ เป็นต้น

สำหรับมาตรฐาน ISO 31800 จะช่วยให้มั่นใจว่าสมรรถนะของ FSTUs จะมีการดูแลรักษาในระยะยาว  ในขณะที่มาตรฐานมีการเขียนเพื่อประเมินครั้งแรกสำหรับ FSTUs ที่ทำการผลิต   องค์ประกอบของข้อกำหนดสมรรถนะอาจมีการนำไปใช้เพื่อติดตามสมรรถนะของระบบระยะยาวด้วย

จะว่าไปแล้ว แนวคิด FSTU เป็นแนวคิดที่มีแต่ได้กับได้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการจัดเตรียมด้านสุขาภิบาลในพื้นที่ที่ขาดการเชื่อมต่อกับโรงบำบัดของเสีย หรือประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำจัดมลพิษทางน้ำที่เกิดจากของเสียมนุษย์ที่ไม่มีการบำบัดซึ่ง FSTUs จะช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย  ทั้งนี้ เนื่องจากการหมักหมมของเสียที่ไม่มีการบำบัดจะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนออกมาและเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลเสียต่อโลกมนุษย์ของเราถึง 30 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

คิมเชื่อว่า FSTU เป็นสิ่งที่ดีแต่การแก้ไขปัญหาเช่นนี้จะต้องทำในแบบที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและผู้ผลิตและผู้ใช้งานจะไม่ต้องประสบกับปัญหา ดังนั้น ISO 31800 จึงจัดเตรียมพื้นฐานสำหรับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจด้วยการจัดเตรียมกรอบการทำงานสำหรับการทดสอบและการรับรองนอกเหนือจากข้อกำหนดเพื่อความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และในเชิงเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจกับผู้ซื้อ ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน FSTU

ตอนนี้ โลกได้ก้าวสู่ยุคใหม่ เรามีห้องน้ำสำหรับคนยุคใหม่ เรามีมาตรฐานห้องน้ำที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมการใช้งาน การเก็บรักษา การขนส่งและการบำบัด กล่าวคือ นอกจากเราจะมีมาตรฐาน ISO 31800 แล้ว เรายังมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับน้ำดื่มและบริการน้ำเสียอย่าง ISO 24518: 2015, Activities relating to drinking water and wastewater services – Crisis management of water utilities และ ISO 24521: 2016, Activities relating to drinking water and wastewater services – Guidelines for the management of basic on-site domestic wastewater services

ท้ายที่สุดแล้ว มาตรฐานเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสถานการณ์การขาดแคลนทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำและด้านการสุขาภิบาลที่ดี และมีส่วนสำคัญในการทำให้โลกของเราบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเรื่องของน้ำสะอาดและการสุขาภิบาลต่อไป

ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2389.html
         2. https://www.iso.org/sdg06.html



Related posts

  • 5 สิ่งที่ทำให้คนเดนมาร์กมีความสุขมากกว่าคนอเมริกัน ตอนที่ 25 สิ่งที่ทำให้คนเดนมาร์กมีความสุขมากกว่าคนอเมริกัน ตอนที่ 2
  • มาตรฐานระหว่างประเทศกับความปลอดภัยของการบินพลเรือน ตอนที่ 1มาตรฐานระหว่างประเทศกับความปลอดภัยของการบินพลเรือน ตอนที่ 1
  • มาตรฐาน “น้ำ” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีมาตรฐาน “น้ำ” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
  • มาตรฐานของเด็กเล่นเพื่อความปลอดภัยมาตรฐานของเด็กเล่นเพื่อความปลอดภัย
  • มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโลกอนาคตมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโลกอนาคต

Tags: Environment Management, Standardization, Sustainability Management

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑