• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,530 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,639 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,856 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,372 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,415 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Occupational health and safety Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Strategic Management | Management Strategy | — กรกฎาคม 17, 2019 8:00 am
เตรียมตอบโจทย์ทักษะแรงงานในอนาคตได้อย่างไร
Posted by Phunphen Waicharern with 1022 reads
0
  

CHANGING WORLD CHANGES FUTURE  WORK SKILLSประชากรทั่วโลกกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย  ประชากรวัยทำงานจึงมีแนวโน้มลดลงในขณะที่สังคมพึ่งพาเทคโนโลยีก็กำลังนำไปสู่การจ้างงานที่ใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น เกี่ยวกับเรื่องนี้  สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ได้มีรายงานว่าทักษะในการทำงานจะเป็นตลาดแรงงานใหม่สำหรับคนวัยทำงาน ไม่ใช่ตำแหน่งงานอีกต่อไป แล้วทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 จะเป็นอย่างไร

สำหรับประเด็นที่ว่าทักษะในการทำงานจะมีความสำคัญมากกว่าตำแหน่งงานนั้น   พบว่าข้อมูลของ LinkedIn มีความสามารถในการมองไปยังอนาคตถึงการนำแนวทางด้านทักษะไปวิเคราะห์ตลาดแรงงาน เรื่องของ “ทักษะ” เป็นกระแสใหม่ของตลาดแรงงาน ทักษะสามารถระบุความต้องการทั้งในด้านผู้ที่กำลังหางานและผู้ที่กำลังจะจ้างแรงงาน ไม่ใช่ตำแหน่งที่เป็นอาชีพงานอีกต่อไป การมีทักษะหมายความว่าจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญและมักจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บ่อยครั้ง พบว่าภายในระยะเวลาไม่นานนัก ตำแหน่งงานที่ต้องการกลับกลายเป็นตำแหน่งที่ล้าสมัย ดังนั้น องค์กรจึงต้องก้าวตามการเปลี่ยนแปลงในทิศทางของทักษะงานให้ทันเหตุการณ์ เนื่องจากเกิดความผันผวนของสถานการณ์ต่างๆ อย่างรวดเร็ว และการใช้ทักษะงานในการวิเคราะห์ตัวแปรจะทำให้มีเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถเตรียมการสำหรับอนาคตได้

Linkedin ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า จีโนมทักษะ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเข้าใจแนวโน้มตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นการนำเสนอแบบดิจิทัลโดยใช้ข้อมูลที่สร้างจากสมาชิกทั่วโลกจำนวน 630 ล้านคนซึ่งมีทักษะมากกว่า 350,000 ประเภท เครื่องมือนี้ทำให้สามารถระบุและวิเคราะห์ทักษะที่ไม่เหมือนใครในตลาดแรงงาน

Linkedin สามารถใช้เครื่องมือนี้ระบุทักษะที่แพร่หลายมากกว่าในด้านหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกด้านหนึ่งรวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ อุตสาหกรรม ประเภทของงาน หรือลักษณะทางประชากรศาสตร์ เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน มีการสำรวจความเคลื่อนไหวในทักษะด้านดิจิทัลในมณฑลที่เปิดกว้างและมีลักษณะทางเศรษฐกิจในเชิงรุก ได้แก่ บริเวณพื้นที่อ่าวกวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า (เกรทเตอร์เบย์แอเรีย)  และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี พบว่าบริเวณดังกล่าวมีทักษะแรงงานที่ใช้ระบบดิจิทัลเป็นจำนวนมากและเสิ่นเจ้นเป็นฮับของบุคลากรที่มีความสามารถในระบบดิจิทัลในบริเวณเกรทเตอร์เบย์แอเรีย

นอกจากนี้ ยังพบว่าบุคลากรที่มีความสามารถในมณฑลดังกล่าวส่วนใหญ่มีความรู้ในสาขาหลักด้านการเงินและทางเทคนิควิชาการ และมีทักษะทั่วไปเช่น การบริหารโครงการและความเป็นผู้นำ และมีระดับทักษะด้านดิจิทัลในองค์รวมในระดับต่ำ แต่ถ้าพูดถึงทักษะด้านสังคม (Soft skill) โดยไม่มีทักษะระดับสูงหรือด้านดิจิทัล เช่น ด้านการจัดการ ความเป็นผู้นำและการเจราต่อรอง พบว่ามีสูงกว่าในภูมิภาคดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังพบว่าเมืองเซี่ยงไฮ้มีบทบาทสำคัญในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในระดับต้นด้วยทักษะที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนภูมิภาคอื่นๆ และยังพบด้วยว่าตำแหน่งงานที่กำลังโตเร็วที่สุดในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาก็คือตำแหน่งด้านการบริหารระดับอาวุโสและระดับกลางซึ่งครอบคลุมบริการลูกค้า การตลาด การเงิน ผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติการและหน้าที่อื่นๆ

ทักษะที่ถูกมองว่ามีการเพิ่มขึ้นสูงสุดอาจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ กลุ่มแรก ทักษะด้านหน้าที่การงาน เช่น การตลาดและบริการลูกค้า กลุ่มที่สอง ทักษะทางสังคม เช่น ความเป็นผู้นำ กลุ่มที่สาม ทักษะด้านดิจิทัล เช่น โซเชียลมีเดีย และกลุ่มสุดท้าย ทักษะที่ช่วยเพิ่มมูลค่า เช่น ภาษาอังกฤษ กลุ่มของทักษะบ่งชี้ว่าภูมิภาคสามเหลี่ยมแม่น้ำแยงซีกำลังเปิดรับโลกได้กว้างขึ้น และทำให้มีการเชื่อมต่อไปยังโอกาสด้านดิจทัลมากขึ้น

ข้อมูลจาก LinkedIn ดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อมูลเอกสารของ WEF ที่ระบุว่าทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

ประการแรกความสามารถในความรู้ขั้นพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในชีวิตและหน้าที่การงานในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ การอ่านออกเขียนได้ ความรู้ด้านการคำนวณ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และความรู้ด้านวัฒนธรรมและพลเมือง

ประการที่สอง ความรู้ความสามารถที่ตอบโจทย์ความท้าทายที่ซับซ้อนมากขึ้นในโลกปัจจุบันซึ่งได้แก่ การคิดเชิงวิเคราะห์หรือการแก้ไขปัญหา  ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร และความร่วมมือหรือการทำงานเป็นทีม

ประการที่สาม คุณลักษณะที่จะช่วยให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความคิดริเริ่ม ความเพียรหรือความกล้าหาญ ความสามารถในการปรับตัว ความเป็นผู้นำ ความตระหนักด้านสังคมและวัฒนธรรม

จะเห็นได้ว่ามีความรู้ความสามารถบางอย่างที่เทคโนโลยีอย่างเอไอและหุ่นยนต์ไม่สามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้ เช่น ทักษะด้านการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการปรับตัว และความร่วมมือหรือการทำงานเป็นทีม เป็นต้น ดังนั้น ในสถานการณ์ที่ประชากรโลกกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยและสังคมต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่นำไปสู่การจ้างงานที่ใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรธุรกิจต่างๆ งานสรรหาทรัพยากรบุคคล  สถานศึกษา รวมถึงผู้ให้บริการฝึกอบรม จึงจำเป็นต้องพิจารณาและเตรียมปิดช่องว่างเรื่องของทักษะที่จำเป็นดังกล่าวทั้งในระบบการศึกษาตามปกติ การฝึกอบรมเพิ่มเติม และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถตอบสนองแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตได้ต่อไป

ที่มา: 1. https://www.weforum.org/agenda/2019/07/skills-not-job-titles-are-the-new-metric-for-the-labour-market/

2. https://widgets.weforum.org/nve-2015/chapter1.html

3. https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2018/08/06/7-job-skills-of-the-future-that-ais-and-robots-cant-do-better-than-humans/#22e224266c2e



Related posts

  • 10 งานที่คุณอาจทำได้ในปี 2573 ตอนที่ 110 งานที่คุณอาจทำได้ในปี 2573 ตอนที่ 1
  • 4 แนวโน้มการตลาดที่น่าติดตามในปี 20154 แนวโน้มการตลาดที่น่าติดตามในปี 2015
  • 5 สไตล์โค้ชระดับโลก นำทีมสู่ความสำเร็จ5 สไตล์โค้ชระดับโลก นำทีมสู่ความสำเร็จ
  • นักวิจัยพบ “แสง” ส่งผลต่อไวรัสเวสต์ไนล์นักวิจัยพบ “แสง” ส่งผลต่อไวรัสเวสต์ไนล์
  • ส่องแนวคิดการบริหารจัดการของกีฬาชื่อดังส่องแนวคิดการบริหารจัดการของกีฬาชื่อดัง

Tags: Future watch, Management Strategy, Social, Strategic Management

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑