ประเทศไทยได้รับการพัฒนาและส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อยุทธศาสตร์การพัฒนาไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ 10 ปี (พ.ศ. 2559-2568) และมุ่งสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical & Wellness) และเมื่อเดือนเมษายน 2561 มีรายงานข่าวว่าโรงพยาบาลสมิติเวชได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 5 สถานพยาบาลที่ดีที่สุดระดับโลกจากการประกาศผลการจัดอันดับ 10 โรงพยาบาลยอดเยี่ยมระดับโลกสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ปี 2018 โดย The Medical Travel Quality Alliance (MTQUA) ในงานมหกรรมท่องเที่ยวนานาชาติ (ไอทีบี) 2018 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
จะเห็นได้ว่าคุณภาพของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความปลอดภัยของผู้เข้ารับการบริการ ลองมาติดตามดูกันว่าทำไมผู้คนจากทั่วโลกจึงชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ แล้วมาตรฐานสากลอะไรจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ รวมทั้งสถานพยาบาลจะมีแนวทางพัฒนาคุณภาพไปสู่มาตรฐานสากลได้อย่างไร
วารสารไอเอสโอโฟกัส เดือนกรกฎาคม 2562 ได้เล่าเรื่องราวและประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษคนหนึ่งซึ่งชอบเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกในฐานะนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยเขาได้ท่องเที่ยวและทำการผ่าตัดศัลยกรรมในประเทศไทย ได้เข้ารับการส่องกล้องในข้อเข่าในประเทศอินเดียหลังจากบาดเจ็บจากการเล่นรักบี้และกระดูกทับเส้นที่ประเทศอัฟริกาใต้ ทำให้เขาได้พักฟื้นและพักผ่อนอย่างมีความสุขในสระว่ายน้ำ เขาเลือกที่จะไปต่างประเทศเพื่อที่จะไม่ต้องรอคิวการรักษาไปยาวๆ ในโรงพยาบาลท้องถิ่นในประเทศของเขาเอง และค่ารักษาพยาบาลก็อยู่ที่ 30% ของค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศของเขา นอกจากนี้ เขายังได้ค้นพบว่ามีทันตแพทย์ฝีมือดีอยู่ที่ประเทศโปแลนด์ซึ่งเขาสามารถจ่ายค่าเครื่องบินในราคาไม่แพงอีกด้วย
เรื่องราวของชายชาวอังกฤษผู้นี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างของผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลกและเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาก
องค์กรคนไข้ไร้พรมแดน (Patients Without Borders) ประมาณการว่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีมูลค่าราว 65 – 87.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นคนไข้ข้ามพรมแดนทั่วโลกราว 20 – 24 พันล้านเหรียญสหรัฐที่ใช้จ่ายอยู่ราว 3,410 เหรียญสหรัฐต่อการท่องเที่ยวหนึ่งครั้ง รวมถึงค่าใช้จ่ายทางที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ ดังนั้น การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จึงเป็นตลาดที่ใหญ่มากอยู่แล้วและมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
แล้วคำว่า “การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์” มีความหมายอย่างไรบ้าง มอนิก้า ฟิเกอโรลา มาร์ติน เป็นกรรมการผู้จัดการคลัสเตอร์ท่องเที่ยวสุขภาพของสเปนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และกรรมการผู้จัดการของการท่องเที่ยวของรัฐบาลชุมชนลาริโอฆา เป็นเวลา 12 ปี และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานกลุ่มการทำงาน WG 2, Health tourism services ของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 228 การท่องเที่ยว ซึ่งทำการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ISO 22525
มอนิก้า ฟิเกอโรลา มาร์ติน ซึ่งเชี่ยวชาญในการดึงเอาความแตกต่างระหว่างการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และ “การแพทย์เชิงท่องเที่ยว” ได้อธิบายว่า “การแพทย์เชิงท่องเที่ยว” เป็นสิ่งที่เมื่อใครบางคนกำลังเดินทางอยู่แล้วเกิดเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่หากใครบางคนทำการท่องเที่ยวเพื่อเหตุผลทางการแพทย์ พวกเขาไม่ใช่นักท่องเที่ยว แต่เป็นคนไข้ และแรงจูงใจอย่างแรกในการท่องเที่ยวก็คือทำการรักษาทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีอยู่ในบ้านเกิดของพวกเขานั่นเอง
ดังนั้น อะไรคือเงื่อนไขร่วมส่วนใหญ่ซึ่งทำให้คนกลายเป็นนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ คำตอบสั้นๆ ดูเหมือนว่าแทบจะเป็นอะไรก็ได้ องค์กรคนไข้ไร้พรมแดนได้ตีพิมพ์เอกสารรายชื่อการเจ็บป่วยและเงื่อนไข จากศัลยกรรมที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทันตกรรมไปจนถึงมะเร็งและการดูแลรักษาสุขภาพการเจริญพันธุ์ และมีความแม่นยำเพราะมีการรักกษาที่แตกต่างกันออกไปหลายอย่างและยื่นข้อเสนอเงื่อนไขที่แตกต่างกันมาก ดังนั้น มาตรฐานไอเอสโอจึงมีความสำคัญต่อนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
คำถามอีกอย่างหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน คือ ทำไมคนต้องออกเดินทางเพื่อไปรับการดูแลทางการแพทย์ คำตอบที่โดดเด่นคือในหลายประเทศของนักเดินทาง มีค่าใช้จ่ายที่สูงและการรอคอยที่ยาวนานสำหรับกระบวนการทางการแพทย์ รองลงมาคือค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาที่ต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าและง่ายกว่าเช่นเดียวกับตัวอย่างของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด คนไข้บางคนเห็นว่าคุณภาพของโครงสร้างทางการแพทย์ในประเทศอื่นบางประเทศมีคุณค่ามากกว่าและสามารถจะได้รับมาตรการรักษาที่ไม่อาจมีทางเกิดขึ้นได้ในประเทศของตนเอง เช่น การรักษาด้านการเจริญพันธุ์สำหรับคนที่ต้องการมีบุตรอันเนื่องมาจากกฎหมายในประเทศไม่รองรับ เป็นต้น
แล้วสิ่งที่ท้าทายการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์กำลังเผชิญอยู่คืออะไร มาตรฐานไอเอสโอจะช่วยได้อย่างไร คำตอบคือความปลอดภัยเป็นสิ่งแรกที่มีความสำคัญมากที่สุด การรักษาส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอที่มีราคาสูงและหลายประเทศยื่นข้อเสนอการรักษาทางการแพทย์ที่มีความหลายหลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกประเทศจะยื่นข้อเสนอเหมือนกันหมด
ความปลอดภัยจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงตามรูปแบบการรักษาเพราะตัวชี้วัดในแต่ละกระบวนการ มีความจำเป็นต้องการันตีว่าการรักษาจะประสบความสำเร็จ และประสบการณ์ของคนไข้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
นอกจากนี้ ยังมีจำนวนสมาชิกของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวทางการแพทย์เป็นจำนวนมากและมีห่วงโซ่คุณค่าของการท่องเที่ยวทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากเช่นกันและมีความซับซ้อนด้วย เริ่มตั้งแต่การติดต่อกับโรงพยาบาลเพื่อขอรับข้อเสนอเรื่องราคาไปจนถึงช่วงหลังจากการรับการรักษาแล้วคนไข้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน ซึ่งมีจุดวิกฤตอยู่เป็นจำนวนมากระหว่างทางและมีความสำคัญในประเทศที่จะพัฒนาธุรกิจในลักษณะนี้เพื่อให้มีความมั่นคงปลอดภัยเพียงพอ
สำหรับก้าวแรกในการพัฒนามาตรฐานสากลในเรื่องดังกล่าวคือการที่จะต้องรู้ว่าความต้องการของตลาดเป็นอย่างไร รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง โปรดติดตามได้ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: 1. http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=7812&filename=index
2. https://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/40188
3. https://www.iso.org/news/ref2407.html
Related posts
Tags: Health, Health Care Equipment & Services, Standardization
Recent Comments