บทความเรื่อง ท่องไปในโลกกว้างอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าและความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มีมากขึ้นทั่วโลก และได้มีกรณีศึกษาของการท่องเที่ยวที่บริเวณคาบสมุทรไซนายซึ่งเต็มไปด้วยการท่องเที่ยวแบบผจญภัยซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความปลอดภัย ซึ่งมาร์ติน เดนิสัน ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มงานในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 228 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนามาตรฐานใหม่สองมาตรฐานที่เน้นในเรื่องของการดำน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้
ด้วยความตระหนักในความสำคัญของนักท่องเที่ยวดำน้ำ ภายใต้การประสานงานดูแลของเดนิสัน กลุ่มงานที่มุ่งมั่นและอุทิศตนให้กับคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 228, Tourism and related services จึงได้เตรียมมาตรฐานสองฉบับสำหรับการดำน้ำอย่างยั่งยืน มาตรฐานแรก คือ ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving ซึ่งอธิบายถึงศูนย์ดำน้ำและบริการว่าจำเป็นต้องทำอะไรเพื่ออนุรักษ์และสนับสนุนสิ่งแวดล้อมภายใต้ผืนน้ำ มาตรฐานรวมถึงตัวอย่างหลายตัวอย่างสำหรับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด เช่น ศูนย์ดำน้ำจำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างไร (เช่น ห้ามนักดำน้ำไม่ให้ป้อนอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำหรือเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำออกจากพื้นที่) หรือวิธีที่จะปฏิบัติงานบนเรือในแบบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ISO 21416 ซึ่งระบุว่าเรือนำร่องต้องใช้การผูกเรือแทนสมอซึ่งอาจทำลายปะการังได้
มาตรฐานที่สองคือ ISO 21417, Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers ซึ่งหากนักดำน้ำมีความตระหนักและเข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมดำน้ำแล้ว พวกเขาก็จะสามารถควบคุมกิจกรรมของตนเองให้เหมาะสมและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมได้
มาตรฐานมีการอธิบายว่านักดำน้ำสามารถกำจัดหรือลดความเสี่ยงเชิงลบอย่างแท้จริงต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร และยังกำหนดความรู้เชิงทฤษฎีที่ผู้สอนและนักดำน้ำจำเป็นต้องได้รับก่อนและระหว่างดำน้ำ และจะทำให้เกิดรูปแบบพื้นฐานของหลักสูตรฝึกอบรมด้วย
นอกจากนี้ มาตรฐานยังให้เน้นถึงนักดำน้ำว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อสภาพแวดล้อมได้อย่างไร เช่น การใช้ทักษะดำน้ำเพื่อทำความสะอาดของเสียใต้น้ำ การมีส่วนร่วมในการสำรวจชีวิตสัตว์น้ำและการสร้างปะการังเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ มาตรฐานยังต้องการเน้นกิจกรรมที่มาตรฐานอื่นๆ ไม่ครอบคลุมด้วย เช่น การปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมดำน้ำ การปฏิบัติงานของเรือดำน้ำ เป็นต้น
มาตรฐานมีการอธิบายว่าจะมีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับสัตว์ที่อยู่ใต้น้ำ เช่น ต้องไม่เก็บสะสม ไม่ล่า หรือไม่ให้อาหารสัตว์น้ำ นอกจากนี้ ยังรวมถึงตัวชี้วัดเพื่ออนุรักษ์สถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย เช่น ซากปรักหักพังของเรือ และสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักดำน้ำ เป็นต้น
เดนิสันตั้งคำถามว่าแล้วศูนย์ดำน้ำและผู้ให้การฝึกอบรมจะนำเอามาตรฐาน ISO 21416 และ ISO 21417 ไปประยุกต์ใช้หรือไม่ คำตอบคือ กระทรวงการท่องเที่ยวของอียิปต์ ได้จ้างผู้ตรวจสอบจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยศูนย์ดำน้ำให้สามารถตอบสนองต่อข้อกำหนดของมาตฐานหลายๆ มาตรฐานเพื่อให้มีการดำน้ำเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้
มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนฉบับใหม่จะไม่มีข้อยกเว้นใดๆ เนื่องจากผู้ฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำน้ำมีความตระหนักว่านักท่องเที่ยวเป็นผู้มีแนวโน้มที่จะกลับมาอีกครั้งเพื่อสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมใต้น้ำอันสงบงดงามอีก ดังนั้น จึงเชื่อมั่นว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวต่างปรารถนาที่จะร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมใต้ผืนน้ำให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ต่อไป
กลุ่มงานที่ทำการพัฒนามาตรฐาน ISO 21416 และ ISO 21417 ได้นำเสนออย่างกว้างขวางว่ากลุ่มงานมีตัวแทนจากหลายภาคส่วน ได้แก่ องค์กรที่ทำการฝึกอบรม องค์กรที่เป็นศูนย์ดำน้ำ และผู้ที่อยู่ในภาคส่วนที่ปกป้องผู้บริโภค นักชีววิทยาศาสตร์ทางน้ำ และนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ซึ่งทุกคนต่างมีความสุขที่จะดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อการดำน้ำใกล้ปะการังซึ่งได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน Green Fin ด้วยความร่วมมือกับมูลนิธิ Reef-World
การตั้งรกรากในคาบสมุทรไซนายได้เติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นรีสอร์ทขนาดใหญ่ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้สามารถมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้เอง ปลายปีที่แล้วไอเอสโอจึงได้ตีพิมพ์มาตรฐาน ISO 21401, Tourism and related services – Sustainability management system for accommodation establishments – Requirements ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลใหม่ที่ช่วยให้อุตสาหกรรมบริการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางสังคมและทำให้เกิดการมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น มาตรฐานนี้มีพื้นฐานในเรื่องของ HLS (High Level Structure) ที่เหมือนกับมาตรฐานอื่นของไอเอสโอ เช่น ISO 9001, ISO 14001 ซึ่งหมายความว่าสามารถนำไปใช้ร่วมกับระบบการจัดการมาตรฐานสากลที่มีอยู่แล้วได้ดี
แล้วอะไรกันล่ะที่กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คำตอบอยู่ที่ทวีปและมหาสมุทรไปจนถึงฝั่งตะวันตกของไซนาย คำตอบอยู่ที่ทวีปอัฟริกาและฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรไซนาย ในช่วงแรกของศตวรรษนี้ มีผลกระทบเชิงลบเพิ่มขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในประเทศบราซิลในภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะโรงแรม ซึ่งมีอเล็กซานเดอร์ การ์ริโด ผู้ประสานงานของกลุ่มงานที่พัฒนามาตรฐาน ISO 21401 กล่าวว่า มาตรฐานนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยมีพื้นฐานอยู่บนมาตรฐานของมาตรฐานของประเทศบราซิล คือ ABNT NBR 15401 ซึ่งอุตสาหกรรมโรงแรมในบราซิลได้นำไปใช้ตั้งแต่ปี 2549 (ค.ศ.2006) มาแล้ว
เมื่อปี 2546 (ค.ศ.2003) ประเทศบราซิลได้ทำนำร่องโครงการที่ค้นหาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและตัดสินใจที่จะเริ่มต้นกับอุตสาหกรรมโรงแรม จึงได้รวมกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวาง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว ตัวแทนจากอุตสาหกรรมโรงแรม สมาคมการค้า เอ็นจีโอ ชุมชน รัฐบาล และหน่วยงานต่างๆ ซึ่งตัดสินใจที่จะใช้แนวทางความยั่งยืนผ่านระบบการจัดการ กลุ่มงานมีการพิจารณาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมด้วยโครงสร้างระบบการจัดการและผลลัพธ์กืคือ มาตรฐาน ABNT NBR 15401
มาตรฐานบราซิลได้ประสบความสำเร็จในแง่ที่ว่าคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 228 ได้รับเอามาตรฐานของบราซิลไปใช้ซึ่งในตัวมาตรฐาน ISO 21401 ครอบคลุมด้านความหลากหลายทางชีวิภาพ ประสิทธิภาพของพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน การจัดการของเสีย ท่อน้ำทิ้ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้น้ำ ทรัพยากร สภาพการทำงาน แง่มุมทางวัฒนธรรม และความจำเป็นของประชากรพื้นเมือง “มาตรฐาน ISO 21401 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการความยั่งยืนเฉพาะด้านที่ครอบคลุมมิติทั้งหมดของความยั่งยืนซึ่งเป็นการเตรียมการให้กับวิสัยทัศน์ยุคใหม่ของการบริหารจัดการด้านที่พักอาศัย
นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบผจญภัยที่ช่วยในเรื่องของวิธีปฏิบัติที่ดีเพื่อความยั่งยืน โปรดติดตามในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบ
ที่มา: 1. https://bit.ly/2xUka67
2. https://www.iso.org/news/ref2409.html
3. https://committee.iso.org/home/tc228
Recent Comments