บทความเรื่อง ท่องไปในโลกกว้างอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1 และ ท่องไปในโลกกว้างอย่างยั่งยืน ตอนที่ 2 ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าและความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มีมากขึ้นทั่วโลกโดยมีการท่องเที่ยวบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ เช่น การท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการดำน้ำ ทำให้ไอเอสโอแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 228, Tourism and related services ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนามาตรฐาน 2 ฉบับเพื่อการดำน้ำอย่างยั่งยืน คือ ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving และ ISO 21417, Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers สำหรับบทความในตอนที่ 3 จะกล่าวถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวแบบผจญภัยรวมทั้งมาตรฐานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
ปัจจุบัน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวแบบผจญภัยอื่นๆ ได้ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด เมื่อปีที่แล้วนี้เอง จากพื้นฐานการนำเสนอของประเทศโปรตุเกส ทำให้ไอเอสโอได้ตีพิมพ์มาตรฐาน ISO 20611, Adventure tourism – Good practices for sustainability – Requirements and recommendation ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับองค์กรท่องเที่ยวแบบผจญภัยที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้มีส่วนร่วม และชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การวางแผนอย่างระมัดระวังและการประเมินความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการใช้แหล่งแรงงานหมุนเวียน การมีความตระหนักถึงกฎระเบียบด้านของเสีย หรือการคำนึงถึงพื้นที่ที่มีระบบนิเวศอันเปราะบาง เป็นต้น
มาตรฐาน ISO 20611 ยังแสดงถึงวิธีการสื่อสารที่ผู้ให้การต้อนรับ ผู้มีส่วนร่วม และชุมชนท้องถิ่นสามารถนำไปใช้เพื่อยกระดับการปฏิบัติที่ยั่งยืนได้ เช่น การรีไซเคิล รวมทั้งการแจ้งชุมชนท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของการท่องเที่ยวแบบผจญภัย โดยผู้ปฏิบัติงานอาจจะต้องการศึกษาชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับทักษะที่สนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากจะทำให้ส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังได้ผลลัพธ์กลับมาเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่มั่นคงแข็งแรงต่อไปด้วย เป็นต้น
แล้วผลกระทบของประเภทด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนามาตรฐาน ISO/TC 228 คืออะไร ลีโอนาโดเพอร์ซี ผู้ซึ่งนำกลุ่มงานที่พัฒนามาตรฐาน ISO 20611 กล่าวว่า การท่องเที่ยวทั้งแบบอีโคและแบบผจญภัยมีความเสี่ยงที่เป็นไปได้ในการเพิ่มการหมุนเวียนของนักท่องเที่ยวที่จุดหมายปลายทางโดยไม่มีตัวชี้วัดที่จำเป็นในการลดผลกระทบเชิงลบในเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบนิเวศที่เปราะบาง แต่มาตรฐานทั้งสองนี้สามารถส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติรวมทั้งการพัฒนาการให้เกียรติชุมชนที่รับนักท่องเที่ยวเข้ามา เป็นอันว่าเรื่องนี้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์เท่าเทียมกันและช่วยสร้างความยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
เสาหลักของความยั่งยืน
เช่นเดียวกับมาตรฐาน ISO 21401 สำหรับที่พักที่ยั่งยืน เราสามารถค้นพบแหล่งกำเนิดของมาตรฐาน ISO 20611 ในประเทศบราซิลซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยข้อเสนอที่คล้ายคลึงกันจากมาตรฐานระดับชาติของโปรตุเกส
เมื่อปี 2547 (ค.ศ.2004) ตัวเลขของอุบัติเหตุรวมถึงอุบัติเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิต มีมากขึ้น ในช่วงเวลานั้น สมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการผจญภัยของบราซิลได้ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยว และหน่วยงานบริการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดไมโครของบราซิล ทำการตัดสินใจที่จะพัฒนามาตรฐานใหม่สำหรับการท่องเที่ยวแบบผจญภัยเพื่อเน้นในเรื่องความเสี่ยงเหล่านั้น ปัจจุบัน งานนี้กำลังดำเนินการอยู่ ทุกวันนี้ ประเทศบราซิลมีมาตรฐานระดับประเทศในด้านการท่องเที่ยวแบบผจญภัยรวม 38 มาตรฐานแล้ว (มาตรฐานของ ABNT: Associação Brasileira de Normas Técnicas ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศบราซิล)
มาตรฐานแรกได้เน้นไปในเรื่องของความปลอดภัย เช่น มาตรฐานระบบการจัดการสำหรับการท่องเที่ยวแบบผจญภัย (ISO 21101) และมาตรฐานที่มีการจัดการกับข้อมูลสำหรับผู้มีส่วนร่วม (ISO 21103) อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2557 (ค.ศ. 2014) เป็นต้นมา ความยั่งยืนก็ได้เกิดขึ้นและทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นมาก ดังนั้น ลีโอนาโดเพอร์ซี และคณะจึงได้เริ่มทำงานในหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเสาหลักสามเสาของความยั่งยืน ผลที่เกิดขึ้นก็คือมาตรฐาน ISO 20611
มาตรฐานใหม่นี้นำมาซึ่งการปฏิบัติที่ดีสำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบผจญภัย ซึ่งมีการระบุข้อกำหนดและจัดเตรียมข้อแนะนำในการนำไปใช้ แล้วบริษัทท่องเที่ยวรับรู้มาตรฐานนี้ได้อย่างไร คำตอบคือ ภาคส่วนการท่องเที่ยวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยวของประเทศบราซิลมีความกลมเกลียวเหนียวแน่นกันมาก และให้การต้อนรับด้วยการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ในประเทศบราซิลกันอย่างกว้างขวาง
ด้วยเหตุนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดจึงมีบทบาทในตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวแบบผจญภัย ซึ่งทำให้เป็นไปได้สำหรับการเสนอผู้มีส่วนร่วมให้ส่งมอบบริการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ถ้าผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวทั้งหมดสามารถอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วก็จะสามารถดูแลรักษาชุมชนที่เกี่ยวข้องและสามารถปรับปรุงสังคม วัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพของสถานที่ท่องเที่ยวแบบผจญภัยได้
ไอเอสโอพร้อมแล้วสำหรับการพัฒนามาตรฐานเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกให้มีความยั่งยืนอย่างแท้จริง
ที่มา: 1. https://bit.ly/2xUka67
2. https://www.iso.org/news/ref2409.html
3. https://committee.iso.org/home/tc228
Recent Comments