ไม่มีใครปฏิเสธว่านวัตกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประกอบธุรกิจ นวัตกรรมทำให้เกิดคุณค่าและช่วยให้องค์กรปรับตัวและอยู่รอดได้ ปัจจุบัน ไอเอสโอได้พัฒนาชุดมาตรฐานสากลด้านการจัดการนวัตกรรมโดยฉบับล่าสุดที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้
ทั้งนี้ เนื่องจาก “นวัตกรรม” เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของของค์กร ซึ่งสนับสนุนการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวคิดใหม่ๆ จะทำให้มีวิธีการทำงานที่ดีเพิ่มขึ้น มีแนวทางการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น ทำให้สร้างรายได้และปรับปรุงความสามารถในการดำเนินงานอย่างยั่งยืน สิ่งนี้มีความเชื่อมโยงกับความยืดหยุ่นขององค์กรซึ่งต้องปรับตัวและตอบสนองให้ทันกับสภาพการณ์ต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือทันต่อบริบทที่มีความท้าทายให้ได้ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง ซึ่งนับว่าเป็นการใช้โอกาสในการนำมาซึ่งการเกิดความคิดสร้างสรรค์ของคนในองค์กรเองหรือกับคนที่เข้ามาติดต่อด้วย
ในที่สุดแล้ว แนวคิดดีๆ และการประดิษฐ์คิดค้นหรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ บ่อยครั้งก็เป็นผลมาจากความคิดและการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งมีการนำไปสู่วิธีการดำเนินการที่มีประสิทธิผล และวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการดำเนินการก็คือการนำระบบการจัดการนวัตกรรมไปใช้นั่นเอง
ระบบการจัดการนวัตกรรมทำให้องค์กรมีแนวทางเชิงระบบในการรวมเอานวัตกรรมเข้าไปสู่การดำเนินงานขององค์กรในทุกลำดับชั้นของการทำงานเพื่อสร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา การมีระบบ การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งมาตรฐานสากลฉบับแรกของระบบการจัดการนวัตกรรมได้รับการเผยแพร่แล้ว
ISO 56002: 2019, Innovation management — Innovation management system — Guidance เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมทุกแง่มุมของการจัดการนวัตกรรม นับตั้งแต่วิธีการสร้างแนวคิดใหม่ๆ หรือจุดประกายแนวคิด อย่างถูกต้องผ่านการขายอะไรบางอย่างใหม่ๆ ในตลาด ซึ่งพิจารณาบริบทที่องค์กรกำลังดำเนินการอยู่ รวมถึงวัฒนธรรม กลยุทธ์ กระบวนการ และผลกระทบ ซึ่งก้าวข้ามกิจกรรมต่างๆ หลายประเภทรวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการ โมเดลธุรกิจ นวัตกรรมขององค์กรและอื่นๆ อีกมากมาย และสามารถนำไปปรับใช้องค์กรทุกประเภทและทุกขนาด
อลิส เดอ กาสซาโนเว ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่พัฒนามาตรฐานกล่าวว่า ISO 56002 จะช่วยให้องค์กรเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และสมรรถนะในหลายทาง กล่าวคือ ทุกองค์กรที่ต้องการขับเคลื่อนอนาคตและความต้องการในการรวมเอาการจัดการนวัตกรรมไว้ในองค์กร จำเป็นต้องเข้าไปมีเกี่ยวข้องและปรับตัวให้สามารถตามทันตลาดและแนวโน้มของสังคม โดยมีความท้าทายคือการระบุสิ่งที่จะให้องค์กรมีการแข่งขันและสร้างคุณค่าเพื่ออนาคตได้ซึ่งเป็นปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ที่ต้องทำ
ในการเตรียมการวิธีการที่จะได้แนวคิดที่ดีที่สุด ประกอบด้วยการทดสอบอย่างมีประสิทธิผล และจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องซึ่งมาตรฐาน ISO 56002 สามารถช่วยให้องค์กรสร้างคุณค่าที่จะส่งมอบให้ลูกค้าและทำให้ใช้ศักยภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทางการดำเนินงานอย่างมีแบบแผนโครงสร้าง มาตรฐานนี้ยังช่วยให้วัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กรค่อยๆ เกิดขึ้นด้วย อันเป็นการประสานเอาความคิดสร้างสรรค์และแรงจูงใจจากสมาชิกในองค์กรและทำให้เกิดการปรับปรุงความร่รวมมือ การสื่อสาร และสมรรถนะการดำเนินงาน
ISO 56002 เป็นมาตรฐานที่ช่วยเสริมเอกสาร 2 ฉบับในมาตรฐานชุดที่มีการเผยแพร่แล้ว ได้แก่ ISO 56003 , Innovation management — Tools and methods for innovation partnership — Guidance และมาตรฐาน ISO/TR 56004, , Innovation Management Assessment — Guidance.
- สำหรับมาตรฐานในชุดของการจัดการนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นอนาคตนี้ รวมถึง
ISO 56000, Innovation management — Fundamentals and vocabulary - ISO 56005, Innovation management — Tools and methods for intellectual property management
— Guidance - ISO 56006, Innovation management — Strategic intelligence management — Guidance
- ISO 56007, Innovation management — Idea management
คณะกรรมการวิชาการดังกล่าวมีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD: Organisation for Economic Co-operation and Development) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO: World Intellectual Property Organization) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อพัฒนามาตรฐานในชุดดังกล่าว
มาตรฐาน ISO 56002 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 279, Innovation Management โดยมีเลขานุการคือ AFNOR ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส และสามารถศึกษาได้จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2414.html
Recent Comments