ย้อนเวลาไปเมื่อศตวรรษที่ 16 – 17 ประวัติศาสตร์ของการเดินทางที่รู้จักกันในชื่อ แกรนด์ทัวร์ ได้เกิดขึ้นในยุโรปเพื่อการท่องเที่ยวและเรียนรู้โลกกว้างด้วยตนเอง สมัยนั้น จึงเห็นนักเดินทางอายุน้อยที่มีฐานะดี ท่องเที่ยวไปเพื่อเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่เมืองโดเวอร์ซึ่งเป็นท่าเรือเฟอร์รี่ในทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ แล้วเดินทางต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ข้ามเทือกเขาแอลป์ในทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ตูริน ฟลอเรนซ์ โรม ปอมเปอี เวนิส เยอรมนี ออสเตรีย มิวนิค ฮอลแลนด์และแฟลนเดอร์ แล้วกลับไปยังเมืองโดเวอร์
ปัจจุบัน การท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบเช่นกัน และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแวดวงของสังคมชั้นสูงและในยุโรปเท่านั้น แต่คนทุกเพศ ทุกวัย สามารถท่องเที่ยวไปทั่วโลกได้อย่างอิสระและมีทางเลือกของการเดินทางในราคาที่สามารถจ่ายได้ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ทำให้เกิดมาตรฐานทางเทคนิควิชาการที่ช่วยตอบสนองความท้าทายที่ภาคส่วนการท่องเที่ยวกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การพัฒนามาตรฐานเพื่อการปฏิบัติที่ปลอดภัยและการฝึกอบรมการดำน้ำเพื่อการพักผ่อนซึ่งนอกเหนือจากข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ที่แสดงว่ามาตรฐานมีการใช้งานและเกี่ยวข้องในด้านการบริการซึ่งทุกวันนี้ ภาคส่วนนี้มีมูลค่ามากกว่า 70% ของ GDP ของโลก
คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 228 การท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำ UNE โดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสเปน และ INNORPI สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศตูนีเซีย อันเป็นความภาคภูมิใจที่ได้รางวัล LDE ปี 2017 ซึ่งมาจากประเทศสมาชิกไอเอสโอซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว
มาตรฐานเหล่านี้ระบุวิธีปฏิบัติสากลที่ดีที่สุดในด้านที่พักอาศัย สำนักงานข้อมูลการท่องเที่ยว การบริหารจัดการชายหาดและบริการพื้นฐานสำหรับที่จอดเรือ
ทั้งนี้ เนื่องจากการท่องเที่ยวมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับเรื่องของธรรมชาติและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงต่อธรรมชาติได้
ปัจจุบัน มาตรฐานการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการช่วยให้องค์กรวางตำแหน่งทางการตลาดได้ดีขึ้น ดังเช่นที่วารสาร MASCI Innoversity ได้นำเสนอไปเมื่อเร็วๆ นี้ ได้แก่ มาตรฐาน ISO 20488, Online consumer reviews – Principles and requirements for their collection, moderation and publication ซึ่งช่วยยกระดับการแข่งขันได้, มาตรฐาน ISO 22525, medical tourism ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ, มาตรฐาน ISO 21416, environmentally sustainable practices in recreational diving ที่กำลังจะเกิดขึ้น, ISO 21401, sustainability management systems for accommodation establishments และ ISO 20611, sustainable practices for adventure tourism ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในข้อที่ 12 การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible Production and Consumption) ข้อที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (Life below Water) และข้อที่ 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (Life on Land)
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวมีความตระหนักถึงเรื่องของความยั่งยืน จึงใส่ใจต่อการใช้ทรัพยากรในจุดที่เดินทางไปท่องเที่ยว เช่น มีการทดแทนการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน และการเชื่อมโยงเรื่องของชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น
ในแง่มุมดังกล่าว มาตรฐานจึงเป็นเสมือนพันธมิตรที่โลกของเราไม่อาจละเลยได้และมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของภาคส่วนการท่องเที่ยวซึ่งยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญหน้า เช่น การท่องเที่ยวที่มีมากจนเกินไป เรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียน แพล็ตฟอร์มออนไลน์ใหม่ และเรื่องของดิจิตอลอันเนื่องมาจากการบริหารจัดการและการใช้ข้อมูล
นอกจากนี้ จากข้อมูลขององค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNWTO) มาตรฐาน ISO 21902, accessible tourism ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะตอบสนองโดยเป็นแนวทางให้กับองค์กรที่ต้องการนำเสนอบริการการท่องเที่ยวที่เข้าถึงได้ อันเป็นการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวและส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าให้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักท่องเที่ยว ผู้พักอาศัย และผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น
เนื่องในโอกาสวันท่องเที่ยวโลกในปีนี้ซึ่งตรงกับวันที่ 27 กันยายน มีการรณรงค์ในหัวข้อ “การท่องเที่ยวและงาน – อนาคตที่ดีขึ้นของทุกคน” “Tourism and jobs : a better future for all” ซึ่งเน้นบทบาทของการท่องเที่ยวว่าเป็นแหล่งของการจ้างงานโดยมีถึง 1 ใน 10 ของงานที่มีอยู่ในโลกนี้ และมีส่วนร่วมในการลดความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน
ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวทุกวันนี้จะแตกต่างไปจากแกรนด์ทัวร์ในประวัติศาสตร์ยุโรป แต่การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเองโดยสามารถส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพและสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ต่อไป
จึงอาจกล่าวได้ว่าการท่องเที่ยวมีบางสิ่งที่เหมือนกับมาตรฐานไอเอสโอ คือเป็นเสมือนยานพาหนะสำหรับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและคุณค่า อันส่งเสริมความเคารพต่อความหลากหลายในโลกนี้อันมีส่วนสำคัญต่อความเข้าใจร่วมกันในชุมชน สนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยและสันติสุขของโลก
ที่มา:
1. https://theculturetrip.com/europe/articles/what-was-the-grand-tour-and-where-did-people-go/
2. https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/news/magazine/ISOfocus%20(2013-NOW)/en/2019/ISOfocus_135/ISOfocus_135_en.pdf
ความเห็นล่าสุด