หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวของนักบริหารที่ชื่นชอบการกีฬาบางอย่าง และสามารถนำแนวคิดจากการเล่นกีฬามาปรับใช้ในการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม ความอดทน หรือความทุ่มเทและอุทิศตนให้กับงาน เกี่ยวกับเรื่องนี้ วารสาร Sloan Management เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้กล่าวถึงเรื่องของการกีฬาซึ่งก็เหมือนกับชีวิตของคนเราซึ่งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
ผู้นำที่ดีมีการบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์สุดท้าย และเมื่อต้องการผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ก็จะต้องใช้ข้อมูลรอบด้านเพื่อการตัดสินใจ และสำหรับกีฬา สามารถให้มุมมองที่ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการสมรรถนะ กลยุทธ์ นวัตกรรม และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การบริหารจัดการกับข้อมูล ซึ่งพบว่าประเด็นที่ขับเคลื่อนความสำเร็จในสนามกีฬานั้นเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนความสำเร็จในธุรกิจ หากผู้บริหารมีโอกาสที่จะฟังข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมาและทันเหตุการณ์แล้ว ก็จะทำให้มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วารสาร Sloan Management เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้นำเสนอวิธีปฏิบัติด้านการบริหารจัดการที่ดี 5 ประการที่แสดงผ่านมุมมองของการวิเคราะห์กีฬา และผู้นำอุตสาหกรรมกีฬาที่ประสบความสำเร็จ พร้อมกับเชื่อมโยงไปยังภาพรวมของการเรียนรู้เรื่องของกีฬาที่ทำให้เปิดมุมมองได้กว้างขึ้น
ประการแรกคือเรื่องของความเป็นผู้นำ เมื่อเราคิดถึงผู้นำที่บุกเบิกในธุรกิจต่างๆ เราจะพบว่าบุคคลเหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงองค์กรในเรื่องของการบริหารจัดการไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ เนื่องจากในธุรกิจ ผู้นำคนสำคัญในการกีฬาได้ช่วยปลดล็อคทีมไปสู่ความสำเร็จจนเกิดฉากสำคัญที่สามารถกล่าวได้ว่าโค้ชมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการทำให้ทีมประสบความสำเร็จ
ประการที่สอง จริงๆ แล้ว เรามีบริบทที่สมบูรณ์แบบในการตัดสินใจว่าจะใช้สมรรถนะให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร เช่น บ่อยครั้งเราพยายามจะวางตำแหน่งบุคคลที่ดีที่สุดไว้จุดที่มีความกดดันมากที่สุดหรือมีโอกาสมากที่สุด แต่เมื่อเราเปลี่ยนผู้เล่นที่มีสมรรถนะสูงให้ก้าวไปสู่ความท้าทายใหม่ หมายความว่าเรากำลังเปลี่ยนแปลงให้เขาก้าวออกไปจากสิ่งเดิมที่เคยเป็น คำถามคือ เราได้ใช้เวลาเพียงพอหรือยังที่จะพิจารณาว่าการตัดสินใจนั้นมีความสอดคล้องกับการใช้สมรรถนะให้เป็นประโยชน์สูงสุด และทำได้มากน้อยเพียงใด
ประการที่สาม การสรรหาผู้เล่นท็อปฟอร์มนั้นมีมูลค่าสูง ถ้าเราเชื่อแนวคิดที่ว่า 80% ของคุณค่าที่เกิดขึ้นถูกสร้างขึ้นจากคนเพียง 20% ขององค์กรแล้ว การจ่ายเพิ่มให้กับผู้เล่นที่มีความสามารถสูงก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ยกเว้นแต่ว่าเราไม่แน่ใจว่าสมรรถนะที่ดีในอดีตในการเล่นครั้งหนึ่งนั้นเป็นตัวชี้วัดที่ดีพอสำหรับสมรรถนะของการเล่นในอนาคต
ประการที่สี่ การมองภาพอนาคตแบบ Scenario Planning ในเรื่องของการตัดสินใจนั้น เป็นการยากที่จะตัดสินผู้เล่นเป็นรายบุคคลในกีฬาอเมริกันฟุตบอล (NFL) เพราะว่าความสามารถของผู้เล่นทั้งหมดที่ทำให้เกิดความสำเร็จของทีมส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับบริบท เช่น ผู้ร่วมทีม และระบบการเล่นที่ได้วางไว้ให้เดินตาม แต่ความจำเป็นที่จะต้องทำให้ผู้เล่นที่มีสมรรถนะมีความโดดเด่นห่างไกลจากคนอื่นก็มีอยู่ ซึ่งคนที่ได้รับเอาวิธีที่เชื่อถือได้ไปใช้งานก็จะมีความได้เปรียบสูง แล้วผู้บริหารจะตัดสินใจอย่างไรดี
คำตอบคือเราอาจจะเริ่มจากตำแหน่งที่มีคุณค่าสูงที่สุดในสนาม เช่น กองหลัง แล้วมองถอยออกไปดูว่าสิ่งที่แตกต่างที่ดีที่สุดคืออะไร ระหว่างกองหลังชั้นดีกับสิ่งที่อยู่ในใจพวกเขา เป้าหมายสูงสุดคือการเข้าใจถึงข้อมูลกระบวนการของกองหลังและคอยติดตามรูปแบบในใจของพวกเขาที่มีแนวโน้มจะทำตามแผนของทีม
ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร การใช้ศักยภาพนอกหนือจากการกีฬาเป็นสิ่งที่ล้ำลึกดังเช่นที่ผู้บริหารได้ตระหนักด้วยตนเองแล้วถึงข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับทีมของพวกเขาและความเข้าใจในตนเองร่วมกับวิธีการประมวลผลข้อมูลที่ดี บทเรียนที่ได้จากการบริหารจัดการของอเมริกันฟุตบอลนี้ นอกจากจะเป็นเรื่องของกลยุทธ์การบริหารจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านและทันต่อเหตุการณ์แล้ว ยังนำไปสู่นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการอีกด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองและประสบการณ์ของผู้บริหารแต่ละคนนั่นเอง
ที่มา: 1. https://sloanreview.mit.edu/article/why-sports-is-a-great-proving-ground-for-management-ideas/
2. https://sloanreview.mit.edu/audio/information-overload/
3. https://www.cleverism.com/management-science-guide/
ความเห็นล่าสุด