บางครั้งเราอาจเห็นการกล่าวอ้างบนผลิตภัณฑ์ว่ามีการค้าที่เป็นธรรม หรือผลิตภัณฑ์นี้มีการผลิตขึ้นโดยไม่ทดลองกับสัตว์ สิ่งเหล่านี้จะเป็นอุบายทางการตลาดเล็กๆ น้อยๆ หรือไม่ แล้วความหมายที่แท้จริงคืออะไร
ปัจจุบัน การกล่าวอ้างบนฉลากผลิตภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ มีมากขึ้นเป็นลำดับ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการกล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องจริง ล่าสุดไอเอสโอได้แนะนำมาตรฐานใหม่ที่ช่วยให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในการกล่าวอ้างในเชิงจริยธรรมได้มากขึ้น
การกล่าวอ้างเชิงจริยธรรมเหล่านั้นบนผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ทั่วโลก ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงใหม่ได้ท่ามกลางความสับสนของผู้คน การขาดคำนิยามหรือคำศัพท์ร่วม การอธิบายที่ชัดเจน หรือวิธีที่จะทวนสอบการกล่าวอ้าง ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะลดทอนความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ลง
ปัจจุบัน ไอเอสโอมีการพัฒนามาตรฐานข้อกำหนดทางวิชาการสำหรับการกล่าวอ้างเช่นนั้นแล้ว และเป็นมาตรฐานฉบับแรกที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยขจัดความสับสนและมีวิธีการสำหรับองค์กรในการจัดเตรียมข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แม่นยำ และทวนสอบได้
ISO/TS 17033, Ethical claims and supporting information — Principles and requirements มีการกำหนดวิธีการที่ยอมรับร่วมกันในระดับระหว่างประเทศเพื่อสร้างการกล่าวอ้างทางจริยธรรมที่เชื่อถือได้โดยมุ่งเป้าหมายไปที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย หรือองค์กรที่มีแนวโน้มว่าจะต้องมีการกล่าวอ้างซึ่งครอบคลุมในเรื่องของสวัสดิภาพสัตว์ แหล่งที่มาของท้องถิ่นไปจนถึงการค้าที่เป็นธรรม การใช้แรงงานเด็ก และอื่นๆ อีกหลายอย่าง
เฮนรี ฮิลลาร์ด ผู้ประสานงานร่วมของกลุ่มงานไอเอสโอที่พัฒนาข้อกำหนดทางวิชาการ กล่าวว่าอุตสาหกรรมที่ทำการติดฉลากเชิงจริยธรรมมีความซับซ้อนสูง ปัจจุบัน มีฉลากทางจริยธรรมและโครงการฉลากต่างๆ จำนวนมาก และยังแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศด้วย รวมถึงวิธีการที่แตกต่างการในการตีความข้อมูลด้วย มาตรฐาน ISO/TS 17033 จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ดึงข้อมูลหลักออกมาจากโครงการเหล่านั้นเพื่อที่ว่าข้อมูลที่ใช้ในการกล่าวอ้างนั้นจะมีความชัดเจน เป็นที่เข้าใจได้ดี และเชื่อถือได้ โดยมีการดึงข้อมูลมาจากชุดมาตรฐาน ISO 14020 ในเรื่องฉลากสิ่งแวดล้อมและการประกาศ รวมทั้งแนวทางการจัดเตรียมข้อมูลด้านความยั่งยืนผลิตภัณฑ์ของศูนย์การค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการข้อมูลผู้บริโภค 10YPF (เป็นโครงการของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติหรือ UNEP ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการดำเนินงาน 10 ปีในโครงการการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) ซึ่งเป็นการเสริมแนวทางที่มีอยู่แล้ว เช่น ISEAL Sustainability claims – good practice guide
ISO/TS 17033 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอด้านการประเมินความสอดคล้อง (CASCO) ร่วมกับคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอด้านนโยบายผู้บริโภค (COPOLCO) ซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนได้เสียได้แก่ ผู้แทนจากรัฐบาล อุตสาหกรรม ผู้ปฏิบัติงานในโครงการฉลากด้านจริยธรรม ผู้แทนผู้บริโภค และเอ็นจีโอ
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2423.html
Related posts
Tags: Social, standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด