นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกเห็นด้วยว่าการเติบโตทางการค้าและเศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดสำหรับการเติบโตที่มุ่งหน้าสู่การพัฒนาที่มีการเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างสิ้นเชิง และสิ่งสำคัญในการอำนวยความสะดวกทางการค้าคือเรื่องของมาตรฐานสากลนั่นเอง บทบาทของมาตรฐานสากลในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับประเทศที่มีรายได้น้อยได้อย่างไร มาติดตามเรื่องราวการค้าในน่านน้ำสากลกัน
การค้าสากลเป็นการแลกเปลี่ยนเงินทุน ผลิตภัณฑ์ และบริการระหว่างประเทศต่างๆ การค้ามีความเป็นสากลเนื่องจากสินค้ามีการข้ามพรมแดน และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ การค้ามีมาแล้วอย่างยาวนานผ่านประวัติศาสตร์โลก เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ เราอาจนึกถึงการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจักรวรรดิโรมันและอียิปต์ หรือถนนสายไหม
อย่างไรก็ตาม ระบบการค้าสากลก็อย่างที่เรารู้กันอยู่คือเริ่มพัฒนาขึ้นมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อมีการใช้การค้าสากลเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสันติภาพให้คงอยู่ และเป็นครั้งแรกของโลกที่กฎสากลได้เกิดขึ้น ซึ่งพอล ครักแมน นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2551 (ค.ศ.2008) ได้กล่าวไว้ว่าระบบการค้าหลังสงครามโลกได้เติบโตขึ้นตามวิสัยทัศน์ของคอร์เดลล์ ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในยุคที่รูสเวลต์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขามองเห็นความเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างประเทศว่าเป็นวิธีการในการส่งเสริมสันติภาพ ซึ่งระบบนี้เกิดขึ้นด้วยความตกลงร่วมกันระหว่างหลายประเทศ และกฎในการจำกัดปฏิบัติการระหว่างประเทศสองประเทศร่วมกัน และเป็นที่รู้จักกันในชื่อของสันติภาพอเมริกัน (Pax Americana)
ผลที่ตามมาคือในปี 2490 (ค.ศ.1947) มีประเทศต่างๆ 23 ประเทศรับเอาความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) ไปใช้เพื่อเปิดเสรีนโยบายและการยกเลิกภาษีศุลกากรซึ่งต่อมา องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เป็นองค์กรที่ส่งเสริมให้นโยบายของ GATT ประสบความสำเร็จโดยทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศและช่วยแก้ไขข้อพิพาททางการค้าด้วย ปัจจุบัน องค์การการค้าโลกมีสมาชิกจำนวน 164 ประเทศและมีอีก 22 ประเทศอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก
เมื่อกล่าวถึงการเติบโตทางการค้าของโลก การค้าโลกได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของ GDP โดยการค้าโลกมี GDP ทั้งหมดจำนวน 24% เมื่อปี 2505 (ค.ศ.1962) ตัวเลขนี้มีเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าคือเพิ่มขึ้นเป็น 57% เมื่อปี 2560 (ค.ศ.2017) และสำหรับประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีตลาดภายในประเทศมากนัก การค้าระหว่างประเทศนับว่ามีความสำคัญมาก แต่ถึงแม้จะเป็นประเทศใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา การค้าระหว่างประเทศต่อ GDP ก็มีถึง 27% อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ ระบบการค้าระหว่างประเทศและโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดความท้าทายมากขึ้นเนื่องจากผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการกระจายรายได้และเพิ่มความเท่าเทียมกันทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว การมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้นในการค้าระหว่างประเทศรวมทั้งการค้าในภูมิภาคไม่ได้เปลี่ยนไปสู่การพัฒนาที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่นเมื่อปีที่แล้ว ประเทศเวียดนามมีอัตราการเติบโตของ GDP ถึง 7.08% แต่ ประชากรชาวเวียดนามยังคงใช้ชีวิตท่ามกลางความยากจนแบบสุดขั้วตามรายงานของธนาคารโลก ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องรวมเอาเรื่องที่สำคัญเข้าไปในตลาดโลกควบคู่กับนโยบายในพื้นที่ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ความเท่าเทียมกันทางเพศ การสนับสนุนเอสเอ็มอี และโครงการทางสังคมเช่น การศึกษาและการดูแลสุขภาพ เป็นต้น การค้าเพียงลำพังจึงไม่อาจแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ ได้ทั้งหมด
เมื่อกล่าวถึงเรื่องของการค้าระหว่างประเทศแล้ว สิ่งหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องและอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) ก็คือ เรื่องของมาตรฐาน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2428.htm
Related posts
Tags: ISO, Standardization, Standards
Recent Comments