บทความเรื่อง มาตรฐานสากลกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ตอนที่ 2 ได้กล่าวถึงความเป็นมาและการเติบโตของการค้าโลกซึ่งมีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดกับเศรษฐกิจ โดยมี “มาตรฐานสากล” เป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า และอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนที่ 2 ดังต่อไปนี้
ความตกลงที่อยู่ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลกที่เรียกว่า ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า หรือ TBT Agreement (Technical Barrier to Trade) เป็นความตกลงที่ต้องการสร้างความมั่นใจว่ากฎระเบียบทางเทคนิค มาตรฐาน และกระบวนการประเมินความสอดคล้องจะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคที่ไม่จำเป็นต่อการค้าและเป็นการให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องชีวิตหรือสุขภาพของคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการกีดกันทางการการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจากการกำหนดมาตรฐานหรือกฎระเบียบเกี่ยวกับการซื้อขายระหว่างประเทศที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก ซึ่งทำให้เกิดกติกาสากลเพื่อเตรียมตัวในการรับเอามาตรฐานสากลไปใช้ กฎระเบียบทางเทคนิควิชาการ มาตรฐานสากล รวมทั้งคู่มือขั้นตอนการประเมินความสอดคล้องซึ่งมีเป้าหมายในการทำให้มั่นใจว่ากฎระเบียบทางวิชาการ มาตรฐาน และคู่มือขั้นตอนการประเมินความสอดคล้องไม่มีการแบ่งแยกหรือกีดกันจนเป็นอุปสรรคต่อการค้า
ข้อตกลงนี้ยังเปิดโอกาสทำให้สมาชิกองค์การการค้าโลกสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์เชิงนโยบายได้อย่างถูกต้อง เช่น มีการปกป้องด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้าที่ไม่จำเป็น ตัวอย่างเช่น การออกกฎระเบียบที่มีมากเกินไปหรือการร้องขอให้มีการรับรองตามมาตรฐานที่ไม่จำเป็น ข้อตกลงยังมุ่งไปที่การอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคทางการค้าด้วยการร้องขอให้สมาชิกองค์การการค้าโลกยอมรับมาตรฐานซึ่งกันและกันและกฎระเบียบทางวิชาการผ่านข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition agreements MRA)
ตั้งแต่ช่วงปี 2513 – 2522 (ค.ศ.1970 ถึงปี 1979) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) ซึ่งรวมถึงกฎระเบียบและมาตรฐานได้กลายเป็นสิ่งที่โดดเด่นมากขึ้น ผลกระทบของ TBT ที่มีต่อการค้าโลกนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อมาตรการ TBT เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดจากจำนวนประกาศต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น มาตรการสำหรับองค์การการค้าโลก เมื่อปี 2538 (ค.ศ.1995) เป็นปีที่ความตกลงอุปสรรคว่าด้วยเทคนิคต่อการค้า (TBT Agreement) เริ่มมีการบังคับใช้ โดยมีมาตรการใหม่จำนวน 364 มาตรการ เมื่อปีที่แล้ว จำนวนมาตรการใหม่เริ่มขึ้นเป็น 2,085 มาตรการ การเพิ่มขึ้นมากมายอย่างเช่นนี้สามารถอธิบายได้ว่าเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ เช่น การลดการใช้ภาษี โครงสร้างทางธุรกิจระดับโลกอย่างก้าวหน้า การมีส่วนร่วมที่ลดลงของตลาดที่เกิดขึ้นในยุคการค้าโลก และความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ อย่างความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน เป็นต้น
การประชุมขององค์การสหประชาชาติ มีรายงานการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาเรื่อง The Unseen Impact of Non-Tariff Measures: Insights from a new database พบว่ามาตรการ TBT เป็นมาตรการที่ใช้กันมากที่สุดในการค้า มาตรการนี้ถูกกำหนดค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 40% ของประเภทผลิตภัณฑ์ ซึ่งครอบคลุมการนำเข้าของโลกประมาณ 65%
สำหรับมาตรฐานสากลสามารถอำนวยความสะดวกทางการค้าได้ด้วยการลดค่าการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ TBT ซึ่งเห็นได้ชัดในด้านการจัดเตรียมข้อมูลข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้อาจมีผลลบทางการค้าเมื่อมีการนำไปพัฒนาหรือนำไปใช้อย่างไม่รอบคอบ
วิธีหนึ่งที่ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคว่าด้วยเทคนิคต่อการค้ามุ่งเป้าไปที่การลดผลกระทบเชิงลบก็คือ การสร้างความกลมกลืน (นอกจากนี้ ยังมีการลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก มาตรฐานเดียวกัน และความโปร่งใส) ความตกลงนี้ต้องการให้มาตรฐานและกฎระเบียบทางเทคนิคอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องรวมทั้งมาตรฐานที่ไอเอสโอทำการพัฒนาขึ้นมา นอกจากนี้ สมาชิกองค์การการค้าโลกยังได้รับการเรียกร้องให้เข้าร่วมในองค์กรสากลด้านมาตรฐานอย่างไอเอสโอด้วย มาตรฐานสากลซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นเอกสารแบบสมัครใจ จึงกลายเป็นผลลัพธ์ของกฎความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่มีประสิทธิผล
มาตรฐานสากลสามารถกำหนดกฎเพื่อประเทศต่างๆ โดยตรงเนื่องจากความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้ากำหนดการใช้งานไว้เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากฎระเบียบและมาตรฐานระดับประเทศ
มาตรฐานสากลส่งผลกระทบต่อประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอย่างแตกต่างกัน โดยทั่วไป มาตรการ TBT พบได้บ่อยๆ ในสินค้าที่มีการส่งออกตามปกติของประเทศกำลังพัฒนาเช่น สินค้าเกษตรและสิ่งทอ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามมาตรฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้เชิงเทคนิควิชาการ โครงสร้างพื้นฐาน และแม้แต่กฎระเบียบของท้องถิ่น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นภาระสำหรับประเทศกำลังพัฒนามากกว่า แต่การมีมาตรฐานย่อมดีกว่าไม่มีเนื่องจากมีหลักฐานที่บ่งชี้อย่างเห็นได้ชัดว่าการปรับมาตรฐานสากลทำให้ส่งเสริมการค้าสากลให้มีความคล่องตัวและการปรับมาตรฐานของประเทศพัฒนาซึ่งทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงตลาดได้มากขึ้น
จากการศึกษาด้านเสื้อผ้าและสิ่งทอซึ่งส่งออกจากประเทศแถบแอฟริกาใต้ซาฮารา 47 ประเทศไปยังสหภาพยุโรป พบว่ามาตรฐานสหภาพยุโรปที่ไม่ได้มีการปรับให้เข้ากับมาตรฐานไอเอสโอทำให้การส่งออกไปแอฟริกาลดลงในขณะที่มาตรฐานที่มีการปรับให้เข้ากับมาตรฐานไอเอสโอเป็นผลดีต่อการส่งออกไปยังแอฟริกา การศึกษาที่คล้ายๆ กันนี้จากธนาคารโลกคือการศึกษาเรื่อง Product Standards, Harmonization and Trade: Evidence from the Extensive Margin ยังเน้นไปที่สาขาสิ่งทอ เสื้อผ้า และรองเท้าสำหรับประเทศต่างๆ 200 ประเทศที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปซึ่งพบว่าการเพิ่มขึ้น 10% ในสหภาพยุโรปมีการปรับให้เข้ากับมาตรฐานไอเอสโอซึ่งแสดงให้เห็นว่าทำให้มีการเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.2 % สำหรับการส่งออกในสาขาต่างๆ ผลกระทบนี้ทำให้ประเทศรายได้ต่ำมีความเข้มแข็งมากขึ้นเป็นเท่าตัว
ความเชื่อมโยงระหว่างการค้าสากลและการรวมเข้ากับตลาดสากล ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การค้าเพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่เพียงพอที่จะทำให้โลกเกิดการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ โคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้กล่าวไว้ว่าการค้าเสรีต้องมีการบริหารจัดการอย่างรอบคอบโดยนับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนาอย่างรัดกุมที่ต้องคำนึงถึงเรื่องของสุขภาพ การศึกษา การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีพลังอำนาจเช่นเดียวกับผู้ชาย รวมทั้งกฎหมาย กฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานสากลจึงตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในสองรูปแบบคือ ประการแรก ส่งเสริมการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกจากประเทศกำลังพัฒนาอันเป็นสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประการที่สอง เป็นเครื่องมือที่ทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนประสบความสำเร็จเนื่องจากเป็นการสนับสนุนประเทศต่างๆ ให้สามารถบรรลุนโยบายระดับประเทศ เช่น การดูแลสุขภาพ ความเท่าเทียมกันทางเพศ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นโยบายระดับประเทศเหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีความเข้มแข็ง และทำให้วาระ 2030 หรือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริงและประสบความสำเร็จ
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2428.htm
2. http://www.spsthailand.net/sps_tbt.php
3. http://rs.mfu.ac.th/obels/?p=1402
Related posts
Tags: ISO, Standardization, Standards
Recent Comments