ปัจจุบัน “มาตรฐาน” ยังคงมีความสำคัญในธุรกิจอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน และนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกค้าหรือผู้บริโภค มาตรฐานสากลยังสามารถส่งเสริมความเข้มแข็งให้ประเทศต่างๆ มีการพัฒนาและการปฏิบัติภายใต้มาตรฐานที่เหมือนกัน อันเป็นการส่งเสริมการค้าในตลาดโลกและเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ลองมาติดตามดูว่าทำไมมาตรฐานสากลจึงเป็นประโยชน์กับทุกคน
องค์การสหประชาชาติ มีเป้าหมายข้อที่ 1 เพื่อยุติความยากจนในทุกรูปแบบทั่วโลก มีความก้าวหน้าบางอย่างได้ถูกลดลงเหลือครึ่งหนึ่งตั้งแต่ปี 2543 (ค.ศ.2000) และภูมิภาคส่วนใหญ่มีความยากจนลดลง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ พบว่ามีประชากรโลกถึง 783 ล้านคนยังคงใช้ชีวิตด้วยรายได้ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันและมีคนอีกนับล้านคนที่ยังมีรายได้ต่ำกว่านี้ แม้ว่าจะมีการคำนวณความเติบโตก้าวหน้าระดับโลก เป้าหมายของการยุติความยากจนระดับสูงสุดภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก
ความก้าวหน้าในเรื่องการยุติความยากจน ยังคงไม่เท่าเทียมกันและมีการเติบโตขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาในระดับที่น้อยกว่า และหลายประเทศเหล่านี้ยังคงมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วย
อีกทั้งประเทศหรือองค์กรที่ยังไม่พร้อมที่จะนำมาตรฐานมาใช้หรือไม่มีทักษะที่จะนำเทคโนโลยีใหม่มาอำนวยความสะดวกในยุคดิจิตอลก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกลุ่มธนาคารโลกและองค์การการค้าโลก พบว่าการค้าสามารถช่วยลดความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาและเป็นสิ่งที่เป็นตัวช่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อปี 2561 (ค.ศ.2018) มีรายงานเรื่อง “การค้าและการลดความยากจน: หลักฐานใหม่ของผลกระทบในประเทศกำลังพัฒนา” (Trade and Poverty Reduction: New Evidence of Impacts in Developing Countries) โดยธนาคารโลกและองค์การการค้าโลกซึ่งมีกรณีศึกษาสำหรับวิธีที่การค้าช่วยลดความยากจนและกล่าวถึงอุปสรรคไปจนถึงความก้าวหน้าในเรื่องดังกล่าวด้วย เช่น การทำงานในสาขาที่ไม่เป็นทางการและความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ เป็นต้น ท่ามกลางสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย
เขมราจ รามฟุล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการบริหารจัดการคุณภาพส่งออกของศูนย์การค้าระหว่างประเทศ ทราบดีว่าว่าในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศได้ประสบความสำเร็จมามากกว่าสิบปีที่ผ่านมาและได้ก้าวเข้าไปสู่ตลาดซึ่งใช้การค้าขับเคลื่อนความเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีคุณค่าเพิ่ม และลดความยากจน แต่อีกหลายประเทศ กลับไม่มีสิ่งเหล่านี้
ความเจริญเติบโตที่รวดเร็วขึ้นและการลดความยากจนในประเทศเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDGs ในข้อที่ 1 ต่อไป
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าประเทศต่างๆ มีส่วนร่วมในการค้าท่ามกลางซัพพลายเชนที่ซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่นเกาะแคริบเบียนซึ่งมีประวัติอันยาวนานในการพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายมากมายที่มาพร้อมกับการค้าของประเทศในกลุ่มนี้
การต่อสู้กับข้อจำกัดของการค้านั้น มีตัวอย่างที่เดอร์ริค โอมาร์ ซีอีโอของ CROSQ ซึ่งเป็นองค์กรในแคริบเบียนที่ดูแลเรื่องมาตรฐานและคุณภาพ เขาชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคนี้กำลังเผชิญหน้ากับการต่อสู้ด้วยความยากลำบากในการเอาชนะอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าที่กำลังถาโถมเข้ามา ความยากลำบากนี้ถูกจำกัดด้วยเรื่องต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายที่สูงมากด้านพลังงาน แนวคิดพื้นที่การคลัง (fiscal space) และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งระหว่างเกาะต่างๆ ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพที่พัฒนาไปด้วยความเข้าใจโลกที่พัฒนาแล้วอย่างช้าๆ
แน่นอน ทุกประเทศมีการพัฒนาในก้าวย่างของตนเองและนี่คือที่ที่มาตรฐานสากลจะมีบทบาทสำคัญ ในแต่ละชุมชนของแคริบเบียนที่เรียกว่า “ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน” (CARICOM) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ โดยรัฐสมาชิกมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติหรือผู้มีอำนาจอย่างน้อย 1 แห่งที่ดูแลกำกับการพัฒนาระบบและคู่มือขั้นตอนคุณภาพในระดับประเทศที่มีการออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนความสามารถของประเทศต่อการค้า
การส่งออกสินค้าของภูมิภาคส่วนใหญ่คือส่งไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศ CARICOM อื่นๆ เมื่อเร็วๆ นี้ โอมาร์กล่าวว่ามีความเคลื่อนไหวด้านสร้างความสัมพันธ์เหล่านั้นด้วยการทำให้มั่นใจในสินค้าและบริการซึ่งสามารถยึดถือมาตรฐานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นในทางการค้าได้
ผู้ปฏิบัติงานทางการค้าด้านเศรษฐกิจภายในแคริบเบียนและภูมิภาคกำลังมีความต้องการมากขึ้นในการที่จะให้สินค้านำเข้าได้รับการรับรองในระดับระหว่างประเทศหรือได้รับรองตามมาตรฐานระดับประเทศก่อนจะได้รับอนุญาตให้นำเข้ามา เพื่อเป็นวิธีการที่จะยึดถือตามกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก รวมทั้งปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคในภูมิภาคด้วย
การจัดการกับมาตรฐานในภูมิภาคนี้ให้ก้าวไปสู่มาตรฐานระดับสากลจะทำได้อย่างไร โปรดติดตามได้ในครั้งหน้าค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2427.html
Related posts
Tags: Quality, safety, Standardization, Sustainability
Recent Comments