บทความเรื่อง มาตรฐานนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความสำคัญของมาตรฐานที่มีต่อธุรกิจอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน โดยที่การค้าระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมเป้าหมายข้อที่ 1 ขององค์การสหประชาชาติในการยุติความยากจนในทุกรูปแบบทั่วโลก และมีตัวอย่างของกลุ่มประเทศ CARICOM (ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน) ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา และมีความต้องการให้สินค้าเหล่านั้นได้รับการรับรองตามมาตรฐานมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและในระดับระหว่างประเทศ สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงเรื่องของมาตรฐานสากลในกลุ่มประเทศ CARICOM และแอฟริกา ดังต่อไปนี้
การทำให้มาตรฐานสากลกลายเป็นมาตรฐานภูมิภาคเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศในกลุ่ม CARICOM ทั้งนี้ องค์กรภูมิภาค CARICOM (CROSQ) มีเครือข่ายกับองค์กรสากลอย่างไอเอสโอ, American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers (ASHRAE), the International Code Council (ICC) และองค์กรอื่นๆ ด้วย
แนวโน้มของการทำให้มาตรฐานสากลกลายเป็นมาตรฐานภูมิภาคยังคงมีต่อเนื่องไปในอีกหลายแห่ง ตัวอย่างเช่นในแอฟริกา เพิ่งครบรอบการลงนามของความตกลงทางการค้าทวีปแอฟริกา (African Continental Free Trade Agreement :AfCFTA) ไปไม่นานมานี้
ความตกลงดังกล่าวเป็นความตกลงทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดระดับภูมิภาค และมีการเฉลิมฉลองไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน AfCFTA ยังได้ให้สัตยาบันอีก 22 ฉบับเพื่อให้มีการบังคับใช้ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
อีฟ แกดซิควา เลขาธิการของสมาคมมาตรฐานแห่งซิมบับเว (SAZ) และประธานองค์กรมาตรฐานแอฟริกัน (ARSO) กล่าวว่า มาตรฐานสากลเกิดขึ้นควบคู่ไปกับประเทศ 24 ประเทศในบรรดา 55 ประเทศที่มีศักยภาพและมีความหมายถึงยุคใหม่ของแอฟริกา การเฉลิมฉลองความสำเร็จนี้เป็นเครื่องหมายของความตระหนักถึงความสำคัญ แนวโน้มและความท้าทายอันเป็นโอกาสทางการค้าสำหรับทวีปแอฟริกา มาตรฐานสากลนี้เองจะเป็นตัวกำหนดพื้นฐานทางการค้าซึ่งจะทำให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายใต้ CFTA
ความท้าทายเหล่านี้มีตั้งแต่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยภายใต้ AfCFTA ไปจนถึงนโยบายการค้าระดับประเทศเนื่องจากสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของโลกและโครงสร้างพื้นฐานเรื่องคุณภาพที่ยังมีช่องว่างด้านการประเมินความสอดคล้องของสินค้าระหว่างประเทศอยู่
แกดซิควากล่าวว่าแนวโน้มนี้ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อตอบสนองความท้าทายเหล่านี้และปรับปรุงการค้ารวมทั้งเรื่องการค้าข้ามเขตแดนในรูปแบบดิจิตอล จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการค้าภายในแอฟริกาให้ตอบสนองประชากรแอฟริกา 1.6 พันล้านคนให้ได้ ตลอดจนสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างองค์กรด้านการมาตรฐานระดับประเทศ องค์กรสมาชิกธุรกิจ และชุมชนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
แอฟริกาเต็มไปด้วยทรัพยากรจำนวนมากซึ่งแสดงถึงโอกาสของการส่งออกไปยังตลาดโลก แกดซิควาชี้ว่าภายในทวีปแอฟริกา ประเทศทั้งหมด 55 ประเทศมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน และมาตรฐานนี้เองจะเป็นวิธีการที่ทำให้บรรลุและรักษาตลาดไว้ได้เพื่อส่งเสริมการค้าภายในแอฟริกาและการค้าโลก
แกดซิควายังให้ข้อสังเกตต่อไปว่าองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กยังคงยืนหยัดเพื่อดำเนินการตามมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจว่าจะทำให้ทวีปนี้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เขมราจ รามฟุล แห่งศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (ITC) กล่าวว่าองค์การแอฟริกันเพื่อการมาตรฐาน (ARSO) และองค์กรมาตรฐานระดับชาติสามารถส่งเสริมการใช้มาตรฐานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับกฎระเบียบทางเทคนิควิชาการของประเทศต่างๆ ในทวีปอัฟริกา
แกดซิความีความเห็นว่า การรับเอามาตรฐานระดับระหว่างประเทศไปใช้งานเป็นประโยชน์อย่างมากมายรวมถึงการยกเลิกสิ่งที่มีความซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็นออกไป ความกลมกลืนที่เป็นจุดร่วมของภาคส่วนสาขาต่างๆ และมาตรฐานที่มีการปรับให้สอดคล้องกันภายใต้ AfCFTA
การยอมรับร่วมของมาตรฐาน การรับรองโดยผู้ให้บริการจะทำให้ธุรกิจและบุคคลมีความพึงพอใจมากขึ้นในข้อกำหนดเชิงคับในการปฏิบัติงานในตลาดซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ องค์กรระดับภูมิภาคต่างๆ เหล่านั้น ยังเริ่มเปลี่ยนแปลงวิธีคิดซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ไปสู่ความสำเร็จในด้านการค้าระหว่างประเทศได้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามได้ในครั้งหน้าซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2427.html
Related posts
Tags: Quality, safety, Standardization, Sustainability
ความเห็นล่าสุด