บทความเรื่องมาตรฐานนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต ตอนที่ 1 และ มาตรฐานนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต ตอนที่ 2 ได้กล่าวถึงความสำคัญของมาตรฐานที่มีต่อธุรกิจอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน โดยที่การค้าระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมเป้าหมายข้อที่ 1 ขององค์การสหประชาชาติในการยุติความยากจนในทุกรูปแบบทั่วโลกโดยมีกลุ่มประเทศ CARICOM (ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน) ซึ่งมีเครือข่ายความร่วมมือในระดับภูมิภาคกับหลายองค์กรรวมทั้งความตกลงทางการค้าในกลุ่มประเทศแอฟริกา เช่น AfCFTA เพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศด้วย สำหรับบทความในตอนที่ 3 จะกล่าวถึงเรื่องของมาตรฐานและการรับรองในกลุ่มอัฟริกันดังต่อไปนี้
การส่งเสริมมาตรฐานความยั่งยืนภายใต้โครงการรับรองเครื่องหมายอีโคขององค์กรแอฟริกันกำลังได้รับความสนใจและเป็นวิธีการในเรื่องฉลากสิ่งแวดล้อมและการสร้างแบรนด์ของภาคเกษตรและท่องเที่ยว ประมง และผลิตภัณฑ์ป่าไม้เพื่อตลาดสากล
แกดซิควา เลขาธิการของสมาคมมาตรฐานแห่งซิมบับเว (SAZ) และประธานองค์กรมาตรฐานแอฟริกัน (ARSO) กล่าวว่าการอำนวยความสะดวกระหว่างประเทศในแอฟริกาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเป็นอันดับแรก การค้าระหว่างแอฟริกาจะอำนวยความสะดวกด้านการสร้างห่วงโซ่คุณค่าของภูมิภาค ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะสามารถส่งออกไปยังภายนอกหรือหมุนเวียนอยู่ภายในตลาดแอฟริกาได้ และยังเห็นได้ชัดว่าแนวโน้มการค้าจะต้องเกี่ยวข้องกับดิจิตอลซึ่งผู้ประกอบการอย่างเจ้าของเอสเอ็มอีและองค์กรขนาดเล็กมากจำเป็นต้องปรับตัวตามให้ทันความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
นอกจากนี้ ในด้านความสัมพันธ์ทางการค้าภายในภูมิภาค มีการโฟกัสเพิ่มขึ้นไปที่ภูมิภาคแคริบเบียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรระดับภูมิภาคอย่าง Forum of the Caribbean Group of African, Caribbean and Pacific States (CARIFORUM) ซึ่งรวมถึงรัฐสมาชิกของ CARICOM และสาธารณรัฐโดมินิกัน
โอมาร์ ซีอีโอขององค์กรภูมิภาค CARICOM (CROSQ) กล่าวว่า ความสัมพันธ์เหล่านี้กับ CARIFORUM เป็นโอกาสที่เพิ่มขึ้นสำหรับการฝึกอบรม การค้า และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามประเทศรวมทั้งความพยายามในระดับที่เท่าเทียมกันสำหรับมาตรฐานและระบบการประเมินความสอดคล้องในพื้นที่ที่มีความสนใจร่วมกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพนั้น โอมาร์และลาโตยาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทางเทคนิควิชาการของ CROSQ ด้านการสื่อสารและข้อมูล ยอมรับว่าโอกาสทางการค้าและการลงทุนกำลังเพิ่มขึ้นและขยายไปสู่เรื่องงานบริการที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม ธุรกิจต่างๆ กำลังมองหาบริการรับรองและบริการรับรองระบบรวมถึงบริการด้านกระบวนการมากขึ้น
ลาโตยากล่าวว่า มาตรฐานสากลเป็นเรื่องสำคัญในการที่จะทำให้มั่นใจในกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการว่ามีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ มีการสับเปลี่ยนทดแทนได้ มีความเข้ากันได้ มีการใช้ทรัพยากรที่ดีขึ้น และสร้างการสื่อสารที่ดีขึ้นข้ามเขตแดนและมีการกำหนดอีกจำนวนมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดเช่นนี้จะเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ
ภูมิภาคนี้มีการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากตามโครงการให้ทุนของโครงการ TradeComeII ของแอฟริกา แคริบเบียน และรัฐในกลุ่มแปซิฟิค (Pacific Group of States: ACP) เพื่อให้การศึกษาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เชิงบังคับรวมทั้งภาคเอกชนในด้านความสำคัญของแนวทางนี้เพื่อให้วิธีการมีความสะดวกสำหรับวิธีที่ธุรกิจจะปฏิบัติด้วยเป้าหมายรวมเพื่อเข้าถึงตลาดที่ใหญ่กว่า ทั้งนี้ มีภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและลดความยากจนในกลุ่ม ACP
ลาโตยากล่าวว่า นโยบาย CROSQ Regional Quality Policy หรือที่รู้จักกันในชื่อ RQP ที่เพิ่งประกาศออกมา เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบถึงวิธีแนวคิดเหล่านี้ที่เกิดขึ้นควบคู่กับการสร้างคุณภาพด้วยวิธีการของหลายภาคส่วนที่จำเป็นพร้อมทั้งการค้าที่มีเพิ่มมากขึ้นเพื่อประเทศกำลังพัฒนาของแถบแคริบเบียน
นอกจากนี้ ความกลมกลืนและความเท่าเทียมกันของกระบวนการ คู่มือขั้นตอน และมาตรฐาน เป็นหัวใจสำคัญของการค้าซึ่งประเทศต่างๆ ยอมรับว่าองค์กรขนาดเล็กระบุว่ามีพลังในการปฏิบัติการร่วมกันอย่างเข้มแข็งมากกว่าแบบต่างคนต่างทำ
รามฟุล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการบริหารจัดการคุณภาพส่งออกของศูนย์การค้าระหว่างประเทศ เห็นด้วยว่าความสอดคล้องกับมาตรฐนสากลคือปัจจัยความสามารถของธุรกิจในการก้าวเข้าสู่ตลาดสากล มีผลสำรวจธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนาของ ITC เปิดเผยว่ามากกว่า 50% ของธุรกิจเผชิญหน้ากับความยากลำบาก และในบางประเทศมีมากถึง 70%
ในขณะที่การส่งออกเกิดขึ้นได้เนื่องจากข้อกำหนดทางเทคนิควิชาการของตลาดปลายทาง ข้อกำหนดเหล่านี้ยังรวมถึงความต้องการในการทำให้เกิดความสอดคล้องกับมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยรวมทั้งคู่มือขั้นตอนการประเมินความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องด้วย ในบริบทนี้ พบว่ามีหลายโครงการในประเทศกำลังพัฒนาได้รับการสนับสนุนระดับสถาบันในสาขาการมาตรฐานรวมทั้งความช่วยเหลือวิสาหกิจเพื่อความสอดคล้องกับตลาดที่เกี่ยวข้องด้วย
โจเซฟ วอซเนียค ซึ่งบริหารจัดการโปรแกรมการค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ICT กล่าวว่ามาตรฐานยังคงแสดงถึงโอกาสของความสอดคล้องและการได้รับการรับรองซึ่งสามารถเปิดประตูสู่ตลาดใหม่และให้คุณค่าสูงสุดในเรื่องราคาภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม
ไอซีทีได้พัฒนาเครื่องมือออนไลน์เช่น Sustainability Map ที่อนุญาตให้วิสาหกิจทั่วโลกเปรียบเทียบกับมาตรฐานส่วนตัวหรือมาตรฐานสมัครใจอีก 250 แห่งซึ่งได้รับการร้องขอโดยผู้ซื้อที่เป็นภาคเอกชน และเพื่อทำให้การประเมินความสมบูรณ์ของมาตรฐานตนเอง
รามฟุลกล่าวว่ามีสามวิธีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการเข้าถึงผลประโยชน์ของมาตรฐานสากลในการส่งเสริมการค้า คือ ประการแรก ประเทศกำลังพัฒนาควรมีบทบาทเชิงรุกในการพัฒนามาตรฐานสากล มาตรฐานเหล่านี้ควรมีการพัฒนามุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศกำลังพัฒนา ประการที่สอง มาตรฐานสากลควรมีการเข้าถึงวิสาหกิจให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอสเอ็มอีและวิสาหกิจขนาดเล็กมากที่พึ่งพางานส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนาเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว ประการที่สาม สมาชิกระดับประเทศของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติจะต้องทำงานการพัฒนามาตรฐานควบคู่ไปกับความพยายามที่จะส่งเสริมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในขณะที่สามารถลดภาระการดำเนินงานด้านความสอดคล้องด้วย
ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน (CARICOM) และกลุ่มประเทศแอฟริกาเป็นตัวอย่างของการนำมาตรฐานสากลไปใช้ในการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เข้าถึงตลาดใหม่ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อการยกระดับเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรอันเป็นการสนับสนุนเป้าหมาย SDG ข้อที่ 1 ในเรื่องการขจัดความยากจนอีกด้วย
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2427.html
Related posts
Tags: Quality, safety, Standardization, Sustainability
Recent Comments