จากพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2532 พระราชดํารัสตอนหนึ่งว่า “น้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้น ยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้ว มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอน น้ำนั้นน่ะ ในโลกมีมาก แล้วที่ใช้จริงๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน้ำที่มีอยู่ อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง” แสดงให้เห็นถึงความสำคัญเป็นอย่างมากของการบริหารจัดการน้ำ
ปัจจุบัน แม้ว่าสถานการณ์การขาดแคลนน้ำในประเทศไทยจะมีแนวโน้มจะคลี่คลายลงบ้างแล้ว แต่ข้อมูลจากเว็บไซต์แอคคิวเวทเตอร์ดอทคอม (AccuWeather.com) ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่รวบรวมสภาวะอากาศและด้านภัยธรรมชาติจากทั่วโลก ได้รายงานถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย เนื่องจากโลกมีความแปรปรวนทางธรรมชาติอยู่แล้วเป็นช่วงๆ ดังเช่นปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ประเทศไทยมีความเปราะบาง มีโอกาสเสี่ยงต่อความแปรปรวนทางสภาพอากาศอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ส่วนประเทศที่เปราะบาง 3 ลำอันดับแรก คือ ฮอนดูรัส เฮติ เมียนมา ตามลำดับ ซึ่งผลจากการความแปรปรวนทางสภาพอากาศนี้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาวะฤดูแล้งที่ยาวนานกว่าปกติ บางพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งหนักที่สุดในรอบ 30 ปี เนื่องจากฝนไม่ตกตามฤดูกาล ดังนั้น ทุกหน่วยงานจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ รวมถึงต้องมีการจัดสรรและการบริหารจัดการน้ำที่ดี เพื่อรองรับกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ที่รัฐบาลมุ่งใช้ขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่ “ประเทศไทย 4.0” โดยมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มคุณค่าหรือการประยุกต์ใช้งานและการแปรรูปของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเกษตร หรือที่รู้จักกันในชื่อของ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) หากเราต้องการเดินตามรูปแบบของระบบเศรษฐกิจใหม่นี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการบริหารจัดน้ำเพื่อรองรับและสนับสนุนต่อภาคการเกษตรที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำในชีวิตประจำวันของประชาชน รวมถึงการนำระบบน้ำหมุนเวียน (Reclaimed water) กลับมาใช้ในกระบวนการ
ต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อลดการใช้ทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำต้นกำเนิด
ดังนั้น เมื่อพิจารณาในบริบทของประเทศไทยโดยรวมแล้ว การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องมีการดำเนินการตามหลักการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันวิกฤตการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคทั้งในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 6 การพัฒนาอย่างยั่งยืนการรณรงค์เพื่อความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) กล่าวได้ว่าโชคดีที่ประเทศไทยมีศาสตร์การบริหารจัดการน้ำอันทรงคุณค่า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบิดาแห่งการจัดการน้ำของไทย ได้ทรงถ่ายทอดไว้อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายศาสตร์พระราชาที่องค์กรต่างๆ สามารถน้อมนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินภารกิจสำหรับการบริหารจัดการน้ำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ประเทศไทยกำหนดไว้ต่อไป
ที่มา: 1. https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_67316
2. https://www.salika.co/2019/03/21/world-water-day-2019/
Related posts
Tags: Climate Chage, Sustainability Management, water management
Recent Comments