โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) หรือเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ของประเทศจีนเป็นโครงการที่จุดประกายความสนใจคนทั่วโลกด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่จะเชื่อมโยงทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน
เมื่อวันที่ 26 – 27เมษายน 2562 รัฐบาลจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Belt and Road Forum – BRF ครั้งที่ 2 ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2556 และพร้อมรับผู้นำจากทั่วโลกในการเชื่อมโยงทุกประเทศเข้าด้วยกันตามเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21
โครงการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนในด้านกฎระเบียบ คู่มือขั้นตอนการดำเนินงานและมาตรฐานสากลที่มีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโครงการทั้งหมด ซึ่งการใช้มาตรฐานสากลเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อของความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ และเป็นที่สังเกตว่ามาตรฐานสากลถือเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ควบคุมกฎที่ทำงานด้านการพัฒนานโยบายการค้า เกี่ยวกับเรื่องนี้ จอห์น วอลเตอร์ ประธานไอเอสโอ ได้มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันด้วยมาตรฐานสากลและความร่วมมือระดับระหว่างประเทศ รวมทั้งการค้าตามเส้นทางสายไหม
หนึ่งในวัตถุประสงค์ของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 คือการทำให้คนสามารถเดินทางและผลิตภัณฑ์มีการขนส่งได้อย่างสะดวกราบรื่น กล่าวคือ คนจำเป็นต้องมีการทำเอกสารที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถเดินทางได้อย่างอิสระ ส่วนผลิตภัณฑ์ก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานผู้มีอำนาจกำหนดไว้รวมทั้งเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภคด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันของโลกทางกายภาพด้วยการเปลี่ยนถ่ายทรัพยากรหรือมีปฏิสัมพันธ์กันด้วยการค้าและการสื่อสารก็ตาม มาตรฐานไอเอสโอจะมีวิธีการร่วมกันในการส่งเสริมความก้าวหน้าของโลกร่วมกันต่อไป
เช่นเดียวกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ส่วนใหญ่ คุณค่าด้านเศรษฐกิจมีการสร้างสรรค์ขึ้นเมื่อมีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น ความคิดแบบสุ่มเกิดขึ้นจนสังเคราะห์เป็นแนวคิดเมื่อเราแสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น คำพูดกลายเป็นบทสนทนา นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้มาตรฐานเกิดขึ้น การแลกเปลี่ยนสิ่งของได้ก้าวหน้าขึ้นจนกลายเป็นการค้าซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังการเกิดโลกาภิวัตน์
บุคคลหนึ่งซึ่งสามารถทลายสิ่งกีดขวางระหว่างผู้กำหนดมาตรฐาน ผู้ควบคุมกฎ และธุรกิจ คือ เดวิด เฮนิก ผู้อำนวยการโครงการนโยบายการค้าแห่งสหราชอาณาจักรของศูนย์ยุโรปเพื่อเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ (European Centre for International Political Economy: ECIPE)
เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในการพัฒนานโยบายการค้าของสหราชอาณาจักรซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรฐาน การประเมินความสอดคล้อง และการเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบตามความตกลงทางการค้า เขาผู้นี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งร่วมของ UK Trade Forum ซึ่งรวมเอาผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการค้าของสหราชอาณาจักรเข้ามาไว้ด้วยกันเพื่ออภิปราย วิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ
สิ่งที่เฮนิกคำนึงถึงในเรื่องบทบาทของมาตรฐานในการสนับสนุนการค้า คือเขามองเห็นว่าในเมื่อมีการค้ากับประเทศต่างๆ มากขึ้น ก็จำเป็นจะต้องใช้กฎระเบียบหรือมาตรฐานเดียวกัน เขาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างรัดกุมถึงธุรกิจที่รับเอาวิธีคิดและวิธีปฏิบัติที่คล้ายกันไปใช้ตามมาตรฐานแม้ว่าจะมีประจักษ์พยานอยู่แล้วว่ามาตรฐานมีความสำคัญต่อการค้าเป็นอย่างมากจากการวิจัยของหน่วยงานนวัตกรรมของไอเอสโออยู่แล้ว
ศูนย์ยุโรปเพื่อเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศมีภารกิจอย่างไรบ้าง และมีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐานไอเอสโออย่างไร โปรดติดตามได้ในครั้งหน้า ซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2430.html
2. https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/apr2561-3.pdf
3. https://www.springnews.co.th/global/484622
Related posts
Tags: Economy, ISO, Standardization
Recent Comments