บทความเรื่อง โลกกำลังก้าวสู่เส้นทางสายไหมด้วยการมาตรฐาน ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) หรือเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ของประเทศจีนซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะเชื่อมโยงทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน โดยมีพื้นฐานของกฎระเบียบ คู่มือขั้นตอนการดำเนินงาน และมาตรฐานสากลช่วยรองรับการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังได้แนะนำให้รู้จักกับเดวิด เฮนิก ผู้อำนวยการโครงการนโยบายการค้าแห่งสหราชอาณาจักรของศูนย์ยุโรปเพื่อเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ (European Centre for International Political Economy: ECIPE) ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนที่ 2 ดังต่อไปนี้
ECIPE เพิ่งได้รับการก่อตั้งเมื่อเร็วๆ นี้เพื่อสำรวจผลกระทบของการมาตรฐานระหว่างประเทศต่อการค้าและปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
จากการประเมินผลกระทบของ BRI ต่อการค้าเมื่อเร็วๆ นี้ มีความชัดเจนว่าโครงการกำลังนำไปสู่ความเจริญเติบโตทั้งในด้านการนำเข้าและส่งออก ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2560 (ค.ศ.2017) ปริมาณการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศจีนและประเทศในแถบ BRI มีถึง 1,440 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสูงขึ้น 13.4% นับจากปี 2559 (ค.ศ.2016) และมีปริมาณ 36.2% ของการค้าส่งออกและนำเข้าของประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม การค้าเช่นนี้ไม่อาจเกิดขึ้นถ้าประเทศต่างๆ ไม่เห็นด้วยที่จะทำการค้าร่วมกัน เฮนิกชี้ให้เห็นว่าการขับเคลื่อนความร่วมมือที่มีประสิทธิผลเป็นเพียงหนึ่งในเหตุผลที่ประเทศจีนเห็นว่าการมาตรฐานมีความจำเป็นและเป็นกลยุทธ์ที่ต้องมีในโครงการ BRI ตามหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารของกลุ่มผู้นำ BRI หัวข้อ Action Plan on Belt and Road Standard Connectivity (2018-2020)
นอกจากนี้ การนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อไปในมาตรฐานของจีนกับมาตรฐานระหว่างประเทศและการอำนวยความสะดวกทางการสื่อสารตลอดเส้นทางของระบบ BRI แผนการมีการระบุว่าการมาตรฐานเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันของนโยบาย การอำนวยความสะดวก การค้า กองทุน และการรับรู้ของสาธารณชน
มีคำถามว่าแล้วมาตรฐานเป็นตัวแทนของอุปสรรคทางการค้าหรือไม่ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องในระดับที่มีสมรรถนะที่ยอมรับได้และความปลอดภัยจำเป็นต้องใช้ความพยายามและค่าใช้จ่ายมากกว่าผลิตภัณฑ์พื้นๆ ทั่วไป
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสียทั้งหมด หากแต่การกำหนดอุปสรรคเป็นสิ่งที่จำเป็นในสถานที่ที่เหมาะสม คำถามก็คือ เมื่อมีบางอย่างที่เกี่ยวโยงไปถึงการค้า ใครจะเป็นคนบอกว่านั่นคือสถานที่ที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นแล้วสถานที่ที่ไม่เหมาะสมคือที่ไหน อุปสรรคใดเป็นสิ่งที่ไม่สมควรมีหรือเป็นอุปสรรคที่ไม่จำเป็น แล้วอุปสรรคใดจะช่วยให้เรากำหนดกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องและทุกคนได้รับประโยชน์
ย้อนกลับมาที่งานของ ECIPE ซึ่งมีรากฐานมาจากธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมของการค้าเสรีและการจัดลำดับทางเศรษฐกิจของโลกที่เปิดกว้าง เฮนิกได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการเจรจาหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนข้ามแอตแลนติก (Transatlantic Trade and Investment Partnership: TTIP) ตลอดระยะเวลาสามปีครึ่งและปัจจุบัน ก็มีการจัดตั้งการเจรจาเพื่อพัฒนาวิธีการให้มีความต่อเนื่องตามกฎระเบียบ การจัดการกับอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้การเจรจาหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนข้ามแอตแลนติก (TTIP) และ ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) (ปัจจุบัน TPP ได้เปลี่ยนชื่อเป็น CPTPP หรือข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก) มีความแตกต่างทางเทคนิคอย่างมีนัยสำคัญแต่ก็ยังคงมีอยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญซึ่งได้แก่การขจัดอุปสรรคต่อการค้าออกไป
CPTPP เป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ
สำหรับ BRI เป็นการกำหนดความหมายใหม่ของของความสัมพันธ์ทางการค้า ซึ่งทำให้ขอบเขตของภูมิภาคและวัฒนธรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่มีอยู่เพื่อร่วมกันทำให้มีการวางโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ที่ทำให้เกิดการค้าขึ้น ซึ่งเป็นส่วนของการวางแผนระยะยาวในการยกระดับมาตรฐานการครองชีพในประเทศจีน มุมมองทางเศรษฐกิจและวัตถุประสงค์ทางสังคมมีความแตกต่างจากความตกลงระดับโลกที่มีการกำหนดรูปแบบไว้ด้วยประเทศคู่ค้าประมาณ 60 ประเทศ ซึ่งมีความคาดหวังเป็นของประเทศต่างๆ ต่อโครงการนี้ โดยมีหลักการพื้นฐานที่ว่าการค้าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างคุณค่าร่วมและมีการยอมรับร่วมกันเป็นสากล
หนึ่งในการค้นพบที่นำไปสู่การพัฒนาเส้นทางสายไหมดั้งเดิมคือหนอนไหมที่เป็นผีเสื้อกลางคืนซึ่งถูกพันธนาการจากใยของมันเอง เรื่องราวเกี่ยวกับไหมเต็มไปด้วยเทพนิยายและเรื่องเล่ามากมายเช่นการค้นพบวิธีการผลิตไหมโดยบังเอิญของจักรพรรดินีพระองค์หนึ่งของจีนเนื่องจากรังไหมได้ตกลงไปในถ้วยชาและเกิดการสาวไหมขึ้นมาจนเห็นลายไหมอันสวยงาม
อย่างไรก็ตาม การค้นพบเส้นไหมนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนในที่สุด ไหมเป็นผลิตภัณฑ์ที่เลิศหรูและทรงคุณค่าของโลกและการพัฒนานี้ยังเป็นคัมภีร์ที่นำไปสู่พลังของนวัตกรรมและความอยากรู้อยากเห็น เส้นทางสายไหมเป็นพลังที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าเส้นไหมจะมีความบอบบาง แต่มันก็สามารถถักทอเป็นใยจนเกิดความแข็งแกร่งอย่างไม่มีใครเหมือนได้
การถักทอผ้าไหมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเปรียบเสมือนการค้าโลกที่มีความราบรื่นและได้รับประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไอเอสโอให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก และท้ายที่สุดแล้ว มาตรฐานสากลจะทำให้องค์กรสามารถสร้างนวัตกรรม โอกาสทางการค้า การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2430.html
2. https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/apr2561-3.pdf
3. https://www.springnews.co.th/global/484622
Related posts
Tags: Economy, ISO, Standardization
ความเห็นล่าสุด