• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,681 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,985 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,949 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,615 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,683 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — ตุลาคม 30, 2019 8:00 am
มาตรฐานสากลกับวันอาหารโลก
Posted by Phunphen Waicharern with 517 reads
0
  

WORLD  FOOD DAY  2019จากรายงานของยูนิเซฟหรือกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ พบว่าประชากรเด็กของโลก มีหนึ่งในสามคนที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ประสบปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ หากไม่มีน้ำหนักน้อยเกินไปก็มีน้ำหนักมากเกินไป ไอเอสโอจึงเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้

ปัจจุบันโลกกำลังประสบปัญหาวิกฤตด้านโภชนาการ  มีประชากรโลกมากกว่า 800 ล้านคนประสบกับความหิวโหย และในจำนวนที่ใกล้เคียงกันนี้ ประสบกับปัญหาโรคอ้วน ขณะเดียวกัน อย่างน้อยเด็กจำนวนครึ่งหนึ่งที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีก็ประสบกับปัญหาการขาดวิตามิน และโรคอ้วนในเด็กก็ยังคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

โลกาภิวัตน์ ความเป็นเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความขัดแย้งทางการเมืองได้ส่งผลต่อสถานการณ์ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในหลายรูปแบบ และเนื่องในวันอาหารโลกซึ่งตรงกับวันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี ปีนี้ ยังคงมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้วยการส่งเสริมความตระหนักในระดับโลกและลงมือทำบางอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าประชากรโลกจะปราศจากความหิวโหยและมีภาวะโภชนาการที่ดี

ไอเอสโอมีมาตรฐานมากกว่า 1,600 ฉบับสำหรับสาขาการผลิตอาหารที่ทำเพื่อปรับปรุงวิธีการทางเกษตรกรรมและการกระจายสินค้าและส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความปลอดภัยของอาหารและโภชนาการด้วย นอกจากนี้ มาตรฐานดังกล่าวยังมีส่วนร่วมโดยตรงต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 2 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะยุติความหิวโหย ทำให้บรรลุความมั่นคงด้านอาหารและปรับปรุงโภชนาการรวมทั้งส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนให้ได้ภายในปี 2030

มาตรฐานในตระกูล ISO 22000 ด้านการบริหารจัดการความปลอดภัยของอาหารช่วยให้องค์กรระบุและควบคุมเรื่องของความปลอดภัยด้านอาหาร  ไอเอสโอมีมาตรฐานจำนวนหนึ่งที่มีเป้าหมายในเรื่องวิธีการผลิตที่มีความรับผิดชอบและความยั่งยืน เช่น มาตรฐาน ISO 26000 เพื่อความรับผิดชอบทางสังคม และมาตรฐาน ISO 20400 เพื่อการจัดซื้อที่ยั่งยืน ซึ่งช่วยส่งเสริมสภาพการทำงานที่มีจริยธรรมและส่งเสริมวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อที่มีจริยธรรมตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหาร

การพัฒนาเมื่อเร็วๆ นี้ ข้อกำหนดทางเทคนิควิชาการ ISO/TS 26030 ในภาคส่วนอาหารในการนำมาตรฐาน ISO 26000 ไปใช้ จะมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในการยุติความหิวโหยและโภชนาการที่ดีขึ้นทั่วโลก

มาตรฐานมีการให้แนวทางที่ชัดเจนถึงวิธีการที่จะรวมเอาประเด็นหลักของความรับผิดชอบทางสังคมเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร จึงสามารถกระตุ้นให้ธุรกิจสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีจริยธรรมและมีความยั่งยืน

ไอเอสโอมีมาตรฐานอื่นๆ อีกหลายมาตรฐานรวมทั้งเอกสารแนวทางสำหรับบางภาคส่วนที่ต้องใช้เรื่องเฉพาะทางเป็นพิเศษ เช่น ชุดมาตรฐาน ISO 34101 เกี่ยวกับโกโก้ที่สามารถสอบกลับถึงที่มาได้และมีความยั่งยืนซึ่งไอเอสโอเพิ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ มีการให้แนวทางวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการสอบกลับถึงแหล่งที่มาของเมล็ดโกโก้ได้ดีขึ้น และมีสภาพการทำงานที่มีการปรับปรุงเพื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งซัพพลายเชนของการผลิตโกโก้

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ดีคือ เอกสารความตกลงเชิงปฏิบัติการสากลที่มีชื่อว่า IWA 29, Professional farmer organization – Guidelines ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างองค์กรที่มีเจ้าของฟาร์มที่เป็นมืออาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของฟาร์มรายเล็กที่กำลังเข้าสู่ตลาด เพื่อช่วยให้สามารถเข้าถึงตลาดโลกได้

นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานอีกหลายฉบับที่ช่วยยกระดับภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ISO 4254 Agricultural machinery, ISO 15077 Tractors and self-propelled machinery for agriculture, ISO 22005 Traceability in the feed and food chain, ISO/TS 22002 Prerequisite programs on food safety, ISO/TS 15495 Milk, milk products and infant formulae-Guidelines for the quantitative determination of melamine and cyanuric acid by electrospray ionization liquid chromatography tandem mass spectrometry (LC-MS/MS) เป็นต้น

มาตรฐานอาหารที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งภาคการเกษตรด้วย ทำให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากแนวทางและวิธีปฏิบัติของมาตรฐานไอเอสโอนับตั้งแต่การเพาะปลูก ไปจนถึงการผลิตและการบรรจุหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการตอบสนองต่อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ และทำให้เกิดความปลอดภัยและความยั่งยืน ซึ่งสามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาของโลกในด้านโภชนาการและการยุติความหิวโหยได้

ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2442.html
         2. https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/archive/pdf/en/iso_and_food_en.pdf



Related posts

  • ไอเอสโอกำหนดมาตรฐานเพื่อชายหาดที่สดใสไอเอสโอกำหนดมาตรฐานเพื่อชายหาดที่สดใส
  • บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ISO 14001:2015 ตอนที่ 1บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ISO 14001:2015 ตอนที่ 1
  • ปกป้องข้อมูลบนคลาวด์ด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 2ปกป้องข้อมูลบนคลาวด์ด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 2
  • เพื่อผู้ป่วยที่รัก – “มาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์” ตอนที่ 1เพื่อผู้ป่วยที่รัก – “มาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์” ตอนที่ 1
  • คู่มือเพื่อการปรับปรุงระบบคุณภาพเครื่องมือแพทย์คู่มือเพื่อการปรับปรุงระบบคุณภาพเครื่องมือแพทย์

Tags: Agriculture, safety, Standardization, Sustainability

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑