เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2562 สภาเศรษฐกิจโลกได้เผยแพร่บทความของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตซึ่งช่วยเตือนให้ประชากรโลกมีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับภัยที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพจิตในอนาคต
ปัจจุบัน ความผิดปกติของสุขภาพจิตเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การเกิดโรคภัยและการเสียชีวิตทั่วโลก และอาจนำไปสู่ค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจได้ถึง 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2573 (ค.ศ.2030)
ปัจจุบัน มีประชากรทั่วโลกราว 300 ล้านคนต้องประสบปัญหาและทนทุกข์จากโรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายอันเป็นสาเหตุอันดับสองของการเสียชีวิตในหมู่คนที่มีอายุน้อย
ความเจ็บป่วยด้านจิตเวชส่วนใหญ่แล้วสามารถรักษาได้ มีการประมาณการว่าราว 2 ใน 3 ของคนทั่วโลกจะประสบปัญหาด้านจิตเวชและไม่ได้รับการแก้ไข มีการศึกษาของประเทศอังกฤษได้ทำการศึกษาผู้ใหญ่ 500 คนซึ่งพบว่าหนึ่งในสี่มีประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตและใช้เวลารอนานกว่า 3 เดือนเพื่อพบผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวช และ 6% ต้องรออย่างน้อยถึง 1 ปี และในสถานที่ห่างไกลหรือขัดสน เป็นเรื่องยากที่จะหาสถานที่บำบัดรักษาได้
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มีผู้ใช้งานสื่อใหม่อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน เซนเซอร์ แชทบอท โซเชียลมีเดีย ผู้ช่วยที่เป็นเสียงดิจิตอล ไปจนถึงเอไอ และแมชชีนเลิร์นนิ่ง เครื่องมือเหล่านี้ทำให้มีโอกาสใหม่ๆ ในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพจิต
สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพจิต มีการลงทุนถึง 3 เท่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ทำให้มีมูลค่าสูงถึง 602 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2561 (ค.ศ.2018) โดยสรุป มีการใช้เทคโนโลยีในการดูแลรักษาสุขภาพจิตอย่างกว้างขวาง เช่น ผู้บริโภคเปิดกว้างและรับผู้ปฏิบัติงานในอังกฤษ โดย 75% เป็นคนหนุ่มสาว ซึ่งเห็นด้วยกับบทบาทของเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารจัดการดูแลสุขภาพจิตจึงเห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีมีข้อเสนอในแง่ของการจัดเตรียมและการปรับปรุงการเข้าถึงในการดูแลสุขภาพจิตได้ดีกว่า และมีคนใช้โอกาสนี้เป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพจิตมากขึ้น
จากข้อมูลของ Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME), Global Burden of Disease เมื่อปี 2560 (ค.ศ.2017) พบว่าประชากรโลกจำนวน 3.76% เป็นโรควิตกกังวล จำนวน 3.44% เป็นโรคซึมเศร้า จำนวน 1.4% เป็นโรคจิตเวชจากการดื่มสุรา จำนวน 0.94% เป็นโรคจิตเวชจากการใช้ยา จำนวน 0.6% เป็นโรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว จำนวน 0.25% เป็นโรคจิตเวช และจำนวน 0.21% เป็นโรคที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติซึ่งมีส่วนทำให้น้ำหนักตัวมากหรือน้อยกว่าปกติ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นสำหรับรัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำทางธุรกิจและนักปฏิบัติทั้งหลายที่จะต้องหาทางบำบัดรักษาคนเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิผล โดยในขั้นแรกจะต้องพิจารณาในเชิงจริยธรรมและมีงานวิจัยที่มีหลักฐานมารองรับ มีการพบว่าแอปพลิเคชันที่ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตไม่ได้รายงานหลักฐานจากการรักษาทางคลีนิคที่มีการควบคุมที่จะสนับสนุนการรักษาอย่างมีประสิทธิผล หรือแม้แต่หากมีการทำเช่นนั้นแล้ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอาจทำให้งานวิจัยนั้นล้าสมัยได้ ประกอบกับการขาดกรอบการทำงานที่มีการใช้ข้อมูล Big data และจริยธรรมในการดำเนินงาน จึงมีผลต่อเรื่องข้อมูลที่ต้องมีนโยบายด้านข้อมูลที่รัดกุม มีความโปร่งใสและคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวด้วย
ปัจจุบัน Global Future Council on Technology for Mental Health จะทำการสำรวจจุดแข็งและข้อจำกัดของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอไอและแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อช่วยในเรื่องของการใช้แอปพลิเคชันเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสุขภาพจิตทั่วโลกสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิผล และได้รับการดูแลด้านข้อมูลความเป็นส่วนตัวอย่างรัดกุมเพียงพอต่อไป
ที่มา: https://www.weforum.org/agenda/2019/11/future-of-mental-health-technology/
Related posts
Tags: Future Management, Future watch, Health, Healthcare
ความเห็นล่าสุด