• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,417 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,256 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,770 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,200 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,171 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Occupational health and safety Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Sustainability Management | Environment | Energy Management | — November 22, 2019 8:00 am
นักวิทยาศาสตร์เตือนภาวะโลกร้อนรุนแรงกว่าที่คิด
Posted by Phunphen Waicharern with 599 reads
0
  

THE SEVERE THREAT OF  CLIMATE CHANGEนักวิทยาศาสตร์มากกว่า 11,000 คนใน 153 ประเทศ มีความเห็นตรงกันว่าภาวะโลกร้อนเป็นภัยคุกคามที่กำลังจะทำให้โลกเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล และยังเป็นภัยที่เกิดขึ้นรวดเร็วเกินกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ พร้อมทั้งได้ร่วมกันลงนามในเอกสาร Statement on climate change เมื่อเร็วๆ นี้

เอกสารดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ในวารสารไบโอซายส์  ซึ่งมีการวิเคราะห์แนวโน้มในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งรวมถึงเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานฟอสซิล  การหยุดตัดไม้ทำลายป่าไปจนถึงเรื่องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์

นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าโลกของเรากำลังเผชิญกับภาวะฉุกเฉินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อที่จะทำให้อนาคตที่ยั่งยืนเกิดขึ้นจริง เราจะต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบนโลกนี้โดยการคำนึงถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบนิเวศตามธรรมชาติ

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าโลกของเราไม่มีเวลาจะเสียอีกต่อไปแล้ว วิกฤตภาวะโลกร้อนได้มาถึงแล้วและรุนแรง รวดเร็วกว่าที่พวกเขาคาดการณ์ไว้มาก ทำให้เป็นภัยคุกคามอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติและมนุษยชาติ

ศาสตราจารย์วิลเลียม ริพเพิล จากมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท และผู้เขียนเอกสารร่วมได้กล่าวว่าพวกเขาได้รับแรงผลักดันให้ริเริ่มจัดทำเอกสารดังกล่าวเนื่องจากได้เห็นแล้วว่าโลกกำลังเผชิญกับสภาพภูมิอากาศรุนแรงแบบสุดขั้ว ดังนั้น จึงมีเป้าหมายหลักในการกำหนดตัวชี้วัดที่บ่งบอกสัญญาณของอันตรายและผลของภาวะโลกร้อนมากกว่าแค่เพียงแก้ไขปัญหาการปลดปล่อยภาวะโลกร้อนและการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลก ซึ่งตัวชี้วัดที่ควรมีการติดตามนั้นรวมถึงความเจริญเติบโตของจำนวนประชากร การบริโภคเนื้อสัตว์ การสูญเสียป่าไม้ การบริโภคพลังงาน การอุดหนุนพลังงานฟอสซิล และการสูญเสียทางเศรษฐกิจรายปีไปจนถึงเหตุการณ์สภาวะอากาศรุนแรงแบบสุดขั้ว

ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงใช้ตัวชี้วัดเหล่านั้นเป็นสัญญาณเตือนภัยอันตรายให้ผู้กำหนดนโยบาย และสาธารณชนมีความเข้าใจว่าวิกฤตครั้งนี้มีความรุนแรงเพียงใด และจำเป็นต้องมีการจัดลำดับความสำคัญในปฏิบัติการต่างๆ รวมทั้งมีการติดตามความก้าวหน้าด้วย

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการออกมาส่งสัญญาณเตือนภัยโลกร้อน เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 40 ปีของการประชุมภาวะโลกร้อน และเพียงแค่วันเดียวก่อนการเผยแพร่เอกสารดังกล่าว สหรัฐอเมริกาก็ได้ออกมาแจ้งองค์การสหประชาชาติอย่างเป็นทางการว่าจะถอนตัวจากข้อตกลงปารีส

ย้อนไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกรวม 50 ประเทศได้มาพบกันในการประชุมภาวะโลกร้อนครั้งแรกเมื่อปี 2522 (ค.ศ.1979) ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเห็นพ้องกันว่าภาวะโลกร้อนในขณะนั้นเป็นแนวโน้มที่จำเป็นต้องมีการเตือนภัยและเร่งปฏิบัติการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โลกก็ได้รับการเตือนภัยในเรื่องดังกล่าวอีกหลายครั้ง เช่น ในการประชุมสุดยอดริโอ 1992 เกียวโตโปรโตคอล 1997 และข้อตกลงปารีส 2015 เป็นต้น

จากนี้ไป วิกฤตภาวะโลกร้อนจึงต้องได้รับการดูแลแก้ไขจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  และไม่เพียงแค่การวิจัยและเผยแพร่ของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่จะต้องทำตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ ไปจนถึงการสร้างความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจให้แก่สาธารณชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขภาวะโลกร้อนอย่างจริงจังและเป็นระบบโดยคำนึงถึงระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติด้วย

ที่มา: 1. https://futurism.com/the-byte/11k-scientists-please-panic-climate-change-kill-us

         2. https://academic.oup.com/bioscience/advance-article-abstract/doi/10.1093/biosci/biz088/5610806?redirectedFrom=fulltext

         3. https://www.theguardian.com/environment/2019/nov/05/climate-crisis-11000-scientists-warn-of-untold-suffering



Related posts

  • 3 ขั้นตอนสำคัญ ในการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน3 ขั้นตอนสำคัญ ในการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน
  • ออสเตรเลียรุกบังคับใช้ภาษีคาร์บอนออสเตรเลียรุกบังคับใช้ภาษีคาร์บอน
  • มือถือเก่าใช้สอดแนมผู้ลักลอบตัดไม้เถื่อนและล่าสัตว์ป่ามือถือเก่าใช้สอดแนมผู้ลักลอบตัดไม้เถื่อนและล่าสัตว์ป่า
  • เคลล็อกสยายปีกห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนเคลล็อกสยายปีกห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
  • แพ็ทเทคโนโลยีดิจิตอลล่าสุดจากซีร็อกซ์แพ็ทเทคโนโลยีดิจิตอลล่าสุดจากซีร็อกซ์

Tags: Climate Change, Environment, Sustainability, Sustainability Management

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑