• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — ธันวาคม 4, 2019 8:00 am
เอไอกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรม ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 1182 reads
0
  

AI and its Trustworthinessในยุคที่เอไอได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์และช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ มนุษย์เรายังต้องเผชิญปัญหาด้านจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจด้วยเอไอด้วย  ไอเอสโอเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้พัฒนามาตรฐานสากลสำหรับเอไอโดยคำนึงถึงมุมมองด้านจริยธรรม

เมื่อเรามาถึงยุคของเอไอ เทคโนโลยีอัตโนมัติและเทคโนโลยียานยนต์ มีความก้าวหน้าไปมาก รถยนต์อัตโนมัติเป็นงานวิจัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในเอไอ รถยนต์ชื่อดังจากกูเกิ้ล อูเบอร์ และเทสล่าได้มีการสำรวจวิธีที่จะทำให้รถยนต์เรียนรู้ที่จะขับขี่อย่างถูกต้องด้วยการใช้การเรียนรู้ด้วยตนเองแบบ deep learning แต่การปล่อยให้เครื่องยนต์เรียนรู้ด้วยตัวเองจะทำให้เสี่ยงต่อความผิดพลาดได้ จึงมีการนำเรื่องของจริยธรรมมาพิจารณาก่อน สิ่งนี้เป็นความท้าทายต่อแนวคิดแบบเดิมในเรื่องความรับผิดชอบเชิงจริยธรรม นั่นคือ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และใครจะเป็นผู้ยึดถือวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

ไอเอสโอเล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาการร่วม ISO/IEC JTC 1/SC 42, Artificial intelligence ขึ้นเพื่อช่วยพัฒนามาตรฐานสากลสำหรับเอไอ

มิแคล ยาลมาชอน ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของ SIS ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดนในคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้อธิบายถึงการที่มาตรฐานสากลจะช่วยให้มีการสร้างและใช้พื้นฐานทางจริยธรรมในระบบเอไอในอนาคตดังต่อไปนี้

เอไอใช้เทคโนโลยีที่ทำให้ข้อมูลมีการรวบรวมและนำไปผ่านกระบวนการในรูปแบบใหม่และเป็นไปโดยอัตโนมัติมากขึ้น ทุกวันนี้ เอไอมีความสามารถในการจัดการกับข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต และแนวโน้มที่จะมีผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องทางสังคมและเชิงจริยธรรมตามมา  ถ้ากล่าวถึงโรงงานผลิต แขนกลหุ่นยนต์ต้องทำงานร่วมกับมนุษย์อย่างใกล้ชิด ส่วนการขนส่งก็ใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น รถยนต์ไร้คนขับก็ต้องใช้ระบบผู้ช่วยทำการขับขี่ ดังนั้น มนุษย์ซึ่งต้องไว้วางใจเครื่องจักรจะต้องมั่นใจว่าในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์หรือเอไอ  ต้องไม่มีอะไรผิดปกติ แต่หากจะมีประเด็นอะไรขึ้นมาก็ต้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดได้อย่างไร และจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไรในอนาคต

ดร.เดวิด ฟิลิป ผู้ประสานงานของกลุ่มงานคณะอนุกรรมการวิชาการร่วม ISO/IEC JTC 1/SC 42, Artificial intelligence กล่าวถึงมาตรฐานไอเอสโอว่ามีการระบุคุณลักษณะบางอย่างของความไว้ใจได้ เช่น ความรับผิดชอบ อคติ ความสามารถในการควบคุม ความสามารถในการอธิบาย ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และความมั่นคงปลอดภัย แต่ก่อนที่จะพิจารณาถึงเรื่องเหล่านี้ จะต้องไปทวนสอบความโปร่งใสของผลลัพธ์และพฤติกรรมของระบบเสียก่อน  ซึ่งก็คือผลลัพธ์ของระบบเอไอที่มีความโปร่งใสหรือตรวจสอบได้ ดังนั้น เพื่อที่จะทำให้เกิดความไว้วางใจได้ จึงจำเป็นต้องเข้าใจในการทำงานภายในของอัลกอริทึมโดยมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้

ระบบเอไอมีผู้ใช้งานมากมายนับตั้งแต่อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพไปจนถึงอุปกรณ์มือถือด้วยข้อกำหนดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และยังแตกต่างกันทั้งในแต่ละตลาดและแต่ละภูมิภาคด้วย

ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเอไอจะเป็นเหมือนกล่องดำของเครื่องบินที่สามารถตอบทุกคำถามได้ แต่มันจะบอกเราว่าทำไมทางเลือกหนึ่งถึงดีกว่าอีกทางหนึ่งได้หรือไม่ และสามารถบอกทางเลือกให้เราได้จริงๆ หรือไม่   หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น  ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกันแน่ระหว่างมนุษย์กับเอไอ โปรดติดตามเรื่องราวของเอไอกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรมได้ในครั้งต่อไปค่ะ

ที่มา:  1. https://www.iso.org/news/ref2454.html
2. https://iecetech.org/Technical-Committees/2019-04/Establishing-trustworthiness-is-vital-in-our-human-machine-world



Related posts

  • เฮลซิงกิ เมืองปลอดรถยนต์ส่วนบุคคลในอีก 10 ปีเฮลซิงกิ เมืองปลอดรถยนต์ส่วนบุคคลในอีก 10 ปี
  • ร่าง ISO 14001: 2015 ก้าวสู่ขั้นสุดท้ายแล้วร่าง ISO 14001: 2015 ก้าวสู่ขั้นสุดท้ายแล้ว
  • ไอเอสโอเร่งเครื่องคุณภาพการพัฒนาซอฟต์แวร์ไอเอสโอเร่งเครื่องคุณภาพการพัฒนาซอฟต์แวร์
  • โลกต้องการให้มนุษยชาติเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบริโภคนิยมโลกต้องการให้มนุษยชาติเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบริโภคนิยม
  • บริหารอนาคตด้วยมาตรฐานสากลเพื่อความยั่งยืน ตอนที่ 1บริหารอนาคตด้วยมาตรฐานสากลเพื่อความยั่งยืน ตอนที่ 1

Tags: IT, safety, Technology

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑