สภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum : WEF) ได้เผยแพร่ผลงานของเครดิตสวิส เรื่องความไม่เท่าเทียมกันหรือความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง ประจำปี 2019
ความมั่งคั่ง (wealth) มีความสำคัญในแง่ที่ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีความหมายเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจและในระดับตัวบุคคล เมื่อพูดถึงความหมายของความมั่งคั่งในทางวิชาการแล้ว ความมั่งคั่งสามารถวัดด้วยมูลค่าทั้งหมดของทรัพย์สิน คำนวณด้วยการรวมมูลค่าของสินทรัพย์ทางการเงินเข้ากับสินทรัพย์ที่มีอยู่จริง (เช่น บ้านที่เราเป็นเจ้าของ) แล้วลบด้วยหนี้สิน (เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าผ่อนรถ) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันด้วย เช่น ความเจ็บไข้ได้ป่วยที่ไม่คาดคิดมาก่อน การสูญเสียหน้าที่การงาน และการประสบภัยธรรมชาติ เป็นต้น
นอกจากนี้ ความมั่งคั่ง ยังมีความสัมพันธ์กับโอกาสของประเทศต่างๆ ซึ่งสามารถทำให้คนใช้ชีวิตตามความต้องการได้ตามกฎพื้นฐานของมาสโลว์ที่ว่าหากคนเรามีอาหารและที่อยู่แล้ว ก็จะสามารถมองหาเป้าหมายชีวิตในระดับที่สูงขึ้นได้
สำหรับความไม่เท่าเทียมกันด้านความมั่งคั่งดังกล่าวเกิดจากการสะสมทรัพย์สินซึ่งเพิ่มขึ้นตามเวลา ซึ่งวิธีการวัดความไม่เท่าเทียมกันด้านความมั่งคั่ง คือ เปรียบเทียบทรัพย์สินผู้ที่ร่ำรวยที่สุด 1% กับทรัพย์สินของคน 99% ที่เหลือ โดยรายงานดังกล่าวระบุว่าราวกลางปี 2562 โลกมีเศรษฐี 46.8 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านคนในปี 2561 และคาดการณ์ว่าภายในปี 2583 (ค.ศ.2040) จะมีเศรษฐีเพิ่มขึ้นเป็น 63 ล้านคน
ความมั่งคั่งของครัวเรือนระดับโลกเติบโตขึ้นระหว่างปีที่แล้ว 2.6% และความมั่งคั่งของประชากรได้แตะสถิติใหม่ของโลก อยู่ที่ 70,850 เหรียญสหรัฐต่อคน สูงกว่าระดับของปีที่ผ่านมาในช่วงกลางปี โดยสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรปมีส่วนร่วมในความมั่งคั่งระดับโลกเท่ากับ 3.8 , 1.9 และ 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ
ทั้งนี้ มีข้อมูลวิเคราะห์ครัวเรือนทั่วโลกที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ประการแรก ค่าเฉลี่ยของความมั่งคั่งต่อคนมีอัตราสูงในปีที่ผ่านมา ความมั่งคั่งของโลกเพิ่มขึ้นถึง 9.1 – 360.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเท่ากับ 2.6% โดยส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป การเติบโตของความมั่งคั่งนี้มีเกินกว่าการเติบโตของประชากร ดังนั้น ความมั่งคั่งเฉลี่ยต่อคนซึ่งเป็นประชากรผู้ใหญ่จึงเพิ่มสูงถึง 70,850 เหรียญสหรัฐ
ประการที่สอง ประเทศที่มีการเติบโตของความมั่งคั่งมากที่สุดคือ สวิตเซอร์แลนด์ รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่มีการเติบโตของความมั่งคั่งน้อยที่สุด คือ ออสเตรเลีย ในแง่ของความมั่งคั่งต่อต่อคน (นับเฉพาะประชากรผู้ใหญ่) ปีนี้ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาเป็นอันดับหนึ่งด้วยอัตราการเติบโต 17,790 เหรียญสหรัฐ
ประการที่สาม ประเทศจีนมีประชากรมากที่สุดที่อยู่ในอันดับสูงสุด 10% ที่เป็นเศรษฐีถึง 100 ล้านคน ในศตวรรษที่ 21 ความมั่งคั่งในครัวเรือนทั้งหมดในประเทศจีนเพิ่มขึ้นจาก 3.7 ล้านล้านคน เป็น 63.8 ล้านคน ซึ่งเป็นรองก็แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันมีเศรษฐี 4.4 ล้านคนและแตะอันดับสูงสุดของปีนี้ และตามทันสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในการกลายเป็นประเทศที่มีการกระจายความมั่งคั่งของโลกขึ้นสู่อันดับสูงสุดถึง 10%
ประการที่สี่ ผู้ที่มั่งคั่งมากที่สุด 1% ของโลกเป็นเจ้าของความมั่งคั่งระดับโลกเกือบครึ่งหนึ่ง
ข้อมูลจากรายงานดังกล่าวแสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างภูมิภาคและประเทศต่างๆ โดยประชากร 56.6% มีทรัพย์สินน้อยกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ (เท่ากับทรัพย์สิน 1.8% ของทรัพย์สินทั้งหมดทั่วโลก)ประชากร 32.6% มีทรัพย์สินระหว่าง 10,000 – 100,000 เหรียญสหรัฐ(15.5%) ประชากร 9.8% มีทรัพย์สินระหว่าง 10,000 – 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (38.9%) และประชากร 0.9% มีทรัพย์สินเกือบครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินทั้งหมดของโลก (43.9%)
ประการที่ห้า ความมั่งคั่งของผู้หญิงเพิ่มขึ้นเพราะผู้หญิงเข้ามาทำงานมากขึ้น ความมั่งคั่งของผู้หญิงได้เพิ่มขึ้นโดยมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ชายในประเทศต่างๆ เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากการมีส่วนร่วมในด้านแรงงานหญิงเพิ่มขึ้นนั่นเอง
รายงานเครดิตสวิสยังกล่าวว่าความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งลดลงในประเทศต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นศตวรรษที่ผ่านมา แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปว่าความเหลื่อมล้ำนี้กำลังอยู่ในขาลง เนื่องจากมีหลักฐานที่มีมาก่อนหน้านี้ว่าเมื่อปี 2559 (ค.ศ.2016) อาจจะเป็นช่วงที่เกิดความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดเมื่อมองไปถึงอนาคตอันใกล้นี้
ที่มา: 1. https://www.weforum.org/agenda/2019/10/wealth-household-economie/
Related posts
Tags: Future Management, Future watch, Social
ความเห็นล่าสุด