หากเราดูภาพยนต์ไซไฟหลายเรื่องจนรู้สึกว่าเอไอและหุ่นยนต์ดูน่ากลัวละก็ อย่าเพิ่งกังวลมากจนเกินไป ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเราไม่ควรกลัวเอไอ แต่ควรนำมันไปใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากกว่า
เอไอแทรกซึมอยู่ในทุกวงการและปรากฏให้เห็นในชีวิตประจำวันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกร้านอาหาร การป้องกันไม่ให้รถชนกัน การจองตั๋วเครื่องบิน การระบุการฉ้อโกงทางการเงิน หรือการเลือกรายการออกกำลังกาย
ช่วงปี 2493 – 2503 (ค.ศ.1950 – 1960) เอไอขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องมือที่ปฏิบัติการในวิธีที่ใครๆ ก็มองว่ามี “ความชาญฉลาด” หรือเทียบเท่ากับงานที่มนุษย์ทำ นับตั้งแต่นั้นมา การใช้คอมพิวเตอร์และการสร้างข้อมูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล มีการประมาณการว่าทุกๆ วันมีการสร้างข้อมูลมากถึง 2.5 ควินทิลเลียนไบท์ (quintillion คือเลขหนึ่งที่มีศูนย์ตามหลัง 18 ตัว)
ข้อมูลที่มีเป็นจำนวนมากนี้เป็นผลจากการรวบรวมมาจากการใช้ประจำวันของการใช้โทรศัพท์มือถือ โซเชียลมีเดียและอินเทอร์เน็ต ข้อมูลนี้มีการใช้ทั่วไป เรียกว่า big data และเป็นที่ที่เอไอก้าวเข้าไปช่วยส่งเสริมและพัฒนาการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เอไอใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักรในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ในความเร็วและขนาดที่มนุษย์ไม่อาจทำได้ ดังเช่นที่เราพบเห็นได้ทั่วไปว่าภาคเอกชนได้ใช้เอไออย่างมีประสิทธิผลและมีการใช้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลมีความแม่นยำในด้านพฤติกรรมการซื้อ การทำธุรกรรมทางการเงิน โลจิสติกส์ และการทำทายแนวโน้มอนาคต เป็นต้น
องค์การสหประชาชาติยอมรับพลังของเอไอและกำลังทำงานกับภาคเอกชนเกี่ยวกับข้อมูลในรูปแบบการกุศล ข้อมูลจำพวกแบบสำรวจ สถิติ และโปรไฟล์ลูกค้า สาธารณชนสามารถนำไปใช้ประโยน์ในทางที่ดีได้มากมาย เช่น การใช้ดาวเทียมและรีโมทเซนเซอร์ด้วยเทคโนโลยีเอไอเพื่อทำนายสภาพอากาศรุนแรงสุดขั้วที่มีผลกระทบต่อเกษตรกรรมและการผลิตอาหารในประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เอง ไอเอสโอมีความตระหนักถึงความสำคัญของเอไอเป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมกับไออีซี ในการค้นหาความต้องการในการพัฒนามาตรฐานเพื่อให้เอไอสามารถให้ประโยชน์แก่สังคมได้อย่างเต็มที่
คณะกรรมการไอเอสโอ ISO/IEC JTC 1/ คณะอนุกรรมการไอเอสโอ SC 42 subcommittee เรื่อง AI ได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 2 ปีที่แล้วและได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ big data โดยมีโครงการอื่นๆ 13 โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโดยมีประธานคือนักกลยุทธ์เทคโนโลยีทางธุรกิจ คือ เวล วิลเลียม เดียบ ซึ่งจะพัฒนาและปรับใช้โครงการมาตรฐานกับเอไอเพื่อให้แนวทางสำหรับคณะกรรมการไอเอสโออื่นๆ ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเอไอ
คณะอนุกรรมการวิชาการที่ 42 มีขอบข่ายในการพัฒนาที่กว้างขวางซึ่งรวมถึงคำศัพท์พื้นฐานและความหมาย การบริหารความเสี่ยง อคติ และความน่าเชื่อถือหรือความไว้วางใจในระบบเอไอ ความแข็งแกร่งของเครือข่ายเส้นประสาท ระบบการเรียนรู้ของเครื่องจักร และภาพรวมของการให้ความสำคัญทางจริยธรรมและสังคม
ประเทศสมาชิกจำนวน 27 ประเทศกำลังมีส่วนร่วมในโครงการกับอีก 13 ประเทศที่กำลังสังเกตการณ์อยู่ มีสมาชิกที่เป็นหลักให้กับคณะกรรมการวิชาการอยู่ 3 คน ได้แก่ เรย์ วอลช์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการมาตรฐานไอซีทีแห่งมหาวิทยาลัยดับลินซิตี้ วอ ชาง ที่ปรึกษาข้อมูลดิจิตอลเพื่อห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสถาบันมาตรฐานแห่งชาติด้านมาตรฐานและเทคโนโลยี (NIST) ในสหรัฐอเมริกา และดร.ดาเร็ค บีโซลด์ ที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์จากนิวโรแคท เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และหัวหน้าเจ้าหน้าที่พฤติกรรม (CBO) จากเทเลฟอนิก้า อินโนเวชั่น อัลฟา เฮลธ์ บาร์เซโลน่า ประเทศสเปน
คณะอนุกรรมการวิชาการที่ 42 จะมีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานเอไออย่างไร โปรดติดตามได้ในครั้งต่อไปค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2451.html
Related posts
Tags: Innovation, IT, Technology
ความเห็นล่าสุด