บทความ เรื่อง “เอไอ” เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากเอไอและไอเอสโอตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ร่วมกับไออีซี ในการค้นหาความต้องการในการพัฒนามาตรฐานเพื่อให้เอไอสามารถให้ประโยชน์แก่สังคมได้ทั้งหมดโดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/IEC JTC 1/ คณะอนุกรรมการไอเอสโอ SC 42 subcommittee เรื่อง AI ซึ่งคณะกรรมการที่เป็นหลัก 1 ใน 3 คน คือ ดร.ดาเร็ค บีโซลด์ ที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์จากนิวโรแคท เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และหัวหน้าเจ้าหน้าที่พฤติกรรม (CBO) จากเทเลฟอนิก้า อินโนเวชั่น อัลฟา เฮลธ์ บาร์เซโลน่า ประเทศสเปน สำหรับบทความในตอนที่ 2 นี้จะกล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานเอไอดังต่อไปนี้
ดร.บีโซลด์ รู้ดีว่าเอไอเป็นสาขาใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายซึ่งบางครั้ง เทคโนโลยีที่มาดิสรัปสังคมและสิ่งแวดล้อมก็ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ และผลกระทบต่างๆ ตามมาเช่นกัน คณะกรรมการดังกล่าวจึงได้ทำการระบุนิยามกลไกของเอไอและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และทำการพัฒนากฎระเบียบและมาตรฐาน เพื่อให้เอไอเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ และพร้อมรับมือกับสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
คณะอนุกรรมการวิชาการที่ 42 กำลังจัดเตรียมกรอบการดำเนินงานและเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะในรูปแบบของมาตรฐานเอไอและ big data ซึ่งอาจจะมีการแบ่งปันกันกับรัฐบาลและภาคเอกชน กรอบการดำเนินงานเหล่านี้กำหนดเงื่อนไขขอบข่ายของเอไอที่อาจระบุความเป็นไปได้ที่จะกำหนดปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ รวมทั้งความปลอดภัยที่ใช้การบริหารความเสี่ยงเข้าไปช่วย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงขึ้นอยู่กับรัฐบาลทั่วโลกในการตัดสินใจว่าต้องควบคุมอะไรด้วย
เรย์ วอลช์ หนึ่งในคณะกรรมการที่เป็นหลักในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าวระบุว่าสาธารณชนต้องการให้ยอมรับว่ามีความแตกต่างระหว่างการมาตรฐาน การออกกฎหมาย และกฎระเบียบ
ข้อมูลจำนวน 90% บนโลกนี้ได้มีการสร้างขึ้นแค่สองปีที่ผ่านมา มีทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งได้มีการจัดเก็บ รวบรวม ค้นหา ทำให้ธุรกิจ รัฐบาล และนักวิจัยได้มีการจัดเตรียมเครื่องมือในการใช้งาน ซึ่งทั้งภาคเอกชนและรัฐบาลมักจะใช้มาตรฐานสากลเป็นการอ้างอิงสำหรับกฎระเบียบเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งสามสิ่งนี้จะมาบรรจบกัน ได้แก่ อุตสาหกรรม ความปลอดภัยทางสังคม และความใส่ใจเชิงจริยธรรม ดังนั้น เกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลและวิธีการใช้เอไอ คณะกรรมการฯ จึงยังคงให้ความใส่ใจกับเรื่องของสังคม โดยเฉพาะเมื่อมีการเอ่ยถึงความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ที่ดูน่ากลัวสำหรับคนทั่วไป เช่นอาจมีคนจินตนาการว่าหุ่นยนต์กำลังจะกลายเป็นผู้ร้ายเหมือนในภาพยนตร์เรื่อง Terminators ที่เข้ามาแทนที่มนุษย์ แต่ความจริงแล้ว เอไอเป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคม ทำให้มีการทำงานที่แม่นยำได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
คณะกรรมการวิชาการทั้งสามคน ได้แก่ เรย์ วอลช์ วอ ชาง และดร.ดาเร็ค บีโซลด์ มองเห็นว่างานด้านการพัฒนามาตรฐานเอไอมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ส่วนเอไอจะทำงานประจำได้ดี เช่น สัญญาตามมาตรฐานและเอกสารต่างๆ ทำให้คนมีเวลามากขึ้นในการทำงานด้านอื่น เช่น เรื่องทางจริยธรรม การคิดนอกกรอบ การศึกษาซ้ำๆ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจและท้าทายมากขึ้น เป็นต้น
อนาคตเราจะมีการใช้แอปพลิเคชั่นเอไอมากขึ้น เช่น ในเรื่องของโลจิสติกส์ที่ช่วยด้านการแพทย์ เกษตรกรรม การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกมากขึ้น ซึ่งคณะอนุกรรมการวิชาการ ISO/IEC JTC 1/SC 42 กำลังพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าวอยู่นั่นเอง
ที่มา:https://www.iso.org/news/ref2451.html
Related posts
Tags: Innovation, IT, Technology
Recent Comments