จากข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนชั้นนำของโลกซึ่งมีการกล่าวถึงในการประชุม COP25 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 13 ธันวาคม 2562 ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ระบุว่ามาตรฐานสากลช่วยให้ประเทศต่างๆ ตอบสนองพันธสัญญาในเรื่องการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมทั้งกิจกรรมชดเชยคาร์บอนได้
บทบาทของมาตรฐานสากลซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายประเทศได้รับการกล่าวถึงความสำคัญในการประชุมที่ไอเอสโอจัดขึ้นในหัวข้อ “ช่วงการเปลี่ยนไปสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนและมาตรฐาน อันเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัด การลด และการทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอน” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562 ภายใต้กรอบการทำงานของ COP 25
มิเกล นาราโค เจ้าหน้าที่โครงการขององค์การสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกล่าวว่าหากไม่มีการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality: การซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรเพื่อให้ก๊าซเรือนกระจกลดลงเท่ากับศูนย์) เป้าหมายข้อตกลงปารีสหรือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติก็คงจะไม่ประสบความสำเร็จ
ในการที่จะบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีส เราทุกคนจำเป็นต้องมีปฏิบัติการที่เร่งด่วน แต่ปฏิบัติการนั้นก็จำเป็นต้องเชื่อถือได้ด้วย
ในขณะที่ภาคส่วนต่างๆ ต้องการจะเป็นผู้ที่อยู่ในบรรยากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีการกล่าวอ้างว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์นั้น สิ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้มั่นใจในเรื่องนี้ก็คือ ความน่าเชื่อถือของมาตรฐานไอเอสโอ กฎระเบียบและแนวทางที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลนั่นเอง
มิเกลกล่าวในที่ประชุมของไอเอสโอเกี่ยวกับบทบาทของมาตรฐานที่จะบรรลุการเป็นกลางทางคาร์บอนว่า วิธีปฏิบัติของการประกวดราคาแบบไม่ยั่งยืนได้ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่สู้ดีนัก และได้นำเสนอตัวอย่างจากโครงการ UNFCCC ที่ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนในสังคมมีบทบาทในส่วนของตนเองในการบรรลุการกิจกรรมชดเชยคาร์บอน
การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมครั้งที่ 25 ของ UNFCCC COP 25 ที่เกิดขึ้นภายใต้การนำของประเทศชิลีและจัดขึ้นที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 2 – 13 ธันวาคม 2562 ซึ่งจัดขึ้นโดย ISO Climate Change Coordination Task Force (ISO TF7) ร่วมกับ Institute of Environmental Management and Assessment (IEMA) โดยการสนับสนุนของ UNFCCC และคอสตาริก้า รวมทั้ง UNE ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสเปน ประเด็นสำคัญของการประชุมนี้รวมถึงการพูดคุยและอภิปรายเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จะเปลี่ยนไปสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนและบทบาทของมาตรฐานในการที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ผ่านการวัด การลด และการทดแทนหรือแลกเปลี่ยนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การนำเสนอที่สำคัญได้รับการนำเสนอโดยลอร่า มอร่า จากรัฐบาลของคอสตาริก้า ซึ่งเป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกของประเทศที่โดดเด่นและยังมีการให้ความสำคัญกับมาตรฐานของโครงการการเป็นกลางทางคาร์บอนระดับประเทศ ผู้บรรยายรับเชิญคนอื่นๆ ได้แก่ เททสึยะ ทานากะ จากโครงการคอร์เซีย (Corsia: Carbon Offsetting and Reduction Scheme for International Aviation)
Task Force TF 7 ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอซึ่งนำไปสู่เรื่องต่างๆ ที่ค่อนข้างวิกฤตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งมีการนำมาพิจารณาในการพัฒนามาตรฐานไอเอสโอ
นิค บลิธ ประธานคณะทำงาน ISO TF7 กล่าวว่ามาตรฐานไอเอสโอได้รับการยอมรับมากขึ้นในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการทำให้องค์กรมีตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง พร้อมทั้งเน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานสากลในการช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและคาร์บอนฟุตพริ้นท์
ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีสำหรับองค์กรที่มีโครงการใหม่ในเรื่องการเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งมีข้อกำหนดและหลักการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องนี้ด้วยการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก การบริหารการจัดการ การหลีกเลี่ยง การลดและการทดแทนก๊าซเรือนกระจก
ผู้เชี่ยวชาญไอเอสโอได้นำเสนอที่การประชุม COP 25 ในเรื่องมาตรฐานใหม่ต่างๆ ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งมาตรฐาน ISO 14067: 2018 Greenhouse gases — Carbon footprint of products — Requirements and guidelines for quantification และการรับเอามาตรฐาน ISO 14090: 2019 Adaptation to climate change – Principles, requirements and guidelines ไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานเพื่อคุณภาพ ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพมานานกว่า 50 ปีแล้ว นอกจากนี้ ยังช่วยในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายและของเสียลงด้วย และปัจจุบัน ประชากรโลกทวีจำนวนมากขึ้นทุกปี การใช้ทรัพยากรต่างๆ จึงอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศด้วยการนำมาตรฐานไอเอสโอดังกล่าวไปใช้รวมทั้งดำเนินกิจกรรมกิจกรรมชดเชยคาร์บอน
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2462.html
2. https://www.iso.org/protecting-our-planet.html
Related posts
Tags: Environment, Standardization, Sustainability
ความเห็นล่าสุด