• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,134 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,511 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,207 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — January 20, 2020 8:00 am
อนาคตการเงินที่ยั่งยืนของโลก ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 3093 reads
0
  

FUTURE OF SUSTAINABLE FINANCE 1การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความยากจน และความไม่เท่าเทียมกันทำให้โลกของเราจำเป็นต้องมีระบบทางการเงินเชิงนวัตกรรม ในช่วงต้นปี 2563 วารสารไอเอสโอโฟกัส ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ปีเตอร์ เจ.ยัง ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่ 322 ด้านการเงินที่ยั่งยืน (sustainable finance) ซึ่งได้กล่าวถึงความจำเป็นของมาตรฐานสากลซึ่งทำให้เกิดการระดมทุนระดับโลกเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตของประชากรโลก

อะไรคือการเงินที่ยั่งยืนและทำไมจึงจำเป็นต้องมีการเงินยั่งยืน ปัจจุบัน เป็นที่ปรากฏอย่างชัดเจนว่าความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจได้ทำให้เกิดความมั่งคั่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกันคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นบทเรียนราคาแพง นอกจากนี้ ยังเกิดความเหลื่อมล้ำและการทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง จากข้อมูลขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ระบุว่าหากเราจะต่อสู้กับประเด็นปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนมหาศาลในการทำให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำที่มีความยั่งยืน

การที่จะตอบสนองความท้าทายดังกล่าวได้ จำเป็นต้องมีพันธสัญญาในการลงทุนของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในระบบการเงินแบบใหม่ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติได้ ซึ่งเป้าหมายนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปสู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนในช่วงเวลาไม่กี่สิบปีข้างหน้าเพื่อก้าวข้ามไปสู่ทศวรรษใหม่ที่ดีขึ้น แต่ตอนนี้ เวลาของเราหมดลงเสียแล้ว ในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศของสภาเศรษฐกิจโลกที่กรุงนิวยอร์กเมื่อเดือนกันยายน 2562 ผู้นำธุรกิจและผู้นำภาครัฐได้เข้าร่วมประชุมและให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาที่ยังขาดความก้าวหน้าด้านการเงินที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ ดังนั้น โลกของเราจะรวมเอาเรื่องของวิธีปฏิบัติในการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้การเงินในกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างไร  ปีเตอร์ เจ.ยัง ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 322, Sustainable Finance มีคำตอบให้กับโลกของเราดังนี้

ในขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปจนถึงความไม่เท่าเทียมกัน ทำไมเรื่องของการเงินที่ยังยืนจึงมีความสำคัญ   เขาได้กล่าวว่าการเงินที่ยั่งยืนเป็นหัวใจของการแก้ปัญหาความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ กิจกรรมการทางการเงินมีความหมายถึงขนาดชี้เป็นชี้ตายได้จากการที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมโลกที่มีความยั่งยืน เขาเน้นว่าสิ่งนี้จำเป็นอย่างยิ่งและเป็นหัวใจสำคัญ รวมไปถึงการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง การแก้ไขความมั่นคงทางสังคมและความสงบ รวมทั้งความยุติธรรม

มีการประมาณการว่ามีบริการทางการเงินอยู่ประมาณ 12-19% ของเศรษฐกิจโลกซึ่งเป็นภาคส่วนที่ใหญ่มากและอยู่ในหลายภาคส่วนด้วย บ่อยครั้งมีการปฏิบัติงานและมีการควบคุมที่ซ้ำซ้อนกันอย่างจำกัด การเปลี่ยนแปลงไปสู่การเงินที่ยั่งยืนจำเป็นต้องมีการประสานเชื่อมโยงกันมากขึ้น รวมทั้งการอำนวยความสะดวกมากขึ้นด้วยแนวทางร่วมกันซึ่งมีองค์ประกอบสองส่วนที่มาตรฐานไอเอสโอสามารถสนับสนุนได้ ได้แก่ การลงทุนและการมีพันธสัญญาตามเป้าหมาย

การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) จำเป็นต้องมีการลงทุนถึง 5 – 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐทุกปี ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดสรรเพิ่มทุนและการปฏิบัติด้านการเงินที่ยั่งยืนซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการเติบโตที่มีความสมดุลและทั่วถึงอันเป็นการเน้นในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) และพันธสัญญาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

ทำไมไอเอสโอจึงแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการเพื่อให้ความสำคัญกับเรื่องการเงินที่ยั่งยืน ปัจจุบัน ยังไม่มีความ หมายของคำว่าการเงินที่ยั่งยืนที่เห็นพ้องต้องกันในระดับโลกอย่างที่มีการนำไปปรับใช้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ของภาคส่วนการเงิน นอกจากนี้ ยังมีการตีความไปต่างๆ นานาว่าอะไรคือองค์ประกอบของวิธีปฏิบัติที่ยั่งยืนที่ดี  อย่างไรก็ตาม ประเด็นเหล่านี้กำลังมีความคืบหน้า การต่อสู้กับความไม่แน่นอนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 322 ที่จะช่วยให้มาตรฐานการเงินที่ยั่งยืนมีความสมบูรณ์และพร้อมใช้งานต่อไป

ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านมาตรฐานสากลทั้งบังคับและสมัครใจ ซึ่งยอมรับในประโยชน์ของมาตรฐานเป็นอย่างมาก แม้ว่าบางกลุ่มจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานเหล่านั้น แต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างก็ยอมรับมาตรฐานสากลและต้องการให้มีคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 322 เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่และมีส่วนร่วมในกระบวนการของไอเอสโอรวมทั้งชี้นำผ่านหน่วยงานมาตรฐานแห่งชาติให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานสากล

บทบาทของ ISO/TC 322 คือการสร้างกรอบการทำงานภายใต้มาตรฐานใหม่ที่อาจมีการพัฒนาเพื่อกำหนดและชี้นำกิจกรรมทางการเงินที่ยั่งยืนในบางกิจกรรม ซึ่งจะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้เลยหากคณะกรรมการวิชาการอื่นๆ ของไอเอสโอได้ได้มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอหลายคณะได้มีการนำมาตรฐานไปปรับใช้โดยตรง เช่น การสนับสนุนการบริหารจัดการและการรายงาน และจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและองค์กรภายนอก เป็นต้น

คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 322 จะสามารถบรรลุเป้าหมายบางส่วนได้ด้วยการจัดเตรียมแพล็ตฟอร์มที่มีความร่วมมือกันเพื่อการทำงานด้านการเงินที่ยั่งยืน และบางส่วนก็สามารถทำได้โดยการพัฒนามาตรฐานใหม่ด้วยความร่วมมือกับคณะกรรมการวิชาการไอเอสโออื่นๆ ตามความเหมาะสม

ส่วนเป้าหมายและความคาดหวังของคณะกรรมการวิชาการที่มีต่อมาตรฐานและแรงบันดาลใจในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าวเพื่อโลกอนาคตของการเงินที่ยั่งยืนจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามอ่านในบทความครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา:  https://www.iso.org/news/ref2469.html



Related posts

  • ไอศครีมวอลล์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไอศครีมวอลล์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • มาตรฐานกับความสำคัญในโลกอนาคต ตอนที่ 2มาตรฐานกับความสำคัญในโลกอนาคต ตอนที่ 2
  • ประธานไอเอสโอก้าวสู่ปีที่สองของการทำงานประธานไอเอสโอก้าวสู่ปีที่สองของการทำงาน
  • มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนสำหรับงานก่อสร้าง ตอนที่ 2มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนสำหรับงานก่อสร้าง ตอนที่ 2
  • “บล็อกเชน” เทคโนโลยีแห่งความเชื่อถือ  ตอนที่ 2“บล็อกเชน” เทคโนโลยีแห่งความเชื่อถือ ตอนที่ 2

Tags: Climate Change, Standardization, Sustainability, Sustainability Mangement

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑