• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,531 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    13,589 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    9,719 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    9,712 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    9,064 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Mobile Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — January 24, 2020 8:00 am
มาตรฐานข้อความเพื่ออุตสาหกรรมการเงินสากล ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 1261 reads
0
  

THE GLOBAL LANGUAGE FOR PAYMENTS MESSAGING 1ปัจจุบัน ระบบการเงินของโลกประสบกับการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจากมีโครงสร้างตลาดใหม่ เช่น แพลตฟอร์มการชำระเงินแบบทันที ซึ่งมีการนำไปใช้กันทั่วโลก และเพื่อส่งเสริมให้แพลตฟอร์มระบบการเงินมีการใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งเป็นมาตรฐานข้อความที่ใช้สื่อสารในอุตสาหกรรมการเงินสากล

ความเคลื่อนไหวของสินค้าและคนเป็นพื้นฐานของการค้าโลกและเป็นอีกหนึ่งในหลายสาขาที่ไอเอสโอมีความเชี่ยวชาญ นับตั้งแต่คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้าไปจนถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ระบุเนื้อหาและช่วยจัดการด้านพิธีการศุลกากร และเรื่องของเศรษฐกิจราวครึ่งหนึ่งมักเกี่ยวข้องกับการโอนเงินเสียด้วย ซึ่งการขนย้ายสิ่งของนี้ก็สามารถลดความยุ่งยากได้ด้วย “มาตรฐาน” นั่นเอง

สำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเงินนี้ ยังรวมถึงเรื่องคริปโตเคอร์เรนซี ที่สามารถหลีกเลี่ยงบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายเงินได้ แต่ประเด็นนั้นคืออะไร ลองมาติดตามกัน

องค์ประกอบสำคัญคือ ความน่าเชื่อถือ

นานนับศตวรรษแล้วที่คนเรามีการส่งเงินและวัตถุมีค่าไปให้กันในที่ต่างๆ และแม้แต่ข้ามชายแดนของประเทศต่างๆ  ซึ่งมีการส่งผ่านถนนสายไหมมานับพันปีที่ผ่านมาและขึ้นอยู่กับเครือข่ายของคนที่รู้จักซึ่งกันและกัน ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็ต้องมั่นใจได้ว่าคนที่ทำหน้าที่รับโอนเงินและสิ่งของอันมีค่านั้นเป็นคนที่เชื่อถือได้

เป็นเรื่องง่ายๆ ที่คนในที่หนึ่งซึ่งต้องการส่งสิ่งของที่มีค่า เช่น เหรียญ ไปยังหุ้นส่วนที่อยู่ห่างไกล จะมีแนวทางในการใช้เอเย่นต์ที่อยู่ในพื้นที่ของตนเองและต้องอธิบายได้ว่าพวกเขาต้องการส่งอะไรไปเท่าไร ส่งไปให้ใคร และส่งไปที่ไหน ดังนั้น พวกเขาจะต้องมั่นใจในรายละเอียดทั้งหมด กล่าวคือการโอนเงินจะต้องได้รับความเชื่อถือในการโอนผ่านเอเย่นต์ซึ่งจะเข้าถึงเครือข่ายของโบรคเกอร์และผู้บริการจัดส่ง ในหลายกรณี หลายภาคส่วนจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ที่มีการจัดตั้งขึ้นผ่านการประชุมและบันทึกที่เขียนขึ้นที่จะสิ้นสุดลงที่บุคคลผู้รับเงินนั้น

แต่ละขั้นตอนของวิธีการจำเป็นต้องอาศัยความน่าเชื่อถือที่สร้างขึ้นมาจากพื้นฐานของความมีชื่อเสียงและการจ่ายในรูปแบบค่านายหน้าหรือคอมมิชชั่น  รูปแบบของระบบนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อฮาวาล่าในโลกอิสลามและยังคงมีต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

นักเศรษฐศาสตร์ได้กล่าวถึงคำว่าฮาวาล่าไว้ว่าเป็นระบบการโอนของมีค่าที่ “ไม่เป็นทางการ” (ฮาวาล่าเป็นโพยที่ไม่ต้องใช้กระดาษแต่ใช้วาจาของบุคคล)   แต่ชื่อนี้อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด ซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้ชนิดเดียวกันกับโครงสร้างองค์กรและเครื่องมือทางการเงินในระบบตะวันตก แต่มีการจัดระเบียบไว้เป็นอย่างดีซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วโดยสามารถก้าวข้ามผ่านกาลเวลา  และได้รับความเชื่อถือและมีการใช้กันอย่างกว้างขวางมาจนทุกวันนี้

อันที่จริงแล้ว คนงานที่อพยพไปอยู่ต่างแดนนับล้านคนมีการพึ่งพิงกับฮาวาลาในการส่งเงินกลับบ้านไปให้ครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่โครงสร้างทางการธนาคารยังไม่ได้รับการพัฒนามากนักหรือบางแห่งที่อาจถูกลบออกไปแล้วเมื่อเกิดภัยธรรมชาติหรือหายนะต่างๆ

กว่าระบบจะประสบความสำเร็จ

เหตุการณ์เช่นนั้น เพิ่งปรากฏว่าในปลายศตวรรษที่ 18 นี่เองที่ระบบในการส่งเงินได้มีการสร้างขึ้นในรูปแบบของการธนาคารในตะวันตก ซึ่งเริ่มจากการสั่งเงินซึ่งมีบันทึกเป็นสัญญาที่มีผลและอาจมีการแลกเปลี่ยนและไถ่ถอนระหว่างภาคส่วนที่มีการระบุไว้ โดยนายหน้าที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางอาจเป็นสถาบันตามรูปแบบที่มีมากกว่าจะเป็นเครือข่ายบุคคล

ระบบเช่นนี้มีการจัดตั้งขึ้นในประเทศสหราชอาณาจักรซึ่งในเวลาต่อมา ไปรษณีย์เป็นผู้ที่ทำให้บทบาทของผู้ส่งและนายหน้าที่มีการจัดการสามารถดำเนินการได้จนประสบความสำเร็จ และนี่คือวิวัฒนาการของระบบที่ทำให้เกิดคำว่าการสั่งทางไปรษณีย์ สำหรับประเภทของการโอนเงิน

ระบบนี้ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบันและหาค่าไม่ได้สำหรับคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารเช่นเดียวกับฮาวาล่า และเช่นเดียวกันกับในอดีต องค์ประกอบต่างๆ ของการโอนเงินต้องมีความน่าเชื่อถือ  ซึ่งทุกภาคส่วนต้องมั่นใจว่าคำแนะนำที่ให้มามีความชัดเจน มีการโอนที่เชื่อถือได้ และการชำระเงินนั้นได้รับการยอมรับว่าถูกต้อง

แม้ว่าจะมีความแตกต่างในทางปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองระบบก็ตาม แต่หลักการที่เหมือนกันเหล่านี้มีความจำเป็นสำหรับระบบการโอนเงินที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งคาริน ดีริดเดอร์ หัวหน้าการมาตรฐานแห่งองค์กร SWIFT ได้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ประสบความสำเร็จมาแล้วมากกว่าหมื่นล้านรายการ

การเกิดขึ้นขององค์กร SWIFT

คารินกล่าวถึง SWIFT ว่าเป็นตัวย่อที่มาจากคำว่า Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่มีที่ทำการอยู่ในประเทศเบลเยี่ยมและมีเครือข่ายที่ได้รับการจัดตั้งเพื่อให้สถาบันทางการเงินทั่วโลกสามารถส่งและรับข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจที่มีมาตรฐาน มีความมั่นคง ปลอดภัย และเชื่อถือได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบที่มีอยู่แล้ว เช่น การสั่งเงิน หรือการโอนเงิน ไม่สามารถก้าวทันการเงินในยุคหลังอุตสาหกรรม

คารินกล่าวถึงบทบาทของมาตรฐานว่าเป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อหน้าที่ในเรื่องการเงิน นับตั้งแต่การเริ่มต้นของมาตรฐานเมื่อช่วงทศวรรษที่ 1970 ซึ่งมาตรฐานได้กลายเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของการทำงานขององค์กร SWIFT  และองค์กรนี้มีการทำงานที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไอเอสโอที่ทำหน้าที่เป็นผู้มีอำนาจในการลงทะเบียน (Registration Authority: RA) ตามมาตรฐาน ISO 13616 (ซึ่งครอบคลุมเลขที่บัญชีของผู้รับเงินตามมาตรฐานการกำหนดเลขที่บัญชีระหว่างประเทศหรือ IBAN) มาตรฐาน  ISO 10383 (ซึ่งกำหนดรหัสระบุตลาด หรือ MIC) มาตรฐาน ISO 9362  (ซึ่งกำหนดรหัสระบุธุรกิจ หรือ BIC)  มาตรฐาน ISO 15022 (ซึ่งครอบคลุมความมั่นคงปลอดภัย) และมาตรฐาน ISO 20022 (ซึ่งกำหนดโครงสร้างข้อความทางการเงิน)

ส่วนประโยชน์ของมาตรฐานเหล่านั้นคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อองค์กร SWIFT และโลกของการเงิน โปรดติดตามได้ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2469.html



Related posts

  • สิบอันดับเทรนด์ธุรกิจสำหรับอนาคตใหม่สิบอันดับเทรนด์ธุรกิจสำหรับอนาคตใหม่
  • ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 2ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 2
  • ไอเอสโอก้าวไกลไปกับมาตรฐานเรือและเทคโนโลยีทางน้ำ ตอนที่ 2ไอเอสโอก้าวไกลไปกับมาตรฐานเรือและเทคโนโลยีทางน้ำ ตอนที่ 2
  • มาตรฐานใหม่…สัญลักษณ์และธงความปลอดภัยชายหาดมาตรฐานใหม่…สัญลักษณ์และธงความปลอดภัยชายหาด
  • ISO 56006 มาตรฐานใหม่สำหรับการจัดการข่าวกรองเชิงกลยุทธ์ISO 56006 มาตรฐานใหม่สำหรับการจัดการข่าวกรองเชิงกลยุทธ์

Tags: Economy, Quality, safety, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2022 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑