บทความ เรื่อง “มาตรฐาน” สนับสนุนการเงินของโลกให้มั่นคงได้อย่างไร ตอนที่ 1″ ได้กล่าวถึงการขาดการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชากรในบางประเทศ เช่น ประชากรในบางประเทศไม่มีบัญชีธนาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ วิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2551 (ค.ศ.2008) ยังได้บั่นทอนความเชื่อถือของสาธารณชนในระบบการเงินและการธนาคาร ซึ่งสตีเฟน วูล์ฟ ซีอีโอของมูลนิธิ GLEIF (Global Legal Entity Identifier Foundation) และผู้ประสานงานกลุ่มที่ปรึกษาทางเทคนิคฟินเทคของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ (ISO/TC 68 FinTech TAG) ได้กล่าวว่าความเชื่อถือทางการเงินเริ่มต้นจากความโปร่งใสเกี่ยวกับการแสดงตัวตน
โรบิน ดอยล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินอีกคนหนึ่ง เป็นกรรมการผู้จัดการของเจพี มอร์แกนและเป็นสมาชิกของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 68 – Financial services ก็เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างความน่าเชื่อถือทางการเงินเช่นกัน แต่สิ่งนี้ จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องอาศัยการคิดเชิงนวัตกรรมและแนวทางใหม่ๆ เช่นที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้
เกี่ยวกับเรื่องของความน่าเชื่อถือของบุคคลและธุรกิจ ดอยล์ชี้ว่าสถาบันทางการเงินถูกควบคุมเป็นอย่างมากและลูกค้าก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดตามกฎและระเบียบว่าด้วยการมีกระบวนการในการรู้จักลูกค้า (Know-Your-Customer: KYC) ความเสี่ยงด้านความสอดคล้องยังคงมีสูงอยู่หากไม่ทำตามกฎระเบียบในปัจจุบัน นอกเหนือจากกฎและระเบียบแล้ว ความสามารถในการทวนสอบตัวตนที่แท้จริงของบุคคลก็เป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันการก่ออาชญากรรมจากการเข้าถึงระบบทางการเงินด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่บริสุทธิ์ เช่น การฟอกเงิน การก่อการร้าย และการค้ามนุษย์ เป็นต้น
การค้นหาวิธีใหม่ๆ หรือนวัตกรรมในการทวนสอบการระบุตัวตนจะช่วยให้สถาบันการเงินต่อสู้กับความท้าทายเหล่านั้นได้ ดอยล์กล่าวว่าแนวทางใหม่อาจรวมถึงการเปลี่ยนจากการรวบรวมเอกสารที่ออกโดยรัฐบาลแบบเดิม และกล่าวถึงการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นว่าจะเป็นโอกาสให้ใช้ฟุตพริ้นท์ดิจิตอลของบุคคลเป็นวิธีการระบุตัวตนและการทวนสอบประชากรที่ไม่ได้รับการบริการทางการเงินด้วย
อันที่จริงแล้ว ขณะที่โลกก้าวไปสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และเศรษฐกิจก็จะเข้าสู่ระบบทำให้เป็นยล์อของบุคคลและธุรกิจ ดอยล์มุนต่อไปด้วยความราบรื่นได้รับประโยชน์ของวย และลงทุนใช้จ่ายเพื่อการศึกษาขดิจิตอลมากขึ้น คำถามของการระบุตัวตนก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น วูล์ฟอธิบายว่าในระดับโลก ปัญหาที่เกิดขึ้น หากไม่ใช่สิ่งที่บริษัทมีอยู่แล้ว ก็เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องนั่นเอง เช่น กฎระเบียบ การวิจัย แนวทางการแก้ไขปัญหา ความโปร่งใส และความมีประสิทธิภาพที่เป็นพื้นฐานของธุรกิจ เป็นต้น เขาชี้ให้เห็นว่าธุรกรรมระหว่างคู่ค้าธุรกิจมักเป็นแบบเรียลไทม์และเตือนว่าหากปราศจากระบบการระบุตัวตนที่มั่นคงปลอดภัยเป็นพื้นฐานแล้ว ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะจัดการกับธุรกิจด้วยความเชื่อถือได้
เมื่อมองก้าวข้ามไปถึงบริการทางการเงิน มูลนิธิ GLEIF (Global Legal Entity Identifier Foundation) เชื่อมั่นว่าสิ่งที่ระบุว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย (LEI) สามารถรองรับเป็นตัวเชื่อมข้อมูลสำคัญให้กับการระบุสถานะของตัวตนในระบบดิจิตอลในขั้นก้าวหน้า และเพื่อให้การระบุตัวตนในยุคดิจิตอลง่ายขึ้น
สำหรับดอยล์ แนวทางใหม่ในการสร้างความคุ้นเคยและ KYC จำเป็นต้องได้รับการยอมรับจากชุมชนที่มีการบังคับใช้ ไม่เช่นนั้น ธนาคารอาจสนับสนุนให้มีการเข้าถึงระบบทางการเงินซึ่งเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ในการระบุการทวนสอบให้กับธนาคารก็ได้
ดอยล์เชื่อเช่นเดียวกับวูล์ฟว่าไอเอสโอมีบทบาทที่ชัดเจนในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ดอยล์ชี้ให้เห็นว่างานใหม่ของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 68 เน้นเรื่องการทำให้มั่นใจในเรื่องการระบุตัวตนของบุคคลที่แท้จริง และยังกล่าวเพิ่มเติมว่าไอเอสโอสามารถส่งเสริมแนวทางที่มีการผสมผสานการใช้มาตรฐานแบบเปิดในการสนับสนุนการระบุตัวตนในขอบเขตอำนาจรัฐให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งต้องทำอย่างสม่ำเสมอและมีแนวทางที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้สำหรับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น งานของไอเอสโอจึงม่เพียงแต่จำเป็นต้องพิจารณาวิธีการดั้งเดิมในการระบุตัวตนเท่านั้น แต่จะต้องสร้างหลักการและมาตรฐานที่สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินและการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอลด้วย
นอกจากจะทำงานกับองค์กรอย่างมูลนิธิ GLEIF แล้ว ไอเอสโอยังทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วย เพื่อส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยสำหรับบริการทางการเงินซึ่งมีการเข้าสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้น โปรดติดตามรายละเอียดในบทความครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2468.html
Related posts
Tags: Economy, Innovation, Standardization
Recent Comments