บทความ เรื่อง “มาตรฐาน” สนับสนุนการเงินของโลกให้มั่นคงได้อย่างไร ตอนที่ 1″ และ “มาตรฐาน” สนับสนุนการเงินของโลกให้มั่นคงได้อย่างไร ตอนที่ 2” ได้กล่าวถึงความสำคัญและความเป็นมาของการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชากรโลก ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้มองเห็นความโปร่งใสเกี่ยวกับการแสดงตัวตนและความเชื่อถือทางการเงินของบุคคลและองค์กรธุรกิจ โดยต้องอาศัยการคิดเชิงนวัตกรรมและแนวทางใหม่ๆ ในการทวนสอบการระบุตัวตน ซึ่งคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 68 – Financial Services ให้ความสำคัญกับการระบุตัวตนของบุคคลที่แท้จริงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ไอเอสโอได้ทำงานร่วมกับมูลนิธิ GLEIF (Global Legal Entity Identifier Foundation) เพื่อส่งเสริมการระบุตัวตนของนิติบุคคลตามกฎหมาย (LEI)
สำหรับบทความในตอนสุดท้ายนี้จะกล่าวถึงองค์กรอีกแห่งหนึ่งซึ่งทำงานร่วมกับไอเอสโอในการพัฒนามาตรฐานเพื่อให้บริการทางการเงินและระบบดิจิตอลมีความมั่นคงปลอดภัย ได้แก่ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือไอทียู (Internationa Telecommunication Union: ITU) ทั้งไอเอสโอและไอทียูต่างก็มีความเชี่ยวชาญด้านมาตรฐานที่แตกต่างกันเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับบริการทางการเงินในระบบดิจิตอล (DFS) โดยไอเอสโอเน้นไปที่บริการทางการเงินมากกว่า ส่วน ITU เน้นมาตรฐานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างด้านโทรคมนาคม
วีเจย์ มอรี เป็นจุดติดต่อหลักของ DFS ของสำนักงานการมาตรฐานของไอทียูและให้ความร่วมมือกับโครงการการเข้าถึงบริการทางการเงินของโลก (Financial Inclusion Global Initiative: FIGI) ซึ่งเป็นโครงการร่วมที่นำโดยไอทียู กลุ่มธนาคารโลก และคณะกรรมการการจ่ายเงินและโครงสร้างตลาดของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Committee on Payments and Market Infrastructures of the Bank for International Settlements) ซึ่ง FIGI ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิบิลล์และเมลินดาเกตส์
มอรีอธิบายว่าภายใต้โครงการการเข้าถึงบริการทางการเงินของโลก ไอทียูกำลังช่วยให้งานของกลุ่มงานด้านความมั่นคงปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อถือ มีความก้าวหน้า งานด้านนี้ประกอบด้วยงานที่สำคัญ ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Shared Database (Distributed Ledger Technology: DLT หรือบล็อกเชน) เพื่อการเข้าถึงบริการทางการเงิน คุณภาพของการบริการ และความน่าเชื่อถือ
กิจกรรมของกลุ่มงานในสาขาการเงินด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ดังกล่าวทำให้มีเข้าใจภัยคุกคาม รวมทั้งความเสี่ยงและผลกระทบของการจู่โจมทางไซเบอร์ได้ดีขึ้น และมีการใช้เครื่องมืออย่างเพียงพอเพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สำหรับรายงานทางวิชาการที่ทำโดยกลุ่มงานนี้กำลังกระตุ้นให้เกิดงานใหม่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการมาตรฐาน คือกลุ่มศึกษาไอทียู
นอกจากนี้ มอรียังเป็นผู้ประสานงานของโครงการไอทียูที่สืบสวนเรื่อง Digital Fiat Currency (DFC) ซึ่งเป็นกระแสเงินดิจิตอลที่ได้รับอำนาจดำเนินการและออกโดยธนาคารกลางของประเทศด้วย
โครงการดังกล่าวทำการสรุปกิจกรรมเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 พร้อมส่งมอบรายงานทางเทคนิค 7 ฉบับซึ่งมีรายละเอียดข้อกำหนดของ DFC เนื่องจากเกี่ยวข้องกับระเบียบ ความเคลื่อนไหวทางธุรกิจและทางเทคนิครวมทั้งความมั่นคงปลอดภัย รายงานเหล่านี้มีการจัดส่งไปยังงานการมาตรฐานของกลุ่มศึกษาไอทียู ซึ่งมอรีชี้ให้เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังนำทางในเรื่อง DFC เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารกลางของพวกเขาสามารถรักษาอำนาจหน้าที่ของการบริหารจัดการทางการเงินที่มีแนวโน้มการใช้เงินสดที่ลดลง ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาที่ประชากรไม่ได้เข้าถึงบัญชีธนาคารก็จะเห็นศักยภาพของ DFC ในการมีส่วนร่วมต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มากขึ้น
มอรีกล่าวว่าหนึ่งในความเสี่ยงและความท้าทายมากที่สุดในการบรรลุการเข้าถึงบริการทางการเงินสากลคือความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นจากธรรมชาติของการชี้นำและกฎระเบียบของ DFS
ผู้ควบคุมกฏ DFS จำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมของ DFS ที่ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน และในการทำเช่นนี้จำเป็นต้องพัฒนานโยบายและกฏระเบียบที่สนับสนุนนวัตกรรม ส่งเสริมตลาดเชิงแข่งขันและทำให้มีการจัดเตรียมบริการทางการเงินคุณภาพสูงที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพด้วย
ทั้งนี้ ผู้ควบคุมกฎจำเป็นต้องมั่นใจว่าความเสี่ยงของผู้บริโภคที่ได้รับการแนะนำจากผู้ให้บริการและโมเดลธุรกิจใหม่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผลเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพของภาคการเงิน อันเป็นเรื่องจำเป็นเช่นเดียวกันกับกรณีของการปกป้องผู้บริโภคจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
รัฐบาลมีบทบาทหลักในการทำให้มีการเข้าถึงบริการทางการเงิน มอรีกล่าวว่ากระบวนการทำธุรกรรมด้วยเงินสดผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศกำลังพัฒนามีเพียง 25 % เท่านั้น ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นสร้างสภาพแวดล้อมด้านนโยบายที่กระตุ้นให้เกิดกาเรข้าถึงบริการทางการเงินในระบบดิจิตอล ยกตัวอย่างในประเทศฟิลิปปินส์ ผู้ควบคุมกฎยอมให้แพล็ตฟอร์มดิจิตอลสามารถทำได้สะดวกขึ้นโดยรัฐบาลและภาคเอกชนสามารถส่งมอบบริการการทำธุรกรรมกับหุ้นส่วนและสาธารณชนทั่วไปเพื่อให้คนเข้ามาในระบบการเงินมากขึ้น ธนาคารโลกจึงกล่าวว่าการแพร่กระจายของอินเทอร์เน็ตและความเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิตอลได้เร่งให้มีการเข้าถึงบริการทางการเงินทั่วโลกเพิ่มขึ้น
การทำให้คนเข้าถึงระบบการเงินหลักทำให้พวกเขามีช่องทางในการนำเงินออมไปลงทุน เช่น ซื้อผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยที่ปกป้องตนเองในยามเสี่ยงภัยและยามเจ็บป่วย และลงทุนใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกหลาน เป็นต้น
ปัจจุบัน ไอเอสโอยังคงดำเนินบทบาทอย่างต่อเนื่องในการพัฒนามาตรฐานบริการทางการเงินรวมทั้งบริการทางการเงินในระบบดิจิตอล เพื่อที่ประชากรและองค์กรทั่วโลกจะได้รับประโยชน์ของการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ยั่งยืนพร้อมด้วยความสะดวกสบาย ปลอดภัย และมีความมั่นคงทางการเงินต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2468.html
Related posts
Tags: Economy, Innovation, Standardization
ความเห็นล่าสุด