หากเราเคยเข้าไปใช้บริการห้องสมุดในอดีต คงยังจำได้ว่าบรรณารักษ์สืบค้นหาหนังสือที่เราต้องการอ่านได้จาก “บัตรรายการ” ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการค้นหา เช่น ชื่อผู้แต่งหนังสือ ผู้แปล ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หมู่หนังสือ เป็นต้น แต่ปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล การอธิบายข้อมูลจึงหันมาใช้ข้อมูลดิจิตอล เช่นเดียวกับข้อมูลที่เรียกว่า Descriptive metadata แต่มีปริมาณและความซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม
Descriptive metadata เป็นสารสนเทศที่มีการจัดทำขึ้นอย่างมีโครงสร้างเพื่อใช้บรรยายทรัพยากรสารสนเทศด้านลักษณะเนื้อหาและบริบทที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลนี้มีหน้าที่หลักคืออธิบายและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ และทำงานร่วมกันระหว่างระบบ
Descriptive metadata สำหรับเว็บไซต์เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะทำให้ทุกคนค้นหาข้อมูลได้สะดวก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในลักษณะนี้จะใช้งานไม่ได้ถ้าโปรแกรมเมอร์ทั่วโลกไม่ใช้ภาษา metadata ที่เป็นสากลร่วมกัน ดังนั้น ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานฉบับหนึ่งขึ้นมาเพื่อช่วยส่งเสริมในเรื่องนี้ โดยมีภาษาที่ใช้อธิบายร่วมกันบนอินเทอร์เน็ตคือ DCMI (Dublin Core Metadata Initiative) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้ในโครงการต่างๆ อีกมากมาย
มาตรฐานที่ไอเอสโอได้พัฒนาขึ้นมามีชื่อว่า ISO 15836-2: 2019, Information and documentation – The Dublin Core metadata element set – Part 2: DCMI Properties and classes (ฉบับเดิมคือปี 2552 หรือปี ค.ศ.2009) มีการขยายกลุ่มของคุณสมบัติเดิมจาก 15 กลุ่ม เป็น 40 กลุ่ม และ 20 ประเภทเพื่อปรับปรุงความแม่นยำและการแสดงคำอธิบายของดับลินคอร์ ส่วนที่เพิ่มเข้ามามีการเน้นไปที่คุณสมบัติทั่วไปที่จำเป็นอย่างกว้างขวางสำหรับความสามารถในการปฏิบัติงานด้านหลักการและภาษาร่วมกัน
มาตรฐานสากลดังกล่าวได้มีการทบทวนเพื่อให้มั่นใจในความหมายของคำว่ามีการปรับปรุงให้ทันสมัย มีการขยายขอบข่ายให้ครอบคลุมคุณสมบัติและประเภทของคำศัพท์ของ DCMI Metadata
จูฮา ฮากาลา ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการที่พัฒนามาตรฐานนี้กล่าวว่าดับลินคอร์มีการนำไปใช้อ้างอิงกันในชุดที่เป็นองค์ประกอบของ descriptive metadata บนเว็บไซต์ทั่วโลกอย่างกว้างขวางมากที่สุด โดยส่วนที่ 2 ซึ่งเพิ่มขึ้นมามีการนำเสนอวิธีหลักสำหรับผู้ใช้งานและโปรแกรมเมอร์เพื่อสร้างคำอธิบายด้านทรัพยากรที่มีการปฏิบัติงานร่วมกันในระดับทั่วไปข้ามโดเมนและภาษาที่หลากหลาย
ในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว คณะกรรมการวิชาการมีการศึกษาเรื่อง DCMI อย่างใกล้ชิด ซึ่งมีการทบทวนคำศัพท์ DCMI Metadata เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังคณะกรรมการวิชาการด้วย
มาตรฐาน ISO 15836-2 เป็นมาตรฐานที่ช่วยเสริมมาตรฐาน ISO 15836-1, Information and documentation – The Dublin Core metadata element set – Part 1: Core elements ซึ่งประกอบด้วยรายการพื้นฐานหลักขององค์ประกอบของ Metadata จำนวน 15 องค์ประกอบเพื่ออธิบายโดเมนประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันได้
มาตรฐาน ISO 15836-2 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 46, Information and documentation คณะอนุกรรมการวิชาการ SC 4, Technical interoperability มีเลขานุการคือ SFS ซึ่งเป็นสมาชิกของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศฟินแลนด์
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2474.html 2.https://www.sac.or.th/databases/anthroarchive/backend/resource/file/Metadata_key01.pdf
3.https://th.wikipedia.org/wiki/ข้อมูลอภิพันธุ์
Related posts
Tags: IT, standard, Standardization, Technology
ความเห็นล่าสุด