บทความ เรื่อง ทำไมต้องกำหนดมาตรฐานรหัสสกุลเงินดิจิตอล ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงการพัฒนามาตรฐานสากลสำหรับความปลอดภัยของสกุลเงินดิจิตอลของ คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 68 – Financial services ซึ่งมีเอ็ดเวิร์ดและไรอันเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการวิชาการดังกล่าว และได้กล่าวถึงความนิยมในกระแสเงินดิจิตอลที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ไอเอสโอต้องการสนับสนุนในเรื่องการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของกระแสเงินดิจิตอลโดยช่วยพัฒนามาตรฐานรหัสสกุลเงินดิจิตอลและมาตรฐานอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะกล่าวถึงสกุลเงินดิจิตอลในรายละเอียดดังต่อไปนี้
เราจำเป็นต้องใช้มาตรฐานสำหรับระบบการเงินดิจิตอลที่มีอยู่ทุกวันนี้แล้วปรับปรุงให้ดีขึ้นให้มั่นใจว่าจะสามารถใช้กับประเทศอื่นๆ ได้ด้วยเพื่อให้ได้รับการยอมรับ สิ่งนี้เป็นก้าวแรกที่จะทำให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล ความเชื่อถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สดุ หากปราศจากความเชื่อถือแล้ว เทคโนโลยีทั้งหมดในโลกนี้ก็จะไม่สามารถให้คำตอบอะไรแก่เราได้
เป็นที่น่าสังเกตว่ากระแสเงินดิจิตอลนั้นไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆ และหน่วยงานรัฐบาลให้ความใส่ใจเท่านั้น แต่ธุรกิจและภาคการเงินก็ยังปฏิบัติงานเกี่ยวข้องในเรื่องของกระแสเงินดิจิตอลด้วย ซึ่งแต่สมัยก่อน เรื่องเหล่านี้เกี่ยวข้องเฉพาะรัฐบาลเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มาตรฐานเหล่านี้สามารถส่งผลทำให้เกิดธุรกรรมทางการเงินสูงถึงหนึ่งล้านล้านดอลล่าร์ต่อวันในการทำธุรกรรมทางดิจิตอล ดังนั้น ความมั่นคงปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
ไรอัน เพียซ ประธานร่วมของกลุ่มงานสินทรัพย์ดิจิตอลแห่ง FIX Trading Community ขยายความต่อไปว่าบริษัทมีการสำรวจการสร้างสิ่งที่ใช้ระบุ digital tokens ซึ่งเป็นอุปสรรคที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ขณะนี้เพราะว่ามีการสร้างสินทรัพย์ดิจิตอลใหม่ๆ ขึ้นมาหลายประเภท และเราจำเป็นต้องสามารถระบุ digital tokens เพื่อช่วยให้การรับส่งของต่างๆ เป็นไปด้วยความชัดเจน
ไรอัน เพียซ อธิบายว่าบิตคอยน์เป็นกระแสเงินดิจิตอลแรกที่เกิดขึ้น ปัจจุบันมีการสร้างและใช้สกุลเงินดิจิตอลอีกนับพันสกุลซึ่งมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ และบริการต่างๆ ซึ่งมีขยายขอบข่ายไปมากกว่าหน้าที่ดั้งเดิมของบิตคอยน์
ในตอนแรกที่มีการแนะนำบิตคอยน์นั้น บิตคอยน์ได้ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องความเชื่อถือที่ต้องมีในระบบเครือข่าย ระบบตลาด และระบบแพล็ตฟอร์ม ถ้ามีใครสักคนต้องการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิตอลในอดีต พวกเขาก็จะต้องเลือกใครที่ไว้ใจได้ให้เป็นคนถือครองสินทรัพย์ดิจิตอลนั้นและเก็บบันทึกว่าใครเคยเป็นเจ้าของสินทรัพย์ใดเอาไว้ ตัวอย่างเช่น คนส่วนใหญ่มักจะเลือกฝากเงินในธนาคาร เพราะรู้ว่าเราสามารถใช้เครดิตของตนเองในการใช้จ่ายต่างๆ ได้ เราเชื่อว่าเราจะถูกเก็บเงินในรายการใช้จ่ายที่ถูกต้องเท่านั้น
เขากล่าวว่าไม่มีใครสามารถสกัดกั้นหรือปรับเปลี่ยนธุรรรมของบิตคอยน์ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยความเชื่อถือในองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แห่งเดียวเหมือนที่เราเชื่อถือในธนาคารที่เราฝากเงิน บิตคอยน์ทำงานโดยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกัน มีการจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมดิจิตอลที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาซึ่งผู้ร่วมเครือข่ายจะรับรู้ข้อมูลนั้นร่วมกันและมั่นใจได้ว่าจะไม่มีใครมาดัดแปลง ทำซ้ำ ปรับเปลี่ยนหรือลบข้อมูลทิ้งได้
ปัจจุบัน สัญลักษณ์ใหม่จำเป็นจะต้องมีเพื่อรวมเอาการเข้ารหัสเข้าไว้ด้วยกันให้ง่ายต่อภาษาที่ใช้ เพียซยกตัวอย่างว่าสกุลเงินดิจิตอลจำเป็นต้องมีการระบุรหัสเช่นเดียวกับสกุลเงินที่มีการระบุรหัสตามมาตรฐาน ISO 4217 กล่าวคือ ถ้าเราจะโอนเงินเหรียญสหรัฐจำนวนหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เราระบุรหัสสกุลเงินว่าเป็น USD ซึ่งทุกธนาคารเข้าใจตรงกันว่า คือรหัสสกุลเงินเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ISINs (International Securities Identification Number) ที่ไอเอสโอได้กำหนดขึ้นมาเพื่อระบุรูปแบบอื่นๆ ของหลักทรัพย์ เช่น หุ้น พันธบัตร และอนุพันธ์ เป็นต้น ทำให้ธุรกรรมทั่วโลกมีความชัดเจน
อย่างไรก็ตาม สกุลเงินดิจิตอลไม่มีการระบุชื่ออย่างเป็นทางการ ธนาคารต่างๆ สามารถรู้ว่าเงินดอลล่าสหรัฐแตกต่างจากเงินยูโร แต่ถ้าเป็นบิตคอยน์ เราไม่อาจรู้ได้
ย้อนไปในปี 2559 (ค.ศ.2016) มีการกำหนดสกุลเงินดิจิตอลเช่นบิตคอยน์ ซึ่งไม่ได้มาจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ทางการเงิน และไม่สามารถใช้รหัสสกุลเงินตามมาตรฐาน ISO 4217 ได้ อย่างไรก็ตาม ไอเอสโอเชื่อว่าจำเป็นต้องมีรายการรหัสสกุลเงินที่จะจำแนกแยกแยะเงินดิจิตอลเหล่านั้น ซึ่งเรียกว่า – digital token identifiers (DTI) และรหัสนี้จะทำให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินสามารถโอนเงินดิจิตอลได้อย่างชัดเจน ไม่เกิดความสับสน
สำหรับมาตรฐานไอเอสโอ มีแนวทางวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและไม่ได้เป็นมาตรฐานบังคับ แต่ไอเอสโอจะไม่ให้ความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของเงินดิจิตอลที่จะมีการระบุชื่อเพราะไอเอสโอต้องไม่ทำหน้าที่ในการตัดสิน ถ้าสกุลเงินดิจิตอลที่มีตัวระบุแล้วก็จะถือว่าเป็นเงินที่มีค่า เพียซกล่าวให้เห็นว่าสิ่งนี้เปรียบเสมือนใบแจ้งเกิดที่ทำหน้าที่เพียงบอกว่าเราเกิดเมื่อไรซึ่งเป็นวันที่เรามีตัวตนอยู่บนโลกนี้อย่างเป็นทางการ แต่ไม่มีการตัดสินว่าเราเป็นคนอย่างไร
รูปแบบธุรกิจที่มีความกังวลกำลังเข้าไปสู่การวางแผนของบริษัทในการสร้างแพล็ตฟอร์มดิจิตอลเพื่อให้บริการแล้วขายเงินดิจิตอลที่สามารถใช้จ่ายบริการบางอย่าง นักลงทุนซื้อสกุลเงินดิจิตอลด้วยความหวังว่าจะเห็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต แต่ก็มีบางกรณีอาจเกิดคำสั่งลวงซื้อซึ่งพอรับเงินไปแล้วก็หายไปจากธุรกิจ (อาจปิดกิจการไปด้วยเหตุผลหลายอย่าง) ในกรณีนี้ DTI สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เพียซอธิบายว่าบทบาทที่มีคุณค่าของ DTIs คือช่วยลดการฉ้อโกง บ่อยครั้ง ผู้ควบคุมกฎมักถามหาบันทึกธุรกรรรมในอุตสาหกรรมที่มีการควบคุม ธนาคารสามารถปกป้องกิจกรรมทางการเงินที่น่าสงสัยและทำรายงานเอกสารได้ถ้าบังเอิญว่ามีการโอนเงินจำนวนมากเข้าไปยังบัญชีของใครสักคน แต่ถ้าเป็นกรณีของสกุลเงินดิจิตอล หากไม่มี DTI ก็ยากที่ผู้ควบคุมกฎจะรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ไม่เพียงแต่ผู้ควบคุมกฎเท่านั้น คนทั่วไปก็สามารถได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงและการใช้ DTIs เช่นกัน มันทำให้เรารู้แน่ชัดว่าเกิดการรับและส่งเงินอะไรบ้าง ถ้าไม่มีความหมายอย่างเป็นทางการของบิตคอยน์หรือการระบุรหัสที่เป็นที่ยอมรับแล้วก็มีโอกาสที่จะเกิดความสับสนหรือการฉ้อโกงอย่างจงใจได้
ไอเอสโอยังคงมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการเงินดิจิตอลเพื่อรองรับโลกอนาคตที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โปรดติดตามมาตรฐานทันสมัยที่น่าสนใจได้ใน MASCIInnoversity
ที่มา:1.https://www.iso.org/news/ref2466.html 2.https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_01Feb2019.aspx
Related posts
Tags: Financial Services, IT, Technology
Recent Comments